เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขับเคลื่อนการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนบ้านเลโค๊ะ

โดย : นางสาวรุ่งฟ้า สวรรค์โรจน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-04-20:39:07

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสบเมย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 สำหรับบ้านเลโค๊ะ หมู่ที่ 1 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหนึ่งในหมู่บ้านตามเป้าหมาย 21 หมู่บ้านของอำเภอสบเมยตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) และมีความพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสบเมยได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ ->

1. ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งให้กรมฯ เรียบร้อยแล้ว หรือหากมีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ปรับปรุงแก้ไขฐานข้อมูลและจัดส่งให้กรมฯ ทราบตามแบบทะเบียนข้อมูลทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

2. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพต่อไปซึ่งมีกรอบการเรียนรู้

3. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้การสนับสนุนโดยมีกรอบการเรียนรู้

4. เมื่อดำเนินการตามกรอบการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ ดังนี้

              4.1 ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนดรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรองรับการติดตามของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ/จังหวัด และประเทศ

               4.2 สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนให้ทีมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย 20 ครัวเรือน มีแรงจูงใจและตั้งใจในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้

2. ทีมวิทยากรสอนอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย 20 ครัวเรือน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากทีมวิทยากรไปประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืน

3. ครัวเรือนเป้าหมาย 20 ครัวเรือนสามารถรวมกลุ่มอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง และลงทะเบียน OTOP

อุปกรณ์ ->

1. ทีมวิทยากรควรส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ครัวเรือนสัมมาชีพเกิดความรู้สึกไม่อยากทำหรือไม่อยากรวมกลุ่ม

2. การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพให้พิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.กรมการพัฒนาชุมชนควรสนับสนุนงบประมาณในการต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่อง

2.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด ควรสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเข้าสู่โอทอป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา