เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

สัมมาชีพชุมชน ตามวิถีชนเผ่า

โดย : นางสาวสุจินดา แก้วอำไพ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-05-17:26:12

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปางมะผ้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดให้มีโครงการสัมมาชีพชุมชน ตามแผนงานตามยุทธศาตร์กรมฯ ปี 60 งานนี้ไม่ง่ายเลยสำหรับอำเภอเล็กๆบนดอยสูง ซึ่งมีหลายชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็มีประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิต ที่แตกต่างกัน แล้วทำยังไงเราถึงจะดึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตความเป็นชนเผ่าที่หลากหลาย ให้เกิดเป็นรายได้ สร้างอาชีพ ที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนวิถีชนเผ่าเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

1. ค้นหาปราชญ์ชุมชน

2. สร้างความรู้ความเข้าใจ 

3. รับสมัครครัวเรือนที่มีความสนใจ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านเวทีประชาคม

4. ร่วมกันวิเคราะห์อาชีพ

5. ไปดูงานเพื่อเปิดโลกทัศน์

6. กลับมาลองปฏิบัติจริง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หัวใจของความสำเร็จในพื้นที่มีปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้อง ๓ ประการ คือ

(1) ผู้นำ

(2) ใช้ข้อมูลในชุมชนที่คนในชุมชนร่วมกันคิด

(๓) คนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมเรียนรู้ และร่วมตรวจสอบ กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านการปฏิบัติ

โดยถือหลักปฏิบัติที่สำคัญ คือ "ไปหาชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขา ทำงานกับเขา เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยชี้ให้เห็น เรียนจากการทำ  เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยชี้ให้เห็น เรียนจากการทำ”

อุปกรณ์ ->

1. อย่ายัดเยียด ถ้าชุมชนหรือคนในชุมชนไม่พร้อม

2. อย่าคิดแทนชาวบ้าน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การจะสร้างความยั่งยืน อย่ารีบเร่ง ค่อยๆทำ ค่อยๆเปลี่ยนแปลง ต้องยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้อย่างจริงจัง เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน

หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”  คือก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น และระหว่างการดำเนินการนั้นจะต้องทำให้ผู้ที่เราจะไปทำงานกับเขาหรือทำงาน ให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย  เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว   โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา  ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึ้นตามที่เรามุ่งหวังไว้  “เข้าถึง” ก็ เช่นกัน เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้วก็ต้องเข้าถึง  เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้  และเมื่อเข้าถึงแล้ว  จะต้องทำอย่างไรก็ตามให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย

         ดังนั้น จะเห็นว่าเป็นการสื่อสารสองทางทั้งไปและกลับ ถ้าสามารถทำสองประการแรกได้สำเร็จ  เรื่อง “การพัฒนา” จะ ลงเอยได้อย่างดี  เพราะเมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา