เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ครัวเรือนพร้อม ปราชญ์พร้อม ความรู้พร้อม..ย่อมสำเร็จ

โดย : พิพัฒน์ จันทมณีสมบูรณ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-31-12:14:36

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

..พ่อหลวง เราลองหาวิธีใหม่ อาชีพใหม่มาให้พี่น้องเราทำดูเสียทีดีกว่านะครับ ..ผมเอ่ยปากชวน หลังจากที่เราจัดเวทีอบรมให้ความรู้พี่น้อง ทั้ง 20 ครัวเรือน และไปศึกษาดูงานกลับมาแล้ว จึงได้เวลาที่จะทบทวนตัวเราเองว่า ด้วยความยากลำบากของการเดินทางในทุกฤดูกาล และความห่างไกลจากตัวเมือง .. และจากเวทีทบทวนทุนชุมชน รายจ่ายส่วนหนึ่งราวๆ ร้อยละ 40 ที่เราจ่ายไปกับการซื้ออาหารขึ้นมาบริโภค อีกส่วนเราพึ่งพาจากธรรมชาติรอบตัวและนั่นกำลังเป็นจุดเริ่มต้นที่เรากำลังพึ่งพิงภายนอก และอาจนำมาซึ่งการพึ่งพาคนอื่นมากกว่าที่เราจะพึ่งตนเอง สร้างความเข้มแข็งจากภายใน อย่างที่เราต้องการ

..เลี้ยงไก่ไข่ แบบอินทรีย์ที่หัวหน้าพาไปดู ผมว่าน่าสนใจมากครับ ผมคุยกับพี่น้องครัวเรือนที่ร่วมโครงการสัมมาชีพ แล้ว เขาสนใจจะเลี้ยงครับ..พ่อหลวงมาบือ กวางทู และพะติซองมีนา ซึ่งเป็นปราชญ์สัมมาชีพชุมชน บ้านห้วยฮี้ หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยปูลิง พื้นที่ในความรับผิดชอบที่ผมเดินทางขึ้นดอย ลงดอยจนเป็นเสมือนบ้านตัวเอง .. เราต้องชวนพี่น้องทั้งหมู่บ้านมานั่งคุยกันว่า งบประมาณที่เรามี เราจะมาวางแผนตั้งกลุ่มอาชีพอะไร ให้ยั่งยืนและเป้าหมายที่เราต้องการคือ ให้เราพึ่งพาตนเองให้ได้ในระดับหนึ่งก่อน พอเรามีจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว เราค่อยขยายผล อย่างน้อยที่สุดตอนนี้เรามีกลุ่มมัคคุเทศก์ท่องเที่ยวดอยปุย , กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ,กลุ่มกาแฟรักดอย เป็นพื้นฐานแล้ว พ่อหลวงนัดมานั่งคุยกันสักวันนะครับ .. ผมให้เหตุผลและด้วยความเข้าใจตรงกันว่า..นี่คือเรื่องของทุกคน ที่ต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตร่วมกัน ..

..ผมนัดประชุมวันอาทิตย์นี้เลยครับหัวหน้า พอพี่น้องนมัสการเรียบร้อย เราคุยกันต่อเลย จะได้ไม่เสียเวลา..พ่อหลวงมาบือหันไปปรึกษาพ่ออาศรี ฉีโย ผู้อาวุโสคนสำคัญ ก่อนที่จะตกลงวันเวลากันให้แน่นอน

.....ใช้เวลาทำความเข้าใจ ในการดูแล การบริหารจัดการฟาร์ม การลดต้นทุนค่าอาหาร การสร้างโรงเรือน และการจัดทำบัญชี หาคนรับผิดชอบในแต่ละส่วนเรียบร้อยแล้ว ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง เมื่อทุกคนต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการพึ่งพาภายนอก  โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมหรับ การลดรายจ่าย พึ่งตนเองและ เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

เมื่อครัวเรือนพร้อม  ชุมชนพร้อม เตรียมความรู้พร้อม ความสำเร็จจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า..ชุมชนเข้มแข็ง อย่างยั่งยืน..พึ่งตนเองได้ ตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน จึงไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน อีกต่อไป

บัดนี้ ไก่ไข่ให้ผลผลิตอย่างที่เราต้องการ และเริ่มสร้างความมั่นใจว่า เราจะมีอาหารโปรตีนราคาถูก มีการแบ่งปัน เกื้อกูลกันในชุมชน เรียนรู้จากความสำเร็จของกันและกัน และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ให้ชุมชนอื่นๆ ที่มีบริบทแบบเดียวกันนี้ ได้มาเรียนรู้ดูงาน และสานพลังสร้างสัมมาชีพให้เข้มแข็งยั่งยืน ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

..ศึกษาชุมชน

..วิเคราะห์ชุมชน

...คืนข้อมูลให้ชุมชน สร้างความเข้าใจร่วมกัน

...วางแผนงาน โครงการ ตามความต้องการของชุมชน

..ปฏิบัติงานและทบทวน

...ตรวจสอบและแก้ไข

เป้าหมายเพื่อชุมชนพึ่งตนเอง อย่างยั่งยืน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยสำคัญคือ การปฏิบัติงานในชุมชนนั้นต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในใจของพี่น้อง ผู้นำ ให้ได้เสียก่อน หากไม่สามารถสร้างศรัทธาในการทำงานให้เกิดขึ้น ก็ยากที่ชุมชนจะเชื่อมั่น และสิ่งสำคัยประการต่อมาคือ ต้องเกิดจากความต้องการของชุมชนและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะความสำเร็จของงานพัฒนานั้น เป็นของชุมชน ไม่ใช่ของนักพัฒนา

อุปกรณ์ ->

เรียนรู้ร่วมกัน  ค่อยๆ ปรับปรุง มุ่งที่ประโยชน์ของส่วนรวม

ไม่ใช่การไปทำให้ แต่ให้ชุมชนลงมือด้วยตนเอง..

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นักพัฒนามีหน้าที่คือสร้างการเรียนรู้และกระตุ้นให้ชุมชนลงมือ ตามศักยภาพที่เขามี

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา