เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายสง่า แข็งฤทธิ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-02-16:17:25

ที่อยู่ : ๕๒ หมู่ ๔ ต.เหล่าดอกไม้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีได้เข้ารับการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ ซึ่งมีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงปลาดุกเป็นพิเศษ และมีหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย อาทิเช่น สำนักงานเกษตรอำเภอชื่นชม ปศุสัตว์อำเภอชื่นชม สำนักงานประมงอำเภอชื่นชม ลงมาส่งเสริม/สนับสนุนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จึงได้นำความรู้ที่ได้รับกลับมาฝึกปฏิบัติในพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ อีกทั้งยังแจกจ่ายแบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง ครัวเรือนใกล้เคียง และเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน สมดุล

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และในกระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  1  ไร่

การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง

เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

อัตราการปล่อย

ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000  ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง

 

อาหารและการให้อาหาร

ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ประเภทของอาหารสำเร็จรูป

-  อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4 เซนตริเมตร

 -  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1 เดือน

-  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน

-  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  -  ส่งตลาด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด  ภายในเวลา 30 - 60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1 เดือน ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ 2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร 2 มื้อ ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ3 - 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่น อาออกซีเตตร้าซัยคลิน  ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30-40 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา