เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่งวง

โดย : นายอุบล แสนโคก ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-02-16:00:26

ที่อยู่ : ๖๗ หมู่ ๑ ต.หนองกุง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชื่นชม นำครัวเรือนต้นแบบและครอบครัวพัฒนาไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสกลนคร ซึ่งก่อให้เกิดอุดมการณ์และแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้ที่ได้ในการศึกษาดูงานนำกลับมาพัฒนา/ปรับปรุงหมู่บ้าน โดยเริ่มต้นที่ครัวเรือนต้นแบบที่จะเป็นต้นแบบให้กับครอบครัวพัฒนา และโดยส่วนตัวได้ทำเกษตรผสมผสาน และมีความสนใจในเรื่องของการเลี้ยงไก่งวง จึงได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์นอกพื้นที่และโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลหนองกุง (พ่อแก้ว วงษ์ประพันธ์ บ้านโนนพิมาย ม.5 ต.หนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม) นำมาเลี้ยงในพื้นที่ส่วนตัวตามท้องไร่ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่งวง จึงเป็นอีกแรงส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น ด้วยการยึดหลักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน สมดุล

วัตถุประสงค์ ->

1. การเลี้ยงตามธรรมชาติ
เป็นรูปแบบการเลี้ยงไก่งวงด้วยการปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือการปล่อยเลี้ยงตามทุ่ง แต่จะให้อาหารเสริมบ้างในบางครั้ง เช่น รำข้าว ข้าวโพด ปลาขนาดเล็ก หรืออาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารหรือเศษอาหารจากครัวเรือน โดยอาจมีการผสมกับพืชผักที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ผักบุ้ง หยวกกล้วย ซึ่งในบางท้องที่มักเลี้ยงไก่งวงร่วมด้วยกับการเลี้ยงไก่ประเภทอื่น

ตัวอย่างอาหารที่เสริมให้แก่ไก่งวง ได้แก่ การใช้หญ้า ผักบุ่ง และหยวกกล้วย อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับมันสำปะหลัง 1 ส่วน รำ 4 ส่วน และปลาป่นหรือปลาขนาดเล็ก 1 ส่วน นอกจากนั้น อาจใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน เหงือกปลาหมอ เป็นต้น

2. การเลี้ยงในโรงเรือน

การเลี้ยงไก่ในโรงเรือน เป็นรูปแบบการเลี้ยงด้วยการจำกัดบริเวณภายในโรงเรือน โดยเกษตรกรต้องคอยอาหารให้แก่ไก่งวงเป็นประจำ โดยมีอัตราการปล่อยเลี้ยงที่ 1 ตัว/ตารางเมตร พื้นโรงเรือนให้รองด้วยวัสดุ เช่น แกลบ ฟางสับหรือขี้เลื่อย ปูหนา 2-3 นิ้ว และจัดหารางน้ำประจำในแต่ละจุด

3. การอนุบาลลูกไก่งวง

ลูกไก่งวงจะฟักออกจากไข่หลังใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน เมื่อลูกไก่งวงฟักแล้ว 1-2 วัน ให้นำลูกไก่แยกออกจากแม่ไก่ใส่ในคอกอนุบาลที่มีหลอดไฟ รางอาหาร และรางน้ำเตรียมไว้ ทั้งนี้ ให้จัดหาวัสดุสำหรับคลุมคอก และเปิดไฟทิ้งไว้ในเวลากลางคืน โดยอาหารในระยะนี้จะให้อาหารสำเร็จรูปเป็นหลัก แต่หากเกษตรกรมีทุนไม่สูงก็จะให้รำผสมกับพืชผักสับ และปลาสับ และเมื่อเลี้ยงไปแล้ว 15-20 วัน ก็สามารถนำออกปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติหรือปล่อยเลี้ยงในโรงเรือนได้

4. อาหารใช้เลี้ยงไก่งวง

อาหารใช้เลี้ยงไก่งวงในโรงเรือนจะเหมือนกับอาหารเสริมที่ให้แก่ไก่งวงที่เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ได้แก่ การผสมพืชผักตามธรรมชาติกับรำข้าว และปลาป่น นอกจากนั้น อาจใช้อาหารเลี้ยงไก่สำเร็จรูปก็ได้

สูตรอาหารไก่งวงระยะเล็ก

– ปลายข้าว 30 กิโลกรัม

– รำละเอียด 10 กิโลกรัม

– รำหยาบ 3 กิโลกรัม

– กากถั่วเหลือง 50 กิโลกรัม

– ปลาป่น 4 กิโลกรัม

– พืชผักสับ 3 กิโลกรัม

– เปลือกหอย 1 กิโลกรัม

– เกลือแกง 0.5 กิโลกรัม-

 แร่ธาตุ และวิตามิน 0.5 กิโลกรัม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา