เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายสุขุม มีภักดี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-02-15:55:54

ที่อยู่ : ๔๘ หมู่ ๘ ต.กุดปลาดุก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีได้เข้ารับการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพจากเทศบาลตำกุดปลาดุก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นพิเศษ และมีหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจหลายอีกหน่วย อาทิเช่น สำนักงานเกษตรอำเภอชื่นชม ปศุสัตว์อำเภอชื่นชม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาชื่นชม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชื่นชม ลงมาส่งเสริม/สนับสนุนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จึงได้นำความรู้ที่ได้รับกลับมาฝึกปฏิบัติในพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ อีกทั้งยังแจกจ่ายแบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง ครัวเรือนใกล้เคียง และเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน สมดุล

วัตถุประสงค์ ->

1. ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนต่อโรค สามารถปล่อยในพื้นที่กว้างๆ ว่างเปล่าให้คุ้ยเขี่ยหากินตามธรรมชาติ การเลี้ยงดูจึงไม่จำเป็นต้องสร้างโรงเรือนขนาดใหญ่ แต่ให้มีพื้นที่แบ่งแยกเขตเลี้ยงสัตว์กับที่เพาะปลูก/ที่อยู่อาศัยที่ชัดเจน เพราะจะทำให้ไก่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นสัตว์ปีก จะบินข้ามเข้าไปในเขตเพาะปลูกพืชผัก หรือที่อยู่อาศัย เพื่อคุ้ยเขี่ยหรือหากินตามธรรมชาติซึ่งเป็นธรรมชาติของไก่

2. อาหารสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรเป็นอาหารที่หลากหลาย ทั้งโดยทางธรรมชาติ (คุ้ยเขี่ยตามพื้นดิน) อาหารเสริมสำเร็จรูปสำหรับการเร่งการเจริญเติบโต รำข้าว/ปลายข้าวที่ได้จากโรงสีข้าวชุมชน และเศษผักเศษอาหารที่เหลือกินในครัวเรือน และต้องมีวัคซีนป้องกันโรคสำหรับไก่พื้นเมือง ถึงแม้โดยธรรมชาติไก่พพื้นเมืองจะมีภูมิคุ้มกันโรค/ต้านทานโรค ทนต่อโรคกว่าสัตว์ปีกอื่นๆ แต่จำเป็นต้องป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดอย่างเป็นพิเศษ เพราะสัตว์ปีกจะแพร่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ไก่ในเล้า/คอกตายทั้งหมด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา