เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การสร้างทุนหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพ

โดย : นางดวงใจ ปะกิระคะ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-02-16:48:54

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชื่นชม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        การที่จะทำให้คนในชุมชนมีอาชีพมีรายได้ เพื่อเป็นการลดความเลื่อมล้ำของคนในชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ จะประสบความสำเร็จได้ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนยึดหลึกการพึ่งตนเอง โดยใช้ทุนชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมหรือที่เรียกว่า “พลังแผ่นดิน” ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการสร้างการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน ในระดับการสร้างจิตสำนึก มีความศรัทรา ยึดมั่น และร่วมแรงร่วมใจกัน เป็นพลังของชุมชนและใช้พลังทั้งหมดที่มีขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการทรงงาน คือ “ระเบิดจากข้างใน” และดำเนินการบนฐานการบรูณาการทุกภาคส่วนทั้งภาคเกษตร เอกชน และภาคประชาชน การทำงานในรูปแบบ “ประชารัฐ” จึงจะส่งผลสู่ความสำเร็จ

วัตถุประสงค์ ->

1) เตรียมความพร้อมทีมพี่เลี้ยง โดยเริ่มจากสร้างทีมพี่เลี้ยงขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน ทุกระดับ  ตามแนวทางประชารัฐ ตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน สร้างการรับรู้และความเข้าใจแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างทีมงานทุกระดับและผู้นำชุมชน ร่วมกำหนดแผนขับเคลื่อน แผนติดตามประเมินผล และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน

2) การสร้างและพัฒนากลไกหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน โดยการให้ทีมพี่เลี้ยงระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน ร่วมสร้างและพัฒนากลไกหนุนเสริมสัมมาชีพชุมชน ดังนี้

    ๒.๒.๑ สำรวจข้อมูลทุนในชุมชนเพื่อเป็นกลไกหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ประกอบด้วย  ปราชญ์ชุมชน กองทุนชุมชน กลุ่มอาชีพ (OTOP SME SE) ฯลฯ      

    ๒.๒.๒ จัดระบบฐานข้อมูลทุนหนุนเสริมในชุมชน

    ๒.๒.๓ พัฒนาความรู้และทักษะให้แก่กลไกหนุนเสริมในการสนับสนุนนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

    ๒.๒.๔ จัดทำสื่อ/คู่มือ/องค์ความรู้ ของกลไกหนุนเสริม

               ๒.๒.๕ สร้างช่องทางประชาสัมพันธ์การเข้าถึงกลไกหนุนเสริม ทุกช่องทาง

   3) สนับสนุนและขยายครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  ขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน โดยกลไกหนุนเสริมฯ ตามแนวทางที่กำหนด โดยใช้วิธี “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” (ปราชญ์สอนอาชีพ) “จับคู่พัฒนา”กลุ่มอาชีพ/OTOP จับคู่ครัวเรือนสัมมาชีพพัฒนาต่อยอด “ทุนชุมชนเสริม”ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเข้าถึงแหล่งทุนชุมชน สนับสนุนช่องทางการตลาดฯเช่น ตลาดนัดชุมชนฯ ตลาด online ฯลฯ และสร้างเครือข่ายกลไกหนุนเสริมฯ

๔) ประกาศความสำเร็จและขยายผล เมื่อดำเนินการเสร็จตามขั้นตอนกระบวนการแล้ว ให้มีการประกาศความสำเร็จของการสร้างกลไกหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ดังนี้

    ๔.๔.๑ จัดเวทีประกาศความสำเร็จของกลไกหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

    ๔.๔.๒ ยกย่องเชิดชูเกียรติเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่กลไกหนุนเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

    ๔.๔.๓ ถอดบทเรียน จัดทำ Best Practice กลไกหนุนเสริม/หมู่บ้าน ที่โดดเด่นเป็นตัวอย่างได้

   ๔.๔.๔ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การส่งเสริมให้คนในชุมชนยึดหลึกการพึ่งตนเอง โดยใช้ทุนชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมหรือที่เรียกว่า “พลังแผ่นดิน” ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการสร้างการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน ในระดับการสร้างจิตสำนึก มีความศรัทรา ยึดมั่น และร่วมแรงร่วมใจกัน เป็นพลังของชุมชนและใช้พลังทั้งหมดที่มีขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการทรงงาน คือ “ระเบิดจากข้างใน” และดำเนินการบนฐานการบรูณาการทุกภาคส่วนทั้งภาคเกษตร เอกชน และภาคประชาชน การทำงานในรูปแบบ “ประชารัฐ”

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา