เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การจักสานไม่ไผ่

โดย : นายบุญเลี้ยง คงเจริญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-02-14:51:28

ที่อยู่ : ๒๗ ม.๒ ต.แห่ใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

วัตถุประสงค์ ->

ใช้มีดเหลาไม้ไผ่ (ตอก) ให้บางๆ พอได้ขนาดที่พอเหมาะจึงนำตอกมาสานโดยเริ่มจากฐานก่อน เมื่อได้ฐานตามขนาดที่ต้องการจึงเริ่มกดหรือดัดตัวกระโปงให้ตั้งขึ้นเมื่อได้ความสูงที่ต้องการจึงมัดปากด้วยตอก แล้วนำไม้ไผ่หนาประมาณ 1 นิ้ว วางปากตอกจากนั้นจึงมัดซ้ำด้วยลวด 
การถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานจะเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคล และเป็นการสอนปฏิบัติ  เนื้อหาไม่ชัดเจนใช้ประสบการณ์ของผู้สอน  ดังนั้นผู้ฝึกการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานจึงต้องหาผู้ถ่ายทอดและเวลาในการปฏิบัติ  ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการลำบากสำหรับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานราชการที่จะเข้าไปศึกษาโดยใช้เวลาช่วงสั้นๆ  เพราะชิ้นงานที่สำเร็จของหัตถกรรมเครื่องจักสานในลักษณะที่มีความละเอียดมากจะใช้เวลามากเป็นเดือน  จึงสังเกตได้ว่าผู้ทำหัตถกรรมจักสานจะเป็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นชุมชนนั่นๆเอง  จึงเกิดการเผยแพร่ในวงกว้างค่อนข้างยาก  แม้ว่าสถานศึกษาบางแห่งมีการสอนก็จะพบว่าต้องนำผู้เชี่ยวชาญหัตถกรรมเครื่องจักสานไปสอน  แสดงให้เห็นว่าถ้าจะจัดหลักสูตรหัตถกรรมเครื่องจักสานในหลักสูตรการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษา  หรือการศึกษานอกโรงเรียนสานอาชีพ ควรใช้รูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในชุมชนนั้นๆ  โดยมีการสอนแบบตัวต่อตัวโดยผู้มีความเชี่ยวชาญในชุมชนนั้น  และยังเป็นการสร้างค่านิยม และกระตุ้นให้เกิดการรักวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสาน ด้านเนื้อหาการถ่ายทอดยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ใช้การถ่ายทอดโดยการบอกเล่า และเน้นการปฏิบัติตาม ซึ่งจะพบว่าถ้าผู้ถ่ายทอดเสียชีวิต และไม่มีการสืบต่อของความรู้นั้น  ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เกิดการสูญหายไป  ดังนั้นควรมีการเก็บภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในรูปความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักในการเก็บบันทึก   หรือให้ส่วนภาคราชการ  หรือองค์กรทางการศึกษาช่วยในการจัดเก็บบันทึก  ซึ่งจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา