เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายหนู จอมทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-01-14:45:03

ที่อยู่ : 96 หมู่ 4 บ้านโนนสูง ตำบลเสือเฒ่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บรรพบุรุษ ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการจักสาน เพื่อให้ลูกหลานได้ทำไว้ใช้ในครัวเรือน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของเครื่องใช้ ปัจจุบันคนนิยมหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่มากขึ้น จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

1.  ตัดไม้ไผ่ปล้องที่3 นับจากโคนไม้แล้วจักเป็นซีกเล็ก ๆ หนาประมาณ 1 มม. กว้าง 1 ซม.เพื่อทำเป็น “ตอกยืน” หรือไม้โครง

2.  ตัดไม้ไผ่ส่วนที่เหลือโดยนับไปปล้องที่7 หรือ 9 ขึ้นกับความยาวของไม้ ผ่าตามยาวแล้วจักให้เป็นเส้นกลมยาว เพื่อทำเป็น“ตอกสาน” หรือผนังตะกร้า ให้เป็นรูปแบบเมล็ดแตงกวา

3.  ไม้ขัดก้นคือไม้ที่ยึดฐานส่วนล่างของตะกร้า เน้นให้ได้รูปทรงแข็งแรงไม่บิดเบี้ยว โดยใช้ไม้ไผ่ส่วนโคนไม้เหลากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. (หากต้องการตะกร้าใบใหญ่ก็ใช้ไม้ยาวกว่านี้) เสียบปลายแหลมทั้ง 2 ด้านรวงตะกร้า ใช้ตอไม้ไผ่ หรือใช้ไม้เสียวซึ่งเป็นไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นโค้งงอได้ นำมาทำเป็นรวงตะกร้าจะมีความเหมาะสมกลมกลืน โดยใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5ซม. ยาว 1 เมตร รวมใหญ่/เล็ก ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของตะกร้า

วิธีทำ

นำตอกยืน 4 เส้นวัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย+เพื่อก่อก้นโดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมดจนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า(ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็กตามความต้องการที่นำไปใช้ประโยชน์) เพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้น โดยใช้ตอกสานเส้นกลม สานลายหนึ่ง คือข้ามหนึ่งสอดหนึ่ง โดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อย ๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการ โดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซม. เผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์ การล้มปาก คือการพับไม้ปากตะกร้าโดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้น จับรวมกันจับละ 4 – 5เส้นพันแล้วม้วนสอดเข่าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงามและแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้าที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน(เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรงแล้วตอกตีน คือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลมจุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4 มุม

 

 

-2-

1. ชื่อ นายหนู   นามสกุล  จอมทอง

 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

การรมควัน นำตะกร้าไปรมควันไฟใช้ฟางข้าวที่ไม่ใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิง รวมควันเพื่อกัน

มอดแมลงเพื่อให้เศษไม้เศษเสี้ยนไม้ไผ่ที่สานหลุดออก สร้างสีสัน ดูให้เกิดความแข็งแรง

นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้หากต้องการความสวยงามเพิ่มขึ้น ก็ทาแลกเกอร์ เพื่อรักษาไม้และให้ความสวยงาม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ 

รูปทรงสวยงามขนาดพอเหมาะ แข็งแรง ทนทาน

การใช้ประโยชน์ 

ตะกร้าสำหรับใส่สิ่งของทั่วไปตะกร้าขนาดเล็กเหมาะนำไปเป็นของฝากของที่ระลึกสำหรับใส่ของใช้ชิ้นเล็กน่ารัก

 ประโยชน์

 เสริมสร้างรายได้ให้คนในครัวเรือนและคนในชุมชน เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ที่มีความเป็นตัวตน มีความโดดเด่นเฉพาะตัววิถีชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นของตน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

          1. ความขยัน หมั่นเพียร อดทน ใส่ใจ มีเวลา มีใจรัก

          2. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

          3. ปรึกษา หาความรู้จากตำรา หรือผู้เชี่ยวชาญ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา