เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกอ้อยอินทรีย์

โดย : นายสำเริง ไข่ลือนาม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-31-00:10:02

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ต.เสือเฒ่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกิดจากความสนใจในการปลูกอ้อย  โดยการทำไร่อ้อยอินทรีย์นั้นเกิดจากการลองผิดลองถูก  ทำให้พบเทคนิค กลยุทธ์ และต่อยอดการเกษตร นอกจากให้ผลิตที่คุ้มค่าแล้ว ยังลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกอ้อย  หลังจากไถยกร่องแล้ว รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โรยใต้แถวท่อนพันธุ์อ้อย

สับท่อนพันธุ์ให้มีความยาวสม่ำเสมอ ประมาณ 30 เซนติเมตร หรือประมาณ 3-4 ข้อตา

ในการปลูกอ้อยปลายฝน ควรกลบท่อนพันธุ์ให้แน่นและหนา ประมาณ 15-20 เซนติเมตร

ถ้าปลูกอ้อยต้นฝนหรืออ้อยน้ำราด ควรกลบดินให้สม่ำเสมอ หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร

การดูแลรักษา  ควรปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวอ้อย เช่น ถั่วพร้า เพื่อป้องกันและควบคุมการงอกของวัชพืช และช่วยคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น โดยหว่านเมล็ดถั่วพร้าระหว่างร่องอ้อย หลังจากปลูกอ้อยเสร็จ จากนั้นฉีดพ่นด้วยสารสกัดชีวภาพ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตเสริมความแข็งแรงและเพิ่มความหวานของอ้อย ทุกๆ 15-20 วัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน หรือเครื่องทุ่นแรงตามความเหมาะสม

ในการกำจัดแมลงศัตรูอ้อย ให้ใช้ชีววิธี หากมีปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่ ขี้เป็ด ขี้วัว ขี้ควาย ที่เลี้ยงแบบปล่อย ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สามารถนำมาใส่ในแปลงอ้อยอินทรีย์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยได้

เมื่อเข้าฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โรยข้างแถวอ้อยเป็นปุ๋ยแต่งหน้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ  ในการผลิตและจัดการปลูกอ้อย  โดยปรับเปลี่ยนใช้พันธ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพดิน  ด้วยการทดลองปลูกอ้อยหลายๆ พันธุ์เพื่อดูปริมาณผลผลิตซึ่งประสบผลสำเร็จได้ดีกับพันธุ์ขอนแก่น 3 ประดิษฐ์  คิดค้นดัดแปลงเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตร  เพื่อประหยัดแรงงาน  และเวลาในการทำงาน  ปัจจุบันมีเกษตรกรนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา