เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกยางพารา

โดย : นายประนุช เรืองศรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-31-00:05:41

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 3 ต.เสือเฒ่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านท่ากระเสริม  ม.3 ต.เสือเฒ่า  พื้นที่เพาะปลูกกว่า 80% เป็นสวนยางพารา  เนื่องจากชาวบ้านที่ได้ไปรับจ้างกรีดยางทางภาคใต้  ได้กลับมาทำสวนยางในพื้นที่บ้านท่ากระเสริม  เนื่องจากสภาพดินสิ่งแวดล้อมเหมาะสม  หลังจากนั้นสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)  จึงเข้ามาสนับสนุนทุนและพันธุ์  มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางพารา  โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2546  เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง

วางแนวปลูกต้นยางพารา

กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)

ระยะปลูกต้นยางพารา

ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่

ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเสมอๆ เริ่มจากขุดหลุมปลูกจะต้องได้ขนาดตามมาตรฐาน  มีการจัดหาปุ๋ยอินทรีย์รอง ก้นหลุม จัดหาปุ๋ยเคมีใส่ตามสมควร  ในหน้าแล้งจะต้องดูแลเป็นอย่างดี  เพราะถือว่าเป็นเขตปลูกยางใหม่  และต้องมีความขยัน  และต้องยึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้วย  คือ  มีการปลูกพืชแซม  สามารถสร้างรายได้ในช่วงที่มี   ฝนตก  ไม่สามารถกรีดยางได้ 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา