เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกผัก

โดย : นายอุเทน ปัสสาโก ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-05-21:06:55

ที่อยู่ : 208 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พืชผักสวนครัว คือ สวนผักขนาดเล็กที่ปลูกในบริเวณบ้านหรือโรงเรียนในพื้นที่เล็กน้อย เพื่อใช้รับประทานในครัวเรือน การทำสวนครัวนอกจากจะได้ผักที่ปลอดสารพิษแล้ว ยังช่วยประหยัดรายจ่าย เหมาะสำหรับงานอดิเรกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ความสำคัญในด้านคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ ให้สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งอาหารชนิดอื่นๆมีไม่เพียงพอหรือไม่มี ผักสวนครัวมีคุณสมบัติช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายลดสภาพความเป็นกรดโดยสาเหตุจากย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนย และอื่นๆ เยื่อใยของพืชผักสวนครัว ช่วยระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการเป็นโรคลำไส้ และมะเร็งในลำไส้ ลดปริมาณคลอเรสตอรอล ลดความอ้วน ผักสวนครัวอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและธาตุเหล็ก ผักสีเขียวและเหลืองให้ วิตามินเอ ซี สำหรับถั่วต่างๆจะให้โปรตีน ประเภทหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ให้คาร์โบไฮเดรตความสำคัญในด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบริโภคการอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีทั้งใช้บริโภคภายใน และส่งไปจำหน่าย จึงทำให้พืชผักสวนครัวมีแนวโน้มที่จะเป็นเศรษฐกิจในอนาคต

วัตถุประสงค์ ->

1. การเตรียมดิน

ผักสามารถปลูกได้ทั้งในพื้นดินโดยตรงหรือหากไม่มีที่ดินเพียงพอก็สามารถปลูก

ได้ในภาชนะต่าง ๆ ที่มีความลึกตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ขึ้นไป เพื่อให้รากสามารถหยั่งลงไปใน

วัสดุปลูกได้ สำหรับความกว้างของภาชนะขึ้นกับชนิดผักที่จะปลูก

1.1 การเตรียมดินสำหรับปลูกในภาชนะ

ใช้ ดิน : แกลบ : ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1 : 1 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำเพื่อให้มีความชื้น สังเกตได้จากสามารถกำวัสดุปลูกเป็นก้อนได้

1.2 การเตรียมดินสำหรับการปลูกในพื้นที่ว่างหรือในแปลง

- พรวนดิน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วัน

- ยกแปลงสูงประมาณ 4 – 5 นิ้ว กว้างประมาณ 1 – 1.20 เมตร

  ส่วนความยาวตามลักษณะของพื้นที่ ควรอยู่ในแนวทิศเหนือ/ใต้ เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง

- ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 – 3 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร

2.1 การปลูกด้วยเมล็ด สำหรับผักโดยทั่วไป เช่น พริก มะเขือ คะน้า

กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว และแตงกวา ต้องใช้เมล็ดปลูก การใช้เมล็ดปลูก

 

ทำได้ 3 วิธี คือ

- การเพาะกล้าก่อนแล้วจึงย้ายปลูก สำหรับผักที่เมล็ดมีราคาแพง

ต้องการดูแลเอาใจใส่มาก หรือในช่วงที่เว้นปลูกมีฝนตกชุก การเพาะ และย้ายปลูก อาจทำให้

สามารถดูแลต้นกล้าให้แข็งแรงได้ ก่อนย้ายปลูกลงในแปลงปลูก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

3.1 การให้น้ำ พืชผักเป็นพืชอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอ

ทุกระยะการเจริญเติบโต ต้องให้น้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าแฉะหรือมีน้ำขัง เพราะน้ำจะเข้าไป

แทนที่อากาศในดิน ทำให้รากพืชขาดออกซิเจนและเน่าตายได้ ควรรดน้ำในช่วงเช้า – เย็น

ไม่ควรรดน้ำตอนแดดจัด

3.2 การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ

- ปุ๋ยรองพื้น ใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ควรเป็นปุ๋ยคอก

หรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย ช่วยในการอุ้มน้ำและรักษาความชื้นของ

ดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช

- ปุ๋ยบำรุง ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจน

กล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรย

บาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วควร

พรวนดินและรดน้ำทันที ปุ๋ยที่มักใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรียแอมโมเนียมซัลเฟต สำหรับบำรุง

ต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 และ12 – 24 – 12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา