เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงกบ

โดย : นายวัน นาหลุบเลา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-05-21:01:31

ที่อยู่ : 27 หมู่ที่ 6 ตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่เดิมกบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา  แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป  อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็ก ๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อย ๆเกษตรกรจึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

การเลือกสถานที่เลี้ยงกบการเลือกบ่อหรือคอกเลี้ยงกบควรจะอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย เพื่อสะดวกในการป้องกันศัตรู เช่น  งู นก หนู หมา แมว และ คน ถ้าบ่อเลี้ยงกบหรือคอกเลี้ยงกบอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกศัตรูและคนขโมยจับกบไปขายหมด นกก็มีทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนแมวอันตรายมากเพราะนอกจากจะจับกบกินแล้ว บางครั้งก็ชอบจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่นจนทำให้กบตาย สรุปการเลือกสถานที่เลี้ยงกบควรมีดังนี้

1. ใกล้บ้าน ง่ายและสะดวกในการดูแลรักษาและป้องกันศัตรู
2. เป็นที่สูง ป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ เพื่อสะดวกในการสร้างคอกและแอ่งน้ำ
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน เนื่องจากกบต้องการพักผ่อนจะได้โตเร็ว

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยงพันธุ์กบที่นิยมนำมาเลี้ยงมี 1 พันธุ์คือ กบนา สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้เลี้ยงพันธุ์กบนาจะเหมาะกว่า กบนาใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน กบก็โตได้ถึงขนาด 4-5 กิโลกรัมต่อตัว เป็นกบที่โตเร็ว และเป็นที่นิยมบริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะกบนาตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และกบตัวผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ใช้สำหรับส่งเสียงร้องโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ ส่วนกบตัวเมียส่งเสียงร้องได้เหมือนกันแต่เบากว่า ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องและกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นท้องบวมและใหญ่กว่าปกติการเพาะพันธุ์กบการเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบสามารถทำได้ 2 วิธี คือ หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบ และเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบขึ้นมาเอง สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ เนื่องจากหาง่าย มีความทนทานโรค และลงทุนน้อยกว่า

การคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบเมื่อเลือกแล้วว่าจะหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบจากแหล่งใด ก็ต้องมาคัดเลือกว่ากบที่จะมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต้องมีลักษณ์อย่างไรบ้าง

1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และจะมีปุ่มสากข้างลำตัวทั้ 2 ข้าง เมื่อใช้นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้ และแม่พันธุ์ตัวที่พร้อมมากจะมีปุ่มสากมากแต่เมื่อไข่หมอท้องปุ่มสากนี้ก็จะหายไป
2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียงดังและกล่องเสียงที่ใต้คางก็จะพองโปน ลำตัวจะมีสีเหลืองเข้มและเมื่อเราใช้นิ้วสอดที่ใต้ท้อง มันจะใช้ขาหน้ากอดรัดนิ้วเราไว้แน่น

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์กบ

เมื่อได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบแล้วต้องมีการเตรียมสถานที่สำหรับผสมพันธุ์

1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ด้วยด่างทับทิมเข้มข้น 10 ppm แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดด่างทับทิมออกให้หมด
2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย เพราะว่าขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง จะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก
3. เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่เราจะเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำท่อ PVC ขนาดครึ่งนิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำเข้าไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก แล้วนำท่อท่อนนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อ และเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทำความสะอาดบ่อเลี้ยงกบ

1. งดให้อาหารกบก่อนลงไปทำความสะอาด เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจเนื่องจากคนลงไปรบกวน จะทำให้กบจุกเสียดแน่นและตาย
2. ควรหาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุมเพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัวเมื่อเข้าไปทำความสะอาด โดยเฉพาะในบ่อซีเมนต์เมื่อปล่อยน้ำเก่าทิ้งจนแห้ง กบจะเข้าไปหลบตัว
3. หลังจากทำความสะอาดแล้ว อาหารมื้อต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้ง เพื่อบรรเทาอาการอักเสบลงได้

โรคและการป้องกันโรคโรคที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดการเลี้ยงและการจัดการไม่ดี ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการใช้บ่อซีเมนต์ หรือมีจำนวนกบหนาแน่นเกินไป และอาจจะขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันโรคคือ บ่อเลี้ยงต้องสะอาด มีแสงแดดส่งถึงพื้น น้ำต้องสามารถถ่ายเทได้สะดวกโดยทำท่อน้ำเข้าทางหนึ่ง และทำท่อน้ำระบายออกอีกทางหนึ่งและยังสามารถเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้ช่วยเก็บกินเศษอาหารและมูลกบ ในอัตราส่วนกบ:ปลาดุก 100:20 นั่นคือปล่อยกบ 100 ตัว แล้วปล่อยปลาดุกไม่เกิน 20 ตัว  การปล่อยกบเลี้ยงในบ่อต้องไม่มีจำนวนมากเกินไป และถ้าพบว่ากบตัวใดมีอาการผิดปกติให้แยกออกมาจากบ่อทันที

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา