เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทอเสื่อกก

โดย : นางสมบัติ อรุณโณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-05-20:45:09

ที่อยู่ : 64 ม.3 ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอเสื่อกกเกิดขึ้นสมัยปู่ ย่า ตา ยาย ส่วนใหญ่ทอเสื่อกกเพื่อการใช้สอยในครัวเรือนเท่านั้น แลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านใกล้เคียง โดยเริ่มต้นทอเสื่อกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ) ปัจจุบันเริ่มมีการทอเสื่อกกหลากหลายมากขึ้น มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีช่องทางการจำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

1.นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์

2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน

3. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม

4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ

5. เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ

6. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ

7. จากนั้นก็นำเสื่อกกที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น หมอน อาสนะ หนอนทอฟฟี่(หมอนข้าง) เสื่อพับ ที่รองแก้ว หมอนสามเหลี่ยม ฯลฯ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      วิธีการทอสื่อ

เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา