เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมครัวเรือนสัมมาชีพในหมู่บ้าน

โดย : นางสาววาสนา อังวะ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-28-09:56:36

ที่อยู่ : 637/47 หมู่ที่ 3 ต.ในเมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

3.1. ความเป็นมา/ความสำคัญ

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ  จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันประชาชนภาคเกษตรมีความเสี่ยงสูง  เนื่องจากประชาชนทำการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว  มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ  ทำให้ประชาชนต้องไปรับจ้างในเมืองใหญ่ ๆ  ผู้มีความรู้ในชุมชน/ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน  ไม่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามจนประสพผลสำเร็จได้

        ปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชนจึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น  เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ให้กับปราชญ์/ผู้รู้ในชุมชน  ให้สามารถถ่ายทอดให้คนในชุมชนเข้าใจและนำไปทำตามให้ประสบผลสำเร็จต่อไป

        นักวิชาการพัฒนาชุมชน  ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล ติดตาม สนับสนุน หมู่บ้านเป้าหมาย  2  ตำบล  15  หมู่บ้าน  ดำเนินการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด  โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพมีโอกาสในการเรียนรู้พัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นและสามารถรวมเป็นกลุ่มอาชีพ  และต่อยอดเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.      ประชุมทีมพัฒนากร  ร่วมออกแบบการจัดประชุม  การจัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  เตรียม

เอกสาร  สื่อ  และเครื่องมือสำหรับการประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

๒.      จัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  3  วัน  ดังนี้

วันที่ 1-2

1. สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน  โดยใช้กระบวนการ  ดังนี้

          - ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          - ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็น

ที่เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ,  ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน ,  กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ฯลฯ       

2. สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  โดยใช้กระบวนการ  ดังนี้

- ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

- จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

          - ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

3. การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  โดยใช้กระบวนการดังนี้

          - ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

          - จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

วันที่ 3
การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ  โดยใช้กระบวนการดังนี้

          - ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อ

          1) ให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ  ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน, ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน , กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

          2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ

หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้
          3) แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ
          4) กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
          5) ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ

ก่อนเริ่มอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน  (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สร้างเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนในระดับอำเภอ  เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อ  สอบถามข้อมูล  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่อยากจะรู้  และรายงานผลการดำเนินงานหมู่บ้านสัมมาชีพให้เพื่อนๆ ในหมู่บ้านอื่นได้ทราบ  ผ่านสื่อออนไลน์  เช่น  ตั้งกลุ่มไลน์สัมมาชีพชุมชนอำเภอกุดรัง  ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

1.      เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องศึกษาข้อมูลตามแนวทางสัมมาชีพให้เข้าใจ เพื่อจะได้ถ่ายทอดให้

ทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเข้าใจและสามารถนำไปถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลพร้อมทั้งวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน

2.      ปราชญ์ที่เป็นตัวแทนของหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน ต้องมีองค์ความรู้และเป็นที่ยอมรับของคน

ในหมู่บ้าน สามารถถ่ายทอดได้และนำไปปฏิบัติได้จริง

3.      การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย  20  คน  ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและอยากจะฝึกอาชีพ

จริง ๆ เพื่อให้มีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น

4.      กระบวนการถ่ายทอดความรู้  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของปราชญ์แต่ละคน  ต้องถอดองค์

ความรู้ของทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไว้  และนำไปประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและทำตามได้จริง

5.      การติดตามครัวเรือน  ทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านต้องหมั่นเข้าไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมครัวเรือนสัมมาชีพอยู่เป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อแนะนำและแก้ปัญหา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนาเรื่องนั้นเป็นอย่างไร?  ปัจจัยแห่งความสำเร็จคืออะไร

ผลการสนับสนุนทีมสัมมาชีพชุมชน

1.      วิทยากรสัมมาชีพชุมชนได้รับการยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน

2.      ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  มีความกระตือรือร้นในการดำเนินงานทุกขั้นตอน

3.      อาชีพที่ได้รับการสนับสนุน  เป็นอาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพต้องการและอยากเรียนรู้และนำไปประกอบอาชีพ

4.      เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ติดตาม  สนับสนุน  ทั้งความรู้และพัฒนาอาชีพรวมทั้งร่วมแก้ไขหาอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา