เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ

โดย : นางกรกฎ จันทรเสนา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-15-18:50:26

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 3 ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงสูงเกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่มีอาชีพเสริม สร้างรายได้และการรวมกลุ่มมีข้อจำกัด และกลุ่มอาชีพไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับในหมู่บ้านมีปราชญ์ชาวบ้าน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ  แต่ขาดโอกาสการพัฒนาองค์ความรู้และขยายผลความรู้สู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้อย่างเป็นระบบโดยให้ประชาชนในหมู่บ้านเรียนรู้สิ่งที่อยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ โดยคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ประสบการณ์เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนหนึ่งคนเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ ไปสร้างวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านอีกจำนวน ๔ คน รวมหมู่บ้านละ ๕ คน ฝึกอาชีพที่สนใจในครัวเรือนเป้าหมายหมู่บ้านละ ๒๐ คน เมื่อครัวเรือนผ่านการฝึกปฏิบัติขั้นพื้นฐานแล้วก็สามารถสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายผลทางการตลาดให้กว้างขึ้นภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างมีคุณภาพมั่นคงตลอดไป

วัตถุประสงค์ ->

  ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

                    1  ขั้นเตรียมการ

                       ๑.๑  นักวิชาการจัดเตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

          ๑.๒  ประสานการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับ การอบรมเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน  1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน (วิทยากรสัมมาชีพชุมชน)

                   ๑.๓  การประสานวิทยากรสัมมาชีพชุมชนกลับไปสร้างทีม โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ ๔  คน   รวมเป็น 5 คน  (ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)

                    ๑.๔  การศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน

ของกรมการพัฒนาชุมชนและเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                   2  ขั้นตอนดำเนินการ
                              ๒.๑ ร่วมกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม

                             ๒.2  ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการประสานและสนับสนุนทีมวิทยากร และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนให้หมู่บ้านตามโครงการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึง ทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม)

                   ๒.3  สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง

                   ๒.4 การสนับสนุนขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยความสำเร็จ 

                    - หลักการมีส่วนร่วม (ทุกส่วนราชการ+ผู้นำชุมชน+หัวหน้าคุ้ม+ชุมชนทุกครัวเรือนได้เข้ารับการเรียนรู้ร่วมและมีส่วนร่วมด้วยกัน)

- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัด ๖X๒ (ทุกครัวเรือนมีและปฏิบัติร่วมกัน)

          - การบูรณาการทำงาน (กำหนดกรอบ แผนงานร่วม)

            -การประชาสัมพันธ์ (การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นแรงกระตุ้นและสร้างความชื่นชม ยินดีได้)

-ความมุ่งมั่น เสียสละของวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

อุปกรณ์ ->

 

๑.      เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกิจกรรม การคัดเลือก

ปราชญ์ชุมชน  ต้องมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ การคัดเลือกต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ

๒.              มีการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของครัวเรือนสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

๓.              มีการขยายผลวิถีชีวิตประชาชนตามแนวแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงถึงระดับครัวเรือน ระดับชุมชน

ให้เกิดการเรียนรู้ การพึ่งพา

                      ๔. มีการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลสารสนเทศชุมชนที่น่าสนใจ/หลากหลายรูปแบบ

                    ๕.มีการถอดบทเรียน/สรุปผลการดำเนินงาน/เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยหลักการพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน การช่วยเหลือตนเอง  ความคิดริเริ่มของประชาชน  ความต้องการของชุมชน เน้นการศึกษาตลอดชีวิต การคิดอย่างต่อเนื่องครบวงจร เชื่อมโยงการผลิต การตลาด  และผู้นำชุมชนเป็นบุคคลที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงชุมชนและทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคีร่วมมือกันสร้างสิ่งที่ดีขึ้นมา โดยเฉพาะผู้นำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา