เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

สร้างความเชื่่อมั่นในศักยภาพ สู่สัมมาชีพอย่างยั่งยืน

โดย : นางสาวไปรยา กางโสภา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-12:24:09

ที่อยู่ : 8 หมู่ที่ 15 ตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการที่กรมการพัฒนาชุมชน  มีนโยบายในการดำเนินงานพัฒนาคุุณภาพชีวิตของประชาชน  โดยการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  เกิดโครงการสัมมาชัพชุมชน  ให้ประชาชนดำรงชีวิตตามหลักประชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีรายได้มากกว่ารายจ่าย  ไม่เบียดเบียนตนเอง  ผู้อื่น  และสิ่งแวดล้อม  โดยเน้นให้ปราชญ์ที่เป็นผู้มีความรู้  เป็นที่ศรัทธาของคนในหมู่บ้าน  เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  ตามหลักปรััชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน  

โครงการสัมมาชีพชุมชนจะสัมฤทธิ์ผลได้  ปราชญ์ชุมชนและข้าพเจ้าเห็นพ้องร่วมกันว่าต้องสร้างความเชื่อมั่น  ความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายก่อน    เพราะหากคนเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตนเอง  และนำศักยภาพนั้นมาทำคุณประโยชน์ต่อตนเอง  ชุมชน  สังคม  ประเทศชาติ  ถือเป็นการแทนคุณแผ่นดิน  ปราชญ์ชุมชน  ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายและข้าพเจ้า  จึงจัดให้มีพิธีตั้งปณิธาน  ที่จะปฏิบัติตนทำความดีตามร้อยเท้าพ่อ  โดยการปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  9 มีฝ้ายผูกแขนเป็นสัญลักษณ์การมัดใจรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะก้าวสู้ความมีอยู่มีกินไปพร้อมๆกัน   เป็นวิธีการสร้างขวัญกำลังใจ   สร้างแรงบันดาลใจ  โดยมีพระองค์ท่านเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แก่ปราชญ์ชุมชน  ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย  และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ในการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุุมชนให้สัมฤทธิ์ผล  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. จับเข่าคุยปราชญ์ 5 คน  แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาสังคมในปัจจุบัน  และผลกระทบที่จะส่งผลแก่หมู่บ้านในอนาคต  ร่วมกันวิเคราะห์หมู่บ้าน  เน้นจุดที่ทำให้หมู่บ้านไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้  โดยเฉพาะปัญหาความยากจนและหนี้สิน  

2. ชี้ให้ปราชญ์  5  คนเห็นคุณค่าในตัวเอง  ดึงศักยภาพที่มีในตัวเองออกมาทำประโยชน์เพื่อตนเอง  พี่  น้อง  ลูก  หลานในหมู่บ้าน สร้างภูมิิคุ้มกันจากปัญหาทั้งภายในและะภายนอกชุุมชน  โดยมีแกนหลักในการนำพาสู่ความยั่งยืน  คือ  ปราชญ์  5  คน

3. สร้างความรู้แนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  แก่ปราชญ์  5  คน   ชี้ให้ปราชญ์ตระหนักถึงพระมหากรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อม  และสิ่งที่พ่อหลวงรัชกาลที่  9  ทรงมีต่อปวงชนคนไทย  มีสิ่งได้ที่ปราชญ์  5  คนจะสามารถสานต่องานพ่อได้บ้าง  จนปราชญ์เกิดความฮึกเหิม  และมีการตั้งปณิธานจะเป็นผู้นำในการสร้างสัมมาชีพให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

4.  ประชุมผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  20  คน  โดยมีปราชญ์ชุมชน  5  คน  เป็นพี่เเลี้ยง  ชี้ให้ผู้แทนครัวเรือนเห็นปัญที่เกิดกับครัวครอบ  ชุมชน  และรวมพลังที่จะขจัดความทุกข์ยากให้หมดสิ้น  โดยการพึ่งตนเอง  และมีพิธีปฎิณานตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  9  เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจ  ขวัญกำลังใจแก่ผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5.  มีเครื่องมมือในการวัดความดี  และประเมินปณิธานที่ผู้แทนครัวเรือนปฎิญาณไว้  คือ  การจัดทำบัญชีครัวเรือน  และบันทึกแผนชีวิต  โดยประเมินทุก ๆ 3 เดือน  ว่ามีการปฏิบัติตามแผนชีวิตที่วางไว้หรือไม่  มาก น้อยเพียงได  และนำข้อมูลมารวมกันวิเคราะห์หาปัญหา  อุปสรรค  และะแนวทางแก้ไข

6.  การลงพื้นที่ติดตามอย่างต่อเนื่องของพัฒนากรผู้รับผิดชอบหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน  จะทำให้ประชาชนในหมู่บ้าน  เห็นว่าเป็นโครงการที่ได้รับความสำคัญ จากหน่วยงานภาครัฐ  ไม่ใช้ทำให้แล้วเสร็จเท่านั้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  แรงศรัทธาที่จะก้าวตามรอยเท้าพ่อ

2.  การดึงศักยภาพที่มีในตัวคน  ประกอบกับสร้างค่านิยมแทนคุณแผ่นดิน  สำนึกรักบ้านเกิด  สู่การพัฒนาหมู่บ้านอย่างสร้างสรรค์ยั่งยืน

2.  ประชาชนเชื่อมั่นว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้ชีวิตก้าวข้ามความยากจนอย่างยั่งยืน

3.  ความสามัคคีและการมีส่วนร่วม

4.  การแลกเปลี่ยนความคิดต่าง  นำสู่การพัฒนาที่ส้างสรรค์

5.  ทุกกิจกรรมเกิดจากประชาชนในหมู่บ้าน  ประชาชนเกิดความรัก  หวงเแหน  ในผลงานที่เกิดจากโครงการสัมมาชีพชุมชน  ทำให็กิจการเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรมีงบประมาณที่จะดำเนินการต่อยอดโครงการดีๆแบบนี้  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน   

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา