เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพ สร้างรายได้ได้ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นางสาวพิศมัย แพนสมบัติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-13:37:39

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชนในฐานะพัฒนากร ได้ศึกษาชุมชนบริบทในพื้นที่ที่รับผิดชอบ อำเภอนาเชือก  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบ  8  หมู่บ้าน ได้แก่  ตำบลหนองแดง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านโคกสูง หมู่ที่ 8  และบ้านหนองแต้  หมู่ที่ 9  ตำบลสำโรง  จำนวน 6 หมู่บ้าน  คือ บ้านสำโรง หมู่ที่  1  บ้านหัวดง  หมู่ที่ 4 บ้านดงม่วง  หมู่ที่ 5 บ้านโนนเหลี่ยม หมู่ที่ 7  บ้านสำโรงใหม่ หมู่ที่ 12  และ     บ้านสำโรงราษฎร์ หมู่ที่  13  จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วย  1.ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)  ๒.ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน (กชช.2ค.)   3.ข้อมูลบัญชีรับจ่ายครัวเรือน 4.ข้อมูลแผนชุมชน และ   5.ข้อมูลที่การวิเคราะห์จากเวทีประชาคมหมู่บ้าน  ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน ทำให้รู้สภาพปัญหาการดำรงชีวิตของคนในชุมชน   โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ความพออยู่พอกิน รายได้จากการประกอบอาชีพหลัก  คือการทำเกษตรกรรม การทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย  รายได้ไม่คงที่เป็นไปตามกลไกการตลาด  และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ   เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น (ค่าจ้างแรงงาน ค่ารถไถ ค่าปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช) ค่าครองชีพในชีวิตประจำวันสูงขึ้น  รายจ่ายกับรายได้ไม่สมดุลกัน  การรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพมีน้อย (ชุมชนเห็นว่ากระบวนการทำงานเป็น   กลุ่มยุ่งยาก หลายขั้นตอน ไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน) ชุมชนมีปัญหาด้านการกำจัดและบริหารการจัดการขยะ  การระบายน้ำทิ้งจากการบริโภค อุปโภคในครัวเรือน  ชุมชนมีการปลูกบ้านเรือนแออัด และยังส่งผลถึงปัญหาด้านสุขภาพ คนในชุมชนมีปัญหาสุขภาพ จากการรับประทานอาหารที่ไม่ปลอดภัยจากสารพิษ

             จากสภาพปัญหาเหล่านี้ ได้ร่วมกับชุมชนหาแนวทางในการแก้ไขปัญหารวมกันโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอาชีพ ตามแนวทาง “การส่งเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชน”ในระดับหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ ในแต่ละชุมชน ซึ่งจะทำให้เราทราบถึง สภาพทางกายภาพ จุดเด่น จุดด้อย สภาพปัญหาและความต้องการ ของคนในชุมชน

          2. ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน แกนนำกลุ่มองค์ชุมชน ทบทวนและปรับแผนชุมชนให้สอดคล้องกับแนวทางการสร้างสัมมาชีพภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          3. ชุมชนกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนายึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะปราชญ์สัมมาชีพและครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพต้องมีความสมัครใจ (ผ่านเวทีประชาคม)

          4.ครัวเรือนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การสร้างสัมมาชีพกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงาน ซึ่งต้องอาศัยปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ในชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก และอาชีพที่ครัวเรือนสนใจในการพัฒนาเป็นอาชีพเสริม

***ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมาชีพทุกครัวเรือนต้องจัดทำแผนชีวิตและบัญชีรับจ่ายครัวเรือน***

          5. ปราชญ์ชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ครัวเรือนเป้าหมายในการพัฒนาสัมมาชีพ=6,=o

          6. ครัวเรือนฝึกปฏิบัติและดำเนินกิจกรรม

          7. ติดตามแนะนำครัวเรือนในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

          8. จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพที่ประกอบกิจกรรมได้มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเอง

          9. สรุปประเมินผลการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.    เรียนรู้ข้อมูล เข้าใจปัญหา  กำหนดทิศทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยยึดมติจากเวทีประชาคม 
2.    ติดตามให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินงานแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.  สรุปผลการดำเนินงานเพื่อทราบปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาร่วมกัน
4.    ถอดองค์ความรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

อุปกรณ์ ->

การสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลักการ “พึ่งตนเอง” ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในการดำเนินกิจกรรมต้องเริ่มจากสิ่งที่ตนเองมีความรู้ มีทุน มีทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก มีความขยัน อดทน ค่อยๆทำไป เรียนรู้ ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจะประสบผลสำเร็จ  หากทำอะไรที่เกินตัว ทำตามคนอื่นโดยขาดความรู้  ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องยุบและเลิกกิจกรรมในที่สุด 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อเสนอแนะ

1.ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างปราชญ์สัมมาชีพ (หมู่บ้านละ ๕ คน) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการลงไปส่งเสริมสัมมาชีพในแต่ละหมู่บ้าน ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงงาน

2.คัดเลือกกิจกรรมสัมมาชีพที่ประสบผลสำเร็จสามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้นำมาต่อยอดพัฒนาเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ otop และเป็นกลุ่มต้นแบบได้  

3.จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลาดนัดสัมมาชีพ เพิ่มช่องการจำน่าย  เพื่อแสดงและจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์สัมมาชีพ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา