เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

กระบวนการสนับสนุนโครงการสัมมาชีพ

โดย : นายอลงกรณ์ แก้วโบราณ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-31-17:03:37

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยความร่วมมือ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ ให้สามารถดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพและสามารถสร้างเครือข่าย ในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสามารถการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นได้

วัตถุประสงค์ ->

ในการจัดเวทีประชาคม   มุ่งเน้นให้กลุ่มสัมมาชีพในชุมชนรวมทั้งภาคีการสนับสนุนทั้งกลุ่มองค์กรและภาครัฐได้มีการเรียนรู้และเข้าใจในการขับเคลื่อนสัมมาชีพ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีประชาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อกระบวนการดำเนินงาน ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องเสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างทั่วถึง และครอบคลุมกลุ่มครัวเรือนสัมมาชีพที่เป็นผู้มีส่วนได้รับผลประโยชน์อย่างครบถ้วน   จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการให้เกิดความพร้อมให้มากที่สุด โดยต้องมีการเตรียมการในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
  ๑. กำหนดเป้าหมายเชิงประจักษ์ ในการจัดเวทีประชาคมว่าต้องการประกอบอาชีพอะไร โดยการเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็น การร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหา การกำหนดแผนในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนร่วมกัน เป็นต้น
  ๒. กำหนดประเด็นที่จะขับเคลื่อนสัมมาชีพ โดยพิจารณากำหนดเป็นหัวข้อในการประชาคมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้มีความครอบคลุมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 
  ๓. กำหนดตัววิทยากรกระบวนการ(ปราชญ์ที่ไปอบรมโคราช)  และทีมงาน(ปราชญ์ ๔ คน) ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีรวมทั้งผู้ทำหน้าที่จดบันทึกและอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนสัมมาชีพ
  ๔. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเวทีประชาคม ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ครัวเรือนสัมมาชีพ ภาคีสนับสนุน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการในการประกอบอาชีพของชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.มีประเด็นที่เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นความต้องการร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งประเด็นดังกล่าวต้องที่ชัดเจน ครอบคลุม ง่ายต่อความเข้าใจ เป็นเรื่องที่มีการรับรู้ร่วมกันมาก่อนแล้วสำหรับผู้เข้าร่วมในกระบวนการประชาสังคมทุกคน

๒.มีวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมที่ชัดเจน ว่าจัดเพื่ออะไร จัดไปทำไม  และจะเอาผลที่ได้จากการ    ประชาสังคมนั้นไปทำอะไร ควรมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมอย่างตรงไปตรงมา

 ๓. มีกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการที่ดี ในการขับเคลื่อนประเด็นไปสู่วัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

๔.ผู้เข้าร่วมประชาคมมีการแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้อย่างกว้างขวาง อิสระ  ไม่ถูกครอบงำ และเป็นไปอย่างเท่าเทียม ผู้เข้าร่วมต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง

๕.มีผู้อำนวยการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือวิทยากรกระบวนการ(ปราชญ์สัมมาชีพ) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเวทีประชาคมที่มีทักษะและประสบการณ์  และเป็นกลาง ไม่ครอบงำ ไม่ชี้นำ หรือมีคำตอบอยู่ในใจ

๖.มีบรรยากาศที่ดี ซึ่งรวมถึงมีคำถามที่ดี ที่เปิดโอกาสให้คนได้เกิดการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา  มีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสมานฉันท์  มีสถานที่ที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการประชาคม

๗. มีระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เร็วหรือรวบรัดเกินไปจนทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกอึดอัด และไม่ช้าหรือนานเกินไปจนทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย

๘.ต้องมีข้อสรุปเกิดขึ้นทุกครั้งที่ทำเวทีประชาสังคม ว่า คนในกลุ่มคิดอย่างไรกับประเด็นนั้นๆ จะมีแนวทางขับเคลื่อนสัมมาชีพในอนาคตร่วมกันอย่างไร

๙. มีสื่อและอุปกรณ์การสื่อสารที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจประเด็น เนื้อหา ตรงกัน เช่น วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมและสาธิตสัมมาชีพ

๑๐. มีการประสานงานล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ที่จะมาร่วมเวทีมีเวลาเตรียมข้อมูล เตรียมความคิดที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี หากเนื้อหามีความซับซ้อนอาจจำเป็นต้องส่งข้อมูลให้ศึกษาล่วงหน้า

อุปกรณ์ ->

ควรมีการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจก่อนดำเนินการ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีประชาคม เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อกระบวนการขับเคลื่อนสัมมาชีพ และต้องดำเนินการอย่างมีระบบ  มีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องอาศัยเทคนิคองค์ความรู้และเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างทั่วถึง และครอบคลุมกลุ่มครัวเรือนสัมมาชีพที่เป็นผู้มีส่วนได้รับผลประโยชน์อย่างครบถ้วน จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการให้เกิดความพร้อมให้มากที่สุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา