เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวศรีนวล......วรินทร์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-17-22:51:05

ที่อยู่ : 128..หมู่ที่..3...ตำบล.ทุ่งโฮ้ง......อำเภอ..เมือง.............จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนถือว่าเป็นการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งการทำงานร่วมกับชุมชนเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถและความเสียสละทั้งในเรื่องของกำลังกายและกำลังใจ เพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนคือการที่ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนเป้าหมายที่มีขั้นตอนการฝึกอบรมสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งขั้นตอนหรือกระบวนต่างๆ ในการดำเนินงานสัมมาชีพก็คือการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนา ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนต้องได้รับการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนเช่น ทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เหล่าผู้นำชุมชน และทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการ ประสานงาน และทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขั้นตอนทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

6.2.1สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชนชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.2 สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยวิธีการดังนี้

1. ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

2. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

3. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

6.2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์การสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.4 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

3. แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5. ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนโดยการทำงานร่วมดังกล่าวกันต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลหลายฝ่ายในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการทำงานร่วมกับชุมชนที่มีความหลากหลาย ทั้งในด้านความคิด รายได้ ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีเทคนิคในการทำงานให้ประสบความสำเร็จดังนี้

          6.3.1สร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชน : ผู้นำชุมชนถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนคือการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดี เพื่อให้เกิดความไว้วางใจระหว่างพัฒนากรกับผู้นำชุมชนในการทำงานร่วมกัน ซึ่งการดำเนินงานสัมมาชีพให้ประสบผลสำเร็จจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนเป็นอันดับแรก วิธีการสร้างความคุ้นเคยของพัฒนากรก็มีหลายวิธีที่แตกต่างกันเช่น หมั่นเข้าไปพบปะผู้นำชุมชน การเข้าร่วมงานหรือพิธีการสำคัญของชุมชน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความเชื่อใจระหว่างกันละกัน ส่งผลให้มีความราบรื่นในการติดต่อประสานงาน และการขอความร่วมมือ

6.3.2ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน : การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนมีหลายขั้นตอนก่อนจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตั้งแต่การพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์สัมมาชีพชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน ซึ่งทุกขั้นตอนพัฒนากรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน เพื่อสามารถให้คำปรึกษาแก่ปราชญ์สัมมาชีพฯ หรือผู้นำชุมชนหากเกิดปัญหาในระหว่างการดำเนินงาน

6.3.3ให้ความเคารพและให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพชุมชน :  ปราชญ์สัมมาชีพฯ คือแกนนำหลักในการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ โดยปราชญ์สัมมาชีพฯ เป็นผู้ที่ประกอบสัมมาชีพมีความรู้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และมีความมั่นคงในอาชีพจนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน ซึ่งการให้ความเคารพและให้เกียรติต่อปราชญ์สัมมาชีพฯ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น

6.3.4สร้างแรงจูงใจการดำเนินงานสัมมาชีพให้แก่ผู้นำชุมชนและทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ  :แรงจูงใจถือเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เพราะถ้าผู้นำชุมชนและทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนขาดแรงจูงใจการดำเนินงานแล้ว ความสำเร็จหรือการพัฒนาพื้นที่ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยแรงจูงใจในที่นี้อาจไม่ใช่ค่าตอบแทนที่เป็นเงินเสมอไป ซึ่งแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ด้วยการนำเอาองค์ความรู้พื้นฐานและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คนในชุมชนมีอาชีพและเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นพัฒนากรจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อการดำเนินงานสัมมาชีพฯ เพื่อสามารถชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ เป้าหมายหรือผลที่ได้รับจากการดำเนินงานฯ นอกจากนี้พัฒนากรอาจจะต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้นำชุมชนและทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ ร่วมกันคิดถึงจุดแข็งที่มีอยู่ในพื้นที่ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ และจุดอ่อนที่ต้องรับการพัฒนา สิ่งดังกล่าวคือการสร้างแรงจูงใจต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นต่อเหล่าผู้นำในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาจะสามารถนำเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานสัมมาชีพฯ ไปสร้างความเข้าใจต่อครัวเรือนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ให้เกิดประโยชน์และประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

6.3.5 แสดงออกถึงความตั้งใจและความจริงใจ ในการร่วมกันทำงานระหว่าง ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือนเป้าหมาย :ในแต่ละพื้นที่ที่พัฒนากรรับผิดชอบนั้นพบว่าความแตกต่างทางด้านรายได้ของประชาชน ส่งผลให้เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงปัจจัยสี่สำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สังคมก้าวเข้าสู่การบริโภคนิยมที่ให้ความสำคัญต่อเงินสำหรับการใช้จ่าย นอกจากนี้การพัฒนาที่ผ่านมาก็ไม่ได้เน้นถึงความมั่งคงและยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาของสังคมจึงเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และมุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ฉะนั้นการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนจึงน่าจะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาด้านรายได้ให้กับประชาชน

ซึ่งพัฒนากรผู้รับผิดชอบพื้นที่นอกจากเป็นผู้ดำเนินงานสัมมาชีพฯ ตามระเบียบแล้ว ในจิตสำนึกของความเป็นคนไทยก็ต้องการให้ประเทศเกิดการพัฒนา ประชาชนมีความเลื่อมล้ำทางสังคมลดลง ด้วยเหตุนี้การดำเนินงานสัมมาชีพ จึงเป็นความตั้งใจและจริงใจในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือนเป้าหมาย โดยการให้คำปรึกษา ไม่ทิ้งให้เหล่าผู้นำและประชาชนดำเนินงานอย่างโดเดี่ยว ชี้แนะแหล่งงบประมาณที่จะต่อยอดกิจกรรม ตลอดจนหาทางแก้ไขอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ความตั้งใจและความจริงใจดังกล่าวจะมีผลต่อความไว้วางใจของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่

6.3.6 แนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้:มนุษย์ทุกคนเป็นคนที่พัฒนาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสที่พวกเขาจะได้รับและศักยภาพของตนเอง การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนถือเป็นการให้ประชาชนในพื้นที่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบความสำคัญในการประกอบอาชีพนั้นๆ โดยที่ผ่านมาผู้ที่ถือว่าเป็นปราชญ์ฯ อาจไม่พร้อมที่จะเป็นแกนนำหรือไม่มีเทคนิคในการเผยแพร่ความรู้ของตนเอง ดังนั้นแนวทางในการดำเนินงานสัมมาชีพจึงมีจัดการอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาปราชญ์ฯ ให้มีเทคนิคในการสื่อสารและจัดการองค์ความรู้ของตนเองอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของปราชญ์ฯ ให้มีประสิทธิภาพในการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ของตนเองเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้อื่นไปด้วยโดยเฉพาะทีมปราชญ์ฯ และครัวเรือนเป้าหมาย

6.3.7 มีความอดทนระหว่างการทำงาน : การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ถือเป็นงานที่ต้องทำร่วมกับคนหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์ฯ และครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งการทำงานร่วมคนหลายๆ คน ย่อมจะต้องมีความคิดที่หลากหลาย และแน่นอนว่าอาจจะเกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน นอกจากนี้ในช่วงการดำเนินงานสัมมาชีพของจังหวัดอยู่ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตร จึงผลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความล่าช้า ฉะนั้นพัฒนากรในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่จะต้องมีความอดทนอดกลั้นในการทำงาน มีความยืดหยุ่นและเข้าใจสภาพบริบท ความจำเป็น ของประชาชนในพื้นที่

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการเคารพความคิดเห็นของคนในชุมชนจากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ในตนเอง ฉะนั้นทุกคนจึงมีเหตุผลของตัวเอง

2. ความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย การทำงานหากไร้ซึ่งความอดทนแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และจะทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. การร่วมมือกันทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การดำเนินงานสัมมาชีพไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชาชนอำเภอหรือทีมปราชญ์เพียงคนๆ เดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประสานงานร่วมกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนนอกจากจะมีเคล็ดลับที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีข้อสังเกตบางประการที่สนับสนุนให้การดำเนินงานสัมมาชีพประสบความสำเร็จ ดังนี้

1. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ถือเป็นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวคือกระบวนการของการดำเนินงานดังกล่าว ประชาชนคือตัวแปรที่สำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยเฉพาะทีมปราชญ์ฯ 5 คน ที่จะต้องเป็นแกนนำหลักในการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมิใช่การกำหนดอาชีพจากภาครัฐและให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ปฎิบัติ แต่เป็นการคัดเลือกอาชีพที่มีความเหมาะสมกับชุมชน โดยให้คนในพื้นที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน

2. เป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพ คือการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนซึ่งการดำเนินงานด้งกล่าว มีเป้าหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริงจนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และสามารถต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งต่อไป การดำเนินงานดังกล่าวแตกต่างจากจากโครงการฝึกอบรมอาชีพที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อจบโครงการแล้วก็ไม่มีการต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มอาชีพที่ชัดเจน และในที่สุดการฝึกอบรมฯ ก็ไม่ได้ส่งผลที่เป็นประโยชน์ระยะยาวให้กับครัวเรือนและชุมชน

3. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในข้อนี้จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการดำเนินงานดังกล่าวล้วนมีแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดหลักต่อกระบวนการการดำเนินงาน ซึ่งคำว่าสัมมาชีพ หมายถึงอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมกล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก

4. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เป็นการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมแล้ว การพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ถือเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของการฝึกอาชีพจากทีมปราชญ์ฯ ซึ่งส่วนใหญ่การประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จของปราชญ์ ล้วนเป็นอาชีพที่เหมาะสมต่อพื้นที่เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งวัตถุดิบ ตลาดของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้เป็นการนำทรัพยากรในพื้นที่มาแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา