เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน

โดย : นางสาววติยา.......ฤาชา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-16:10:12

ที่อยู่ : 147/1... ถนน....ร่องซ้อ.... ตำบล.....ในเวียง..... อำเภอ....เมืองแพร่..... จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สัมมาชีพ เป็นคำที่ฟังแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก เป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมและมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง กล่าวคือ ทำแล้วตนเองมีความสุข

การสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์ การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน   ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เกิดจากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนที่มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมืองประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามสำเร็จได้       

วัตถุประสงค์ ->

การส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน เช่น ทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เหล่าผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ร่วมกับ 4 องค์กร (ศอช. ,กลุ่มสตรี ,ผู้นำ อช. ,กลุ่มออมทรัพย์) ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการ ประสานงาน และทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขั้นตอนทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

ก่อนการดำเนินงาน ด้วยการเตรียมคน พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

ระหว่างดำเนินการ

- สร้างความรู้ ความเข้าใจโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านได้ทราบ แล้วคัดเลือกปราชญ์ชุมชน มา 1 คน ที่เป็นผู้ประกอบสัมมาชีพประสบความสำเร็จ และมีความมั่นคงในอาชีพ พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน

-ส่งปราชญ์ชุมชน เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อจัดเวทีฝึกทักษะการสอน เทคนิคการนำเสนอให้กับปราชญ์ชุมชน เมื่อจบหลักสูตร ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”

- สนับสนุนให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชน กลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน และเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพหมู่บ้านละ 20 คน ซึ่งครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จะเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน       

- ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชุมชน ทบทวนและวางแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

- ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้สามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ถ้ากลุ่มอาชีพไหนที่มีความก้าวหน้าก็จะส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป     - จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

- เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ ด้วยการอธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการ ความสำคัญ และกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง ทำการทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

- แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

- กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

- ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

หลังดำเนินการ สรุปผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่ม ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานผ่านช่องทางๆ เช่น Facebook ,Line ,Website ,ทำสื่อวีดิทัศน์ ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานต่างๆ ให้ทุกระดับทราบต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- สร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนและกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในหมู่บ้าน

- ศึกษาการดำเนินงานแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน

- ให้ความเคารพและให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพ

- สร้างแรงจูงใจการดำเนินงานสัมมาชีพให้แก่ผู้นำชุมชนและทีมปราชญ์สัมมาชีพ

- แสดงออกถึงความตั้งใจและความจริงใจ

ซึ่งพัฒนากรผู้ประสานงานในพื้นที่ นอกจากเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนงานสัมมาชีพฯ ตามระเบียบแล้ว การดำเนินต่างๆ ต้องการให้ประเทศเกิดการพัฒนา ประชาชนมีความเลื่อมล้ำทางสังคมลดลง ด้วยเหตุนี้การดำเนินงานสัมมาชีพ จึงเป็นความตั้งใจและจริงใจในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือนเป้าหมาย โดยการให้คำปรึกษา ไม่ทิ้งให้เค้าดำเนินงานอย่างโดดเดี่ยว ชี้แนะแหล่งงบประมาณที่จะต่อยอดกิจกรรม ตลอดจนหาทางแก้ไขอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด เมื่อเราทำงานด้วยความตั้งใจ จริงใจ ใส่ใจแล้ว จะทำให้เกิดความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่

 

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานต้องให้เกียรติกัน และเคารพในการตัดสินใจขอทุกฝ่าย

2. ต้องมีความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย

3. การทำงานไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การทำงานต้องใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี

2. ต้องมีความชัดเจน และเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน  

3. ใช้หลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

4. ให้ความสำคัญ และติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา