เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้ยั่งยืน

โดย : นางวิมลพรรณ สมคิด ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-15:48:55

ที่อยู่ : 89 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำเนิดมาจากยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาอาชีพของครัวเรือน ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนคือการที่ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 และมีอาชีพและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้โดยเฉพาะครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านขั้นตอนการฝึกอบรมสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้    

วัตถุประสงค์ ->

ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน ดำเนินการ ๕ วัน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย

                    ๑. ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่กรมฯ จัดส่งให้อย่างละเอียด

                    ๒. นำแผนปฏิบัติการที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามโครงการ

                    ๓. เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ

                   ๔. ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านแล้วเสร็จ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน 5 วัน ดังนี้

 

 

 

 

 

 

                             ๑) วันที่ ๑ - ๓ ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน)

                              ๒) วันที่ ๔ ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือบ้านปราชญ์ชุมชน  หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

                             ๓) วันที่ ๕ ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และมีการสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

                    ๕. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด โดยให้กลุ่มนำผลิตภัณฑ์ร่วมจำหน่ายในกิจกรรมของอำเภอ เช่น ตลาดนัดไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ การประชุมประจำเดือนของหัวหน้าส่วนราชการอำเภอและกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

         ๖. จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดการพัฒนาและอื่นๆ

         ๗. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 สร้างความเข้าใจกับทีมงานปราชญ์ของหมู่บ้านเป้าหมาย และผู้นำหมู่บ้าน ในวัตถุประสงค์ของโครงการตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน คือ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น หมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอย่างน้อย 1 อาชีพ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดการพัฒนาสู่ OTOP หรือการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อต่อยอดการดำเนินงาน หรือบรรจุลงในแผนชุมชนของหมู่บ้านเพื่อเป็นเป้าหมายในการทำงานต่อไป

2 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจ  สามารถที่จะให้คำแนะนำ และร่วมปรึกษาหารือการทำงานร่วมกับปราชญ์ แก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ให้ความสำคัญกับปราชญ์ และสร้างความคุ้นเคยร่วมกันทั้งกับปราชญ์และสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ให้กำลังใจ และให้ความสำคัญกับการทำงานทุกขั้นตอน

3 ให้ความเคารพและให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพชุมชน :  ปราชญ์สัมมาชีพฯ คือแกนนำหลักในการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ โดยปราชญ์สัมมาชีพฯ เป็นผู้ที่ประกอบสัมมาชีพมีความรู้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และมีความมั่นคงในอาชีพจนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน ซึ่งการให้ความเคารพและให้เกียรติต่อปราชญ์สัมมาชีพฯ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น

.4 มีความอดทนระหว่างการทำงาน  : การทำงานร่วมกับคน โดยเฉพาะมีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันทั้งการศึกษา เพศ และวัย ย่อมเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกัน เจ้าหน้าที่ต้องใช้ความอดทนและสร้างกำลังใจให้กับตนเองในการทำงานร่วมกับคนหมู่มาก

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการเคารพความคิดเห็นของคนในชุมชน จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ในตนเอง ฉะนั้นทุกคนจึงมีเหตุผลของตัวเอง

2. ความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย การทำงานหากไร้ซึ่งความอดทนแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และจะทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

          3. การร่วมมือกันทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การดำเนินงานสัมมาชีพไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนหรือทีมปราชญ์เพียงคนๆ เดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประสานงานร่วม

          4. พัฒนากรจะต้องมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ และเข้าใจความต้องการของประชาชนเป็นอย่างดี แล้วทำให้ความต้องการของทั้งสองฝ่ายเกิดความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน มิฉะนั้นแล้วอาจเป็นผลเสียหายได้ในทางปฏิบัติ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา