เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวนภาพรรณ สายน้ำเย็น ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-15:42:04

ที่อยู่ : 52 หมู่ที่ 7 ตำบล แม่หล่าย อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำเนิดมาจากยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาอาชีพของครัวเรือน ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนคือการที่ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 และมีอาชีพและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้โดยเฉพาะครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านขั้นตอนการฝึกอบรมสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุประสงค์ ->

        6.2.1 คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท สำหรับอำเภอสอง จำนวน 28 หมู่บ้าน

                   6.2.2 คัดเลือกผู้นำปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านที่มีทักษะความรู้ ความสามารถด้านต่าง ๆ หมู่บ้านละ 5 คน โดยคัดเลือกแกนนำเข้ารับการฝึกอบรมการถ่ายทอดความรู้ เทคนิค การเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง ในระหว่างวันที่  9-12  มกราคม  2560

        6.2.3 หลังการฝึกอบรมแกนนำผู้นำสัมมาชีพ จะนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมนำเทคนิควิธีการถ่ายทอดแก่ปราชญ์ที่เหลืออีก 4 คน รวมแกนนำปราชญ์ เป็น 5 คน ดำเนินการดังนี้

                             1). คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่พร้อมจะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบการฝึกอาชีพร่วมกันอาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือ 2 อาชีพ จำนวน 20 คน โดยมอบหมายภารกิจหน้าที่ของปราชญ์แต่ละคน (ข้อสำคัญการคัดเลือกปราชญ์จะต้องมีความรู้ความสามารถในอาชีพที่เป้าหมาย 20 คน ต้องการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ได้โดยสะดวก โดยปราชญ์อีก 4 คน สามารถเพิ่มเติมองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับสมาชิกได้) เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ ปราชญ์ 1 คน จะดูแล ติดตามสมาชิก จำนวน 4 คน

/2...

 

 

                 2. ทีมปราชญ์จะต้องมีการประชุม ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” อย่างต่อเนื่อง

          6.2.4 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ

จากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

       6.2.5 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่

ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการ

ฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

3. แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

ระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5. ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ

ก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

6.3.1 สร้างความเข้าใจกับทีมงานปราชญ์ของหมู่บ้านเป้าหมาย และผู้นำหมู่บ้าน ในวัตถุประสงค์ของโครงการตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน คือ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น หมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอย่างน้อย 1 อาชีพ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดการพัฒนาสู่ OTOP หรือการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อต่อยอดการดำเนินงาน หรือบรรจุลงในแผนชุมชนของหมู่บ้านเพื่อเป็นเป้าหมายในการทำงานต่อไป

6.3.2 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนให้เข้าใจ  สามารถที่จะให้คำแนะนำ และร่วมปรึกษาหารือการทำงานร่วมกับปราชญ์ แก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ให้ความสำคัญกับปราชญ์ และสร้างความคุ้นเคยร่วมกันทั้งกับปราชญ์และสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ให้กำลังใจ และให้ความสำคัญกับการทำงานทุกขั้นตอน

6.3.3 ให้ความเคารพและให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพชุมชน :  ปราชญ์สัมมาชีพฯ คือแกนนำหลักในการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ โดยปราชญ์สัมมาชีพฯ เป็นผู้ที่ประกอบสัมมาชีพมีความรู้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และมีความมั่นคงในอาชีพจนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน ซึ่งการให้ความเคารพและให้เกียรติต่อปราชญ์สัมมาชีพฯ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น

6.3.4 มีความอดทนระหว่างการทำงาน  : การทำงานร่วมกับคน โดยเฉพาะมีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกันทั้งการศึกษา เพศ และวัย ย่อมเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกัน เจ้าหน้าที่ต้องใช้ความอดทนและสร้างกำลังใจให้กับตนเองในการทำงานร่วมกับคนหมู่มาก

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการเคารพความคิดเห็นของคนในชุมชน จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ในตนเอง ฉะนั้นทุกคนจึงมีเหตุผลของตัวเอง

2. ความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย การทำงานหากไร้ซึ่งความอดทนแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และจะทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. การร่วมมือกันทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การดำเนินงานสัมมาชีพไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนหรือทีมปราชญ์เพียงคนๆ เดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประสานงานร่วมกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา