เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : มาลี ชัยธิ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-15:24:37

ที่อยู่ : 145/2 หมู่ที่ 4 ตำบล พระหลวง อำเภอ สูงเม่น จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนได้

          2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพมีความมุ่งมั่นตั้งใจ

          3. งบประมาณในการสนับสนุนส่งเสริมสัมมาชีพ

          4. องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน

          5. ความร่วมมือจากหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

          6. หน่วยงานภาคีและพัฒนากรเป็นพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ต้องได้รับการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนเช่น ทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เหล่าผู้นำชุมชน และทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการ ประสานงาน และทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขั้นตอนทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

6.2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4.  ผลลัพธ์ของโครงการ

6.2.2 สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยวิธีการดังนี้

1. ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่าน

การอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง ในระหว่างวันที่  9-12  มกราคม  2560

2. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ใน

การส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

3. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ

ติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

6.2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ

จากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.4 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่

ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการ

ฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

3. แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

ระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5. ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ

ก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการเคารพความคิดเห็นของคนในชุมชน จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ในตนเอง ฉะนั้นทุกคนจึงมีเหตุผลของตัวเอง

2. ความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย การทำงานหากไร้ซึ่งความอดทนแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และจะทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. การร่วมมือกันทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การดำเนินงานสัมมาชีพไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชาชนอำเภอหรือทีมปราชญ์เพียงคนๆ เดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประสานงานร่วมกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา