เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายเทวินทร์ แก้วอินัง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-15:21:39

ที่อยู่ : ๕ หมู่ที่ ๒ ตำบล ตำหนักธรรม อำเภอ หนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน เป็นการประสานงานร่วมกับประชาชน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนคือคนในหมู่บ้านได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนที่อยากเรียนรู้ในอาชีพนั้นๆ การที่ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นได้โดยเฉพาะครัวเรือนเป้าหมายที่มีขั้นตอนการฝึกอบรมสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งขั้นตอนหรือกระบวนงานต่างๆ ในการดำเนินงานสัมมาชีพก็คือการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนา มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยประชาชน

วัตถุประสงค์ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ซึ่งจะต้องมีการร่วมมือ ประสานงาน และทำงานจากหลายภาคส่วนได้แก่ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน  เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

6.2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.2 สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดย

                               1. การถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชน

          2. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านอีก ๔ คน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่

ในการส่งเสริม สนับสนุน  ๑ คนทำหน้าที่ดูแล ๔ คน

 

6.2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ

                                    จากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

 

 

 

                                                              

 

6.2.4 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่

ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ดูแลอีก 4 คน

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการ

ฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกับชุมชน โดยการทำงานร่วมดังกล่าวกันต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลหลายฝ่ายในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการทำงานร่วมกับชุมชนที่มีความหลากหลาย ทั้งในด้านความคิด รายได้ ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีเทคนิคในการทำงานให้ประสบความสำเร็จดังนี้

          6.3.1 การพบปะ พูดคุย เยี่ยมเยือน

6.3.2 ทำความเข้าใจในการดำเนินงาน ให้คำปรึกษาแก่ปราชญ์สัมมาชีพฯ

6.3.3 ให้ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน  ได้ถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในหมู่บ้าน

6.3.4 สร้างขวัญกำลังใจการดำเนินงานสัมมาชีพให้แก่ผู้นำชุมชนและทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ  

6.3.5 ร่วมประสานการทำงานระหว่าง ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือนเป้าหมาย 

         โดยการให้คำปรึกษาแหล่งงบประมาณที่จะต่อยอดกิจกรรม  

6.3.6 จากแนวความคิดว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้ จึงให้โอกาสทุกคนได้ศักยภาพของ   

         ตนเอง การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนถือเป็นการให้ประชาชนในพื้นที่ได้พัฒนาศักยภาพของ

         ตนเอง

6.3.7 ใช้แนวทางประชาธิปไตยในการทำงาน  : การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ถือเป็นงานที่ต้องทำ      

         ร่วมกับคนหลายคน ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์ฯ และครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งการทำงาน 

         ร่วมคนหลายๆ คน ย่อมจะต้องมีความคิดที่หลากหลาย

อุปกรณ์ ->

การทำงานร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกันควรใช้เสียงข้างมาก ตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนนอกจากจะมีเคล็ดลับที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีข้อสังเกตบางประการที่สนับสนุนให้การดำเนินงานสัมมาชีพประสบความสำเร็จ ดังนี้

1. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ถือเป็นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวคือกระบวนการของการดำเนินงานดังกล่าว ประชาชนคือตัวแปรที่สำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเฉพาะทีมปราชญ์ฯ 5 คน ที่จะต้องเป็นแกนนำหลักในการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมิใช่การกำหนดอาชีพจากภาครัฐและให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ปฎิบัติ แต่เป็นการคัดเลือกอาชีพที่มีความเหมาะสมกับชุมชน โดยให้คนในพื้นที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน

2. เป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพ คือการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนซึ่งการดำเนินงานด้งกล่าว มีเป้าหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริงจนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และสามารถต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งต่อไป การดำเนินงานดังกล่าวแตกต่างจากจากโครงการฝึกอบรมอาชีพที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อจบโครงการแล้วก็ไม่มีการต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มอาชีพที่ชัดเจน และในที่สุดการฝึกอบรมฯ ก็ไม่ได้ส่งผลที่เป็นประโยชน์ระยะยาวให้กับครัวเรือนและชุมชน

 

 

 

3. การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในข้อนี้จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการดำเนินงานดังกล่าวล้วนมีแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดหลักต่อกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งคำว่าสัมมาชีพ หมายถึงอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมกล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก

4. งานสัมมาชีพชุมชน เป็นการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานภูมิรู้วิชาชีพของปราชญ์ ในเรื่องของการฝึกอาชีพจากทีมปราชญ์ฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จของปราชญ์  ถือเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา