เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสุปัญญา....วิรัตน์เกษ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-01-15:56:59

ที่อยู่ : 29..........หมู่.....10........ซอย.......-........ถนน........-........ตำบล......วังชิ้น....... อำเภอ.........วังชิ้น........................จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    ในปัจจุบันนี้  สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในหมู่บ้าน มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิตและยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่

มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมี

ส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้แต่

ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญ   และประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

             การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยยกระดับรายได้ เป็นการทำงานร่วมกับชุมชน ในฐานะเป็นพัฒนากร ที่จะช่วยในการสร้างสัมมาชีพชุมชน  เพื่อก่อให้เกิดการประกอบอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีความอดทน ความเสียสละ ต้องทำงานร่วมกับชาวบ้าน เพื่อให้การทำงานประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป้าหมายของการทำสัมมาชีพชุมชนคือการให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมีอาชีพเสริมมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

วัตถุประสงค์ ->

      1.  มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ให้ความรู้และอธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในเรื่องที่เกี่ยวกับ

        - ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

        - ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน    

                                                -2 -

        - กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

        - ผลลัพธ์ของโครงการ

     2. การสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะมีวิธีการดังนี้

        - การถ่ายทอดความรู้ เทคนิคของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ

โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง ในระหว่างวันที่  9 – 12 มกราคม  2560

               - การจัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียนกว่า ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อครัวเรือนสัมมาชีพ 4 ครัวเรือน

               - มีการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

           3. การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังนี้

               - จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ จากแบบความต้องการอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้ โดยจัดกลุ่มตามความต้องการอาชีพ จึงวิเคราะห์เชื่อมกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

               - จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

 4. เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังนี้

               1) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

                    - ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                    - ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                    - กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

               2) ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความ

สนใจหรือต้องการฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

              3)กำหนดและแจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกัน

ระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

              4) กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

             5) ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุ

สนับสนุนการฝึกอาชีพก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เพื่อสามารถให้คำปรึกษาแก่ปราชญ์สัมมาชีพฯ หรือผู้นำชุมชนหากเกิดปัญหาในระหว่างการดำเนินงานสร้างปฏิสัมพันธ์อันดี เพื่อให้พัฒนากรกับผู้นำชุมชนมีความเข้าใจกัน และสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

        2. การให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพชุมชน โดยสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับปราชญ์ และให้ปราชญ์สามารถสร้างความเข้าใจต่อครัวเรือนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ให้เกิดประโยชน์และประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

 

 

                                                          - 3 -

        3.การที่มีความตั้งใจและมีความจริงใจ ในการร่วมกันทำงานระหว่าง ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือน โดยการให้คำปรึกษา เอาใจใส่ทุกขั้นตอน  ตลอดจนหาทางแก้ไขอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน และชี้แนะในเรื่องการหาทุนที่จะมาดำเนินการต่อไป เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นยกระดับครัวเรือนได้     

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา