เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวนภัทร นามสกุล แสนดำรง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-26-20:39:22

ที่อยู่ : ๒๓/๑ หมู่ที่ ๑๑ ตำบล ป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งการทำงานร่วมกับชุมชนเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถและความเสียสละทั้งในเรื่องของกำลังกายและกำลังใจ เพื่อให้การทำงานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนคือการที่ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 และมีอาชีพและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้โดยเฉพาะครัวเรือนเป้าหมายที่มีขั้นตอนการฝึกอบรมสนับสนุนและพัฒนาความรู้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งขั้นตอนหรือกระบวนต่างๆ ในการดำเนินงานสัมมาชีพก็คือการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนา ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ต้องได้รับการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนเช่น ทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เหล่าผู้นำชุมชน และทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการ ประสานงาน และทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขั้นตอนทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

6.2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4.  ผลลัพธ์ของโครงการ

6.2.2 สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยวิธีการดังนี้

1. ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่าน

การอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง ในระหว่างวันที่  9-12  มกราคม  2560

 

 

2. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ใน

การส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

3. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ

ติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

6.2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ

จากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.4 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่

ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการ

ฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

3. แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

ระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5. ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ

ก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

6.3.1 สร้างปฏิสัมพันธ์อันดี เพื่อให้เกิดความไว้วางใจระหว่างพัฒนากรกับผู้นำชุมชนในการทำงานร่วมกัน

6.3.2 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เพื่อสามารถให้คำปรึกษาแก่ปราชญ์สัมมาชีพฯ หรือผู้นำชุมชนหากเกิดปัญหาในระหว่างการดำเนินงาน

6.3.3 ให้ความเคารพและให้เกียรติปราชญ์สัมมาชีพชุมชน โดยสร้างแรงจูงใจต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับปราชญ์ และให้ปราชญ์สร้างความเข้าใจต่อครัวเรือนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ให้เกิดประโยชน์และประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

 

6.3.5 แสดงออกถึงความตั้งใจและความจริงใจ ในการร่วมกันทำงานระหว่าง ผู้นำชุมชน ทีมปราชญ์สัมมาชีพฯ และครัวเรือน โดยการให้คำปรึกษา ไม่ทิ้งให้เหล่าผู้นำและประชาชนดำเนินงานอย่างโดเดี่ยว ชี้แนะแหล่งงบประมาณที่จะต่อยอดกิจกรรม ตลอดจนหาทางแก้ไขอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา