เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวพรผกา นามสกุล โภคาริยกุล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-21:15:37

ที่อยู่ : 225 หมู่ที่ 5 ตำบล ห้วยไร่ อำเภอ เด่นชัย จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนมีโอกาสได้ได้ฝึกอาชีพ  จากปราชญ์ชุมชนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน  เพื่อนำไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน  และพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP  นั้น

                    พัฒนากรในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย  ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกรมฯ  จึงจำเป็นต้องมีการรวบรวม และจดบันทึกองค์ความรู้ด้านเทคนิควิธีการ  ที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ปราชญ์ชุมชนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ตนเองมีให้กับครัวเรือนสัมมาชีพเป้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน  สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง

วัตถุประสงค์ ->

1) ดำเนินกิจกรรมตามโครงการยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน  ครบทุกกิจกรรม  และประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง มาร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์

โดยขั้นตอนทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

6.2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพชุมชน ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4.  ผลลัพธ์ของโครงการ

6.2.2 สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยวิธีการดังนี้

1. ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ โดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่าน

การอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง ในระหว่างวันที่  9-12  มกราคม  2560

 

2. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ใน

การส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดย 1 หมู่บ้านให้แบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คน ต่อ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

3. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพและส่งเสริม สนับสนุน กำกับและ

ติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

6.2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพ

จากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด,สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบOTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (จังหวัด) จำกัด

2.จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม พื้นที่ดูงาน วัสดุ/อุปกรณ์ การสร้างสัมมาชีพชุมชน

6.2.4 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่

ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน อธิบายความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับ

1. ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2. ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

3. กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2. ทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ว่ายังคงมีความสนใจหรือต้องการ

ฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ ซึ่งกรณีที่ไม่ต้องการฝึกอาชีพให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านหาครัวเรือนอื่นทดแทน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพให้เปลี่ยนอาชีพตามคำแนะนำของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้

3. แจ้งวันฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

ระดับหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

5. ประสานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ

ก่อนเริ่มการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน (จำนวน 5 วัน)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคการทำงาน

          6.3.1 สร้างความเข้าใจกับปราชญ์ชุมชน : สิ่งสำคัญอันดับแรก ต้องสร้างความเข้าใจกับปราชญ์ชุมชน  ให้รับทราบ เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ  สร้างแรงจูงใจให้ปราชญ์มีความศรัทธาในกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน  เพื่อจะได้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ และนำไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP ได้

6.3.2 ถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดีให้กับปราชญ์ : ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกมาร่วมกิจกรรมนั้น แน่นอนว่ามีองค์ความรู้ด้านการประกอบอาชีพที่ตนเองถนัด  แต่อย่างไรก้อตามปราชญ์ส่วนใหญ่มักไม่มีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ง่าย จึงมีความจำเป็นต้องสอนทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้บรรลุได้ 

อุปกรณ์ ->

1. การทำงานร่วมกับชุมชนต้องมีการเคารพความคิดเห็นของคนในชุมชน จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่ในตนเอง ฉะนั้นทุกคนจึงมีเหตุผลของตัวเอง

2. ความอดทนต่อความคิดเห็นที่หลากหลาย การทำงานหากไร้ซึ่งความอดทนแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และจะทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. การร่วมมือกันทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การดำเนินงานสัมมาชีพไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชาชนอำเภอหรือทีมปราชญ์เพียงคนๆ เดียว แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประสานงานร่วมกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา