เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

โดย : นางฤทัย พันธุ์ชัย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-05-10:22:08

ที่อยู่ : 91 ม.3 ต.ซับน้อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เคยได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมทำปุ๋ย  และได้นำมาใช้ในการทำการเกษตรและเห็นผลจริง อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิต

วัตถุประสงค์ ->

 เตรียมพื้นที่เรียบอยู่ในที่ร่ม แล้วนำมูลไก่ตากแห้ง มูลวัวตากแห้ง แกลบดิน ซึ่งเป็นสารอาหาร ทำให้ได้ซิลิก้าและดินร่วนซุย นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำน้ำจุลินทรีย์ กับกากน้ำตาลโมลาสมาผสมน้ำให้เข้ากัน แล้วนำมาราดบนกองปุ๋ยที่ผสมเอาไว้ เพื่อเป็นหัวเชื้อให้มูลต่างๆ ย่อยง่าย และช่วยดับกลิ่นมูล ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น อย่าใส่มากเพราะจะทำให้ปุ๋ยแฉะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน 
      ตรวจสอบความชื้นให้ประมาณ 50 % วิธีตรวจสอบง่ายๆ คือ ใช้มือกำปุ๋ยที่คลุกผสม ได้ที่แล้ว กำแล้วน้ำต้องไม่ไหลออกจากอุ้งมือ เมื่อแบมือออกปุ๋ยจะเป็นก้อนเล็กน้อย 
      เทรำละเอียดลงบนกองปุ๋ย ทำการผสมให้เข้ากันแล้วเกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง 1 เมตร คลุมด้วยกระสอบป่านแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน      การหมักปุ๋ยทำให้เกิดอุณหภูมิสูง ต้องกลับปุ๋ยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิโดยการใช้ปรอทเป็นตัววัด ทำการวัดที่กองปุ๋ย โดยไม่ให้อุณหภูมิเกิน 70 องศา ถ้าหากอุณหภูมิเกิน 70 องศา จะทำให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยตาย แล้วปุ๋ยก็จะใช้ไม่ได้ ทำการกลับปุ๋ยตลอด 7 วัน ความร้อนจะค่อยๆ ลดลง แล้วจึงนำไปใช้ได้      ใช้เครื่องบดอาหารกุ้งหรืออาหารปลา ทำการใส่ปุ๋ยผสมกับดินลงในกะบะ ตัวเครื่องจะหมุนไปเรื่อยๆ แล้วทำการขยำปุ๋ยให้ร่วน ใส่ลงเครื่องบด หมั่นเติมน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ ดินมีความเหนียวมาก ปุ๋ยอัดเม็ดจะนิ่มเกินไปไม่เป็นก้อน 
      ใช้คราด เกลี่ยกองปุ๋ยให้แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วทำการตักใส่ผ้ารอง นำไปตากแดดแล้วบรรจุใส่ถุง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มกันในชุมชนการบริหารจัดการที่ดีทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถดำเนินการต่อได้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา