เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำไม้กวาดทางมะพร้าว

โดย : นางสำอางค์ ศรีสวัสดิ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-04-10:13:16

ที่อยู่ : 20 ม.14 ต.พุเตย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งของบ้านวัดเก้าชั่ง หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหม้อประดิษฐ์ขึ้นมา และสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาถึงถูกหลาน จากก้านมะพร้าวเพียง ๑ ก้าน สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ ต้นมะพร้าวเป็นต้นไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างนอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เนื้อมะพร้าวมารับประทาน ทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ หรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้ว กะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บ เปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้ เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อน ยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้ว ใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าว ก็สามารถนำมาทำไม้กวาดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่างๆ

วัตถุประสงค์ ->

นำก้านมะพร้าวมาเหลาใบออกผึ่งแดดไว้ 2 วัน (ขาย 15 บาท/กก.)

เลื่อยบริเวณข้อไม้ไผ่ดังรูป ให้ได้ความยาว 120 ซม. 

เหลาด้ามไม้ไผ่ให่สะอาด เหมาะกับการจับ

ไม้เดือย เจอะรูสำหรับสอดใส่เดือย

สอดไม้เดือยตอกตะปู ตัดลวดเพื่อใช้มัดไม้เดือย 

เจาะรูเล็กหรือเลื่อยริมเดือยเพื่อที่จะมัดลวดพันกับไม้เดือย

เตรียมเชือกขนาดยาวประมาณ 1 เมตร ฉัก ¾ ของเส้น ให้มีเส้นที่เล็กลง

แยกก้านมะพร้าว สั้น – ยาว ออกจากกัน

ใช้ก้านสั่นเก็บไว้ด้านใน ยาววางไว้ด้านนอกมัดรวมกันด้วยลวด ไม้กวาด 1 ด้าม ใช้แปดมัดเล็ก

ถักเรียงกัน มัดด้วยเชือกถักมาประกอบกับด้ามไม้ไผ่ ที่เตรียมไว้มัดด้วยลวดตอกตะปูให้แน่นกันเลือนขึ้น – ลง ของไม้กวาด

ตอกตะปูยืด มัดด้วยลวด ทาน้ำยายึดเพื่อความแน่นหนาของไม้กวาด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา