เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำปุ่ยหมักชีวภาพ

โดย : นางถนิมพร สุ่ยวงษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-23-17:52:35

ที่อยู่ : 118 ม.5 ต.ชาติตระการ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เศษวัชพืช เป็นการลดต้นทุนการผลิตและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ->

  1. นำเศษอาหาร ผักผลไม้ ที่มีในครัวเรือนทั้งเปลือก ใบ ผล และเมล็ด ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้กากน้ำตาลซึ่งค่อนข้างข้นควรกวนให้เข้ากัน
  2. บรรจุใส่ถุงตาข่ายหรือถุงปุ๋ย วางลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้เรียบร้อย
  3. ประมาณ 10 วัน จะได้น้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา ให้เติมน้ำลงไป 5 เท่าของปริมาตรน้ำจุลินทรีย์ที่ได้ กดให้จมน้ำ หากลอยขึ้นมาจะทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ เกิดกลิ่นเหม็นได้
  4. สามารถเติมขยะสดเพิ่มลงไปได้ทุกวัน น้ำที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ส่วนกากสามารถนำไปตากให้แห้ง โรยเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไปได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

อุปกรณ์ ->

ควรหาฝาปิดถังพลาสติกให้มิดชิด เพื่อป้องกันแมลง

ปุ่ยหมักชีวภาพควรใช้กับต้นไม้ในปริมาณที่พอดี ถ้าใช้มากเกินไป ต้นไม้อาจตายได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. หากผสมสมุนไพร เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี หรือพริกขี้หนู โดยใส่ผงสมุนไพร 2 – 5 ช้อนโต๊ะลงไปในส่วนผสมของขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่แรก จะสามารถใช้เป็นสารไล่แมลงได้ด้วย
  2. สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในการบำบัดน้ำเสียและกำจัดคราบไขมันอุดตันในท่อ โดยใช้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 เทใส่ในท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดไขมัน บ่อน้ำเสีย ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วจึงราดน้ำตาม
  3. ไม่ควรเก็บปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ในที่ที่โดนแดด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20 – 30 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6 เดือน
  4. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีธาตุอาหารค่อนข้างน้อย แต่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงโครงสร้างและคุณภาพดิน ดังนั้นจึงอาจใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปริมาณเล็กน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงต้นไม้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา