เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกข้าวโพด

โดย : นางสาวนิศารัตน์ จันทะคุณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-23-17:49:57

ที่อยู่ : ๑๐๕ หมู่ที่ 1๖ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ทำอาชีพการเกษตรมาโดยตลอด โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ให้กับครอบครัว สามารถส่งบุตรหลานเรียนหนังสือและมีเงินออม

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกข้าวโพดโดยวิธีการไม่เผาและเหลื่อมด้วยปลูกพืชตระกูลถั่ว มีประโยชน์คือ

- เพิ่มปริมาณธาตุอาหาร และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- เพิ่มการสงวนน้ำไว้ในดิน ลดการพังทลายของดิน
- เพิ่มผลผลิต และรายได้ให้กับเกษตรกรในระยะยาว
- ลดปัญหาหมอกควันไฟ จากการเผาเศษซากพืช

ขั้นตอนการปลูก

1) การเตรียมดิน ทำการถางหญ้าและคลาดเศษวัชพืชมาไว้ตามแนวระดับความลาดชัน

2) วิธีการปลูก ปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม หรือช่วงต้นฤดูฝนปลูกเป็นแถวเป็นแนวขวางแนวลาดชัน ใช้ระยะปลูก 75 x25 ซม. 1 ต้นต่อหลุม หรือ ใช้ระยะปลูก 75 x50 ซม.2 ต้นต่อหลุม

3) การจัดการกำจัดวัชพืชเมื่อต้นข้าวโพดอายุ 25 – 30 วัน และใส่ปุ๋ยตามสภาพดิน

4) การปลูกถั่วเหลื่อมข้าวโพด ปลูกถั่วระหว่างแถวข้าวโพด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพด 30 วัน

5) การเก็บเกี่ยวข้าวโพด เก็บเมื่อฝักข้าวโพดแก่จัด หรือแห้งหมดทั้งแปลง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวโพด

    แล้วเสร็จให้ล้มต้นข้าวโพดลงไปในทิศทางเดียวกันระหว่างร่องแถวถั่ว เพื่อเป็นวัสดุคลุมดิน

6) การเก็บเกี่ยวถั่ว เก็บเกี่ยวฝักถั่ว โดยทิ้งเศษซากต้นไว้เพื่อเป็นวัสดุคลุมดิน โดยไม่เผาทำลาย

    ซากของถั่ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เลือกพันธุ์ข้าวโพดที่มีคุณภาพดี

2. การรู้จักรักษาหน้าดินโดยการปลูกพืชคลุมดิน 

3. การปลูกถั่วเหลื่อมข้าวโพด ทำให้มีรายได้ 2 ทางและเป็นการรักษาหน้าดิน

อุปกรณ์ ->

การเก็บเกี่ยวข้าวโพด เก็บเมื่อฝักข้าวโพดแก่จัด หรือแห้งหมดทั้งแปลง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วเสร็จให้ล้มต้นข้าวโพดลงไปในทิศทางเดียวกันระหว่างร่องแถวถั่ว เพื่อเป็นวัสดุคลุมดิน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกถั่วเหลื่อมข้าวโพด ปลูกถั่วระหว่างแถวข้าวโพด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพด 30 วัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา