เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานหวด ไซ ค่องจับปลา

โดย : นางสาวสิรินทรา มาปัด ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-05-09:07:55

ที่อยู่ : 47 หมู่ที่ 10 ตำบล บ้านดง อำเภอ ชาติตระการ จังหวัด พิษณุโลก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เรียนรู้การจักสานไม้ไผ่ เช่นหวด ไซ ค่องจับปลา จากบิดา มารดา โดยเริ่มต้นจักสานลาย  ง่าย ๆ ก่อน เช่นหวดนึ่งข้าว และจึงทดลองจักสาน ไซ ค่องจับปลา ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม และ จักสานไม้ไผ่ เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน และลดรายจ่ายได้เนื่องจากไม่ต้องเสียเงินซื้อ

วัตถุประสงค์ ->

    1) กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/  ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

                   1.1 คัดเลือกไม้ไผ่ที่มีอายุระหว่าง 1 - 1 ปี 5 เดือน หากไม้ไผ่มีอายุอ่อนเกินไปเนื้อไม้จะบาง ฉีกตอกยาก และเมื่อนำมาสานจะได้หวดที่ไม่มีคุณภาพ ชำรุดง่าย และหากแก่เกินไปเนื้อไม้จะแข็ง เมื่อนำมาฉีกตอกจะทำให้ตอกเปราะ หักง่าย สานยาก
                   1.2 นำไม้ไผ่ไปลนไฟพอหมาด ไม่ให้ไม้ไผ่สุกเกินไป เพราะถ้าสุกเกินไปเนื้อไม้จะหดตัว และแข็ง ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ แต่ถ้าหากไม่ลนไฟเนื้อไม้จะไม่เหนียว เมื่อนำมาใช้งานจะทำให้ฉีกตอกยาก เมื่อลนไฟได้ที่แล้วให้นำท่อนไม้ไผ่ที่ได้ไปเก็บไว้ในที่แห้ง ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งท่อนไม้ไผ่ที่ลนไฟแล้วสามารถเก็บไว้ใช้งานได้นานประมาณ 3 - 4 เดือน
                   1.3 การฉีกตอก นำซีกไม้ที่ได้จากการเหลาและสับบริเวณส่วนหัวแล้วมาฉีกตามแนวของเส้นไยไม้ ไผ่ ให้เป็นเส้นบาง ๆ ตามรอยสับ และเหมาะสมที่จะสามารถนำมาสานเป็นหวดได้ ซึ่งการฉีกตอกนี้จะมี สองลักษณะ คือ การฉีกตอกแบบแคง (แนวตรง) เป็นการฉีกเนื้อไม้ไผ่ให้เป็นเส้นบาง ๆ เวียนไปตามแนวรอบวงกลมของลำต้น เมื่อนำมาสวนหวดจะเรียกว่า หวดลายแคง และการฉีกตอกแบบเป (แนวขวาง) เป็นการฉีกเนื้อไม้ไผ่ให้เป็นเส้นบาง ๆ ตามแนวขวาง โดยฉีกเนื้อไม้ไผ่จากเนื้อไม้ด้านในส่วนที่ติดกับเยื่อไม้ไผ่ออกไปด้านนอกจน ถึงเปลือกไม้ ซึ่งจะได้เส้นตอกปริมาณเยอะกว่าการฉีกแบบแคง เมื่อนำมาสานหวดจะเรียกว่า หวดลายเป หรือหวดขาว
                   1.4 เมื่อฉีกตอกเสร็จแล้วนำเส้นตอกที่ได้มาผึ่งแดดให้แห้งสนิท เพื่อให้เส้นตอกมีเนื้อแน่นและเหนียว และสำคัญที่สุดคือป้องกันเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน เมื่อผึ่งแดดจนแห้งสนิทแล้วก็ให้เก็บเส้นตอกในที่แห้งสะอาดและอากาศถ่ายเท ได้ดี เมื่อจะนำเส้นตอกที่เก็บไว้มาใช้งาน ให้นำเส้นตอกไปแช่น้ำ จนเส้นตอกมีความนุ่มและเหนียวก่อน จึงจะนำมาสานหวดได้

                   1.5 การก่อตัวหวด นำเส้นตอกที่ผ่านกระบวนการผึ่งแดดและแช่น้ำจนได้ที่แล้วมาสานหวดโดยเริ่มต้น จากการสานส่วนที่เป็นก้นหวดก่อน วางเส้นตอกในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างละ 13 ขัด ซึ่งความยาวหรือสั้นของเส้นตอกขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สาน การสานจะนับเป็นบี (การนับช่วงลายตอกในระหว่างการสานที่มีการยกตอกขึ้น 3 เส้นและสานทับเส้นตอก 3 เส้น) ในแต่ละบีจะมีเส้นตอกอยู่สามเส้น
                   1.6 การไป่หวด เมื่อสานส่วนของก้นหวดได้ตามขนาดแล้วก็ทำการหักมุมเป็น 2 มุม จากนั้นก็ทำ การไป่หวด การไป่ หมายถึง การสานเปลี่ยนลายจากลายของส่วนก้นหวดเป็นลายตัวหวด ซึ่งการไป่นี้จะเป็นช่วงของการกำหนดขนาดของหวดให้ได้ขนาดตามต้องการด้วยการ ยกตอก 3 เส้นขึ้น แล้วคว่ำตอก 3 เส้นลง แต่จะไม่เป็นวิธีการที่ตายตัวนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและทักษะผู้สานว่าจะสานไปในแนวเดียวกันหรือไม่
                   1.7 การใส่ลายตัวหวด การใส่ลายตัวหวดเป็นขั้นตอนการสานตัวหวดต่อจาการไป่หวด ซึ่งการใส่ลายตัวหวดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือขนาดของหวด ส่วนมากนิยมใช้เส้นตอก จำนวน 10 เส้น จะได้หวดที่มีขนาดพอดี ซึ่งในขั้นตอนนี้ขณะที่กำลังสานหวดควรจะพรมน้ำเป็นระยะเพื่อให้เส้นตอกมี ความอ่อนตัว นุ่ม สานง่าย ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์หวดไม้ไผ่ที่มีความแน่นแข็งแรงและคงทน
                   1.8 การใส่ไพกาวหวด เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากสานตัวหวดจนได้ขนาดและความสูงของหวดตามที่ต้องการ และความเหมาะสมแล้ว โดยขึ้นอยู่กับความถนัดและทักษะของผู้สานแต่ละคนว่าจะใส่ไพกาวในลักษณะแบบใด ซึ่งลักษณะของเส้นตอกที่นำมาสานไพกาวมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ กลม ๆ โดยผู้สานจะจักตอกให้มีลักษณะกลมเรียบเนียนเส้นเล็ก ๆ หวด 1 ใบ จะใช้ตอกชนิดนี้ประมาณ 6 เส้น ขนาดเท่า ๆ กันนำมาสานแบบยก 3 คว่ำ 3 ไปเรื่อย ๆ จนรอบตัวหวด เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นตอกที่สานตัวหวดหลุดออกจากกันได้ง่ายเพิ่มความแข็ง แรงให้กับผลิตภัณฑ์หวดไม้ไผ่และเพื่อความสวยงาม
                   1.9 การม้วนหวด เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานหวด โดยตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งก่อนแล้วจึงม้วนเก็บส่วนของเส้นตอกที่ยังคง เหลือจากการสานตัวหวดให้เกิดความเรียบร้อยและสวยงามของหวด จะทำในลักษณะการแบ่งกึ่งกลางของตัวหวดออกเป็นสองข้างตามลายสาน โดยรวบตอกแต่ข้างรวมกันแล้วบิดให้แน่น จากนั้นจึงทำการม้วนหรือเก็บตอกให้ดูเรียบร้อยสวยงามและปลอดภัยจากเสี้ยนไม้ หรือความคมของปลายตอกในระหว่างการใช้งานของผู้บริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

3.1 ต้องพัฒนารูปแบบและฝีมือให้ดีขึ้นเสมอ

3.2 กำหนดราคาจำหน่ายให้เหมาะสม

 

อุปกรณ์ ->

คัดเลือกไม้ไผ่ที่มีอายุระหว่าง 1 - 1 ปี 5 เดือน หากไม้ไผ่มีอายุอ่อนเกินไปเนื้อไม้จะบาง ฉีกตอกยาก และเมื่อนำมาสานจะได้หวดที่ไม่มีคุณภาพ ชำรุดง่าย และหากแก่เกินไปเนื้อไม้จะแข็ง เมื่อนำมาฉีกตอกจะทำให้ตอกเปราะ หักง่าย สานยาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ใช้วัตถุดิบที่มีในหมู่บ้านและครัวเรือนเพื่อลดต้นทุน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา