เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทำข้าวเกรียบผักเหลียง

โดย : นางสาวสุวรรณา มะหะหมาด ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-10-05-15:22:31

ที่อยู่ : 50/8 บ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ผักเหลียง เป็นชื่อเรียกผักชนิดหนึ่งที่พบมากแถบภาคใต้ตอนบน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Gentaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetumgnemon Limm เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร มีใบเรียวยาว

          ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ แม้อาจจะได้รับความนิยมไม่มากเท่าสะตอ แต่เป็นผักที่กำลังมาแรง เพราะมีรสมันอร่อย ไม่มีรสขมเหมือนผักใบเขียวชนิดอื่นๆ นิยมนำมารับประทานเป็นผักสดเคียงกับน้ำพริก ขนมจีน แกงไตปลาทั้งนำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ผัดไฟแดง ผัดกับกะปิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ รองห่อหมก และที่นิยมกันมาก คือนำมาผัดกับไข่ ซึ่งเป็นเมนูที่รับประทานได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ชอบกินผัก แต่กินผักเหลียงผัดไข่ได้เพราะ ผักเหลียงมีรสชาติมัน ไม่ขม ไม่มีกลิ่น เมื่อนำมาผัดกับไข่แล้วอาจทำให้เด็กกินผักได้มากขึ้น

          ผักเหลียงคือผักใบเขียวชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปผักก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอยู่แล้ว เพราะนอกจากจะมีใยอาหาร ยังมีวิตามินกับแร่ธาตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป ล้วนแล้วเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผักใบเขียวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารกลุ่มนี้ช่วยในการดูแลสุขภาพตา และการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ขณะที่ไข่ก็มีประโยชน์ เพราะมีโปรตีนที่ดี รวมเข้ากับวิตามินที่ดีของผักเหลียง และไขมันที่ดีของน้ำมันที่เอามาผัด

          ทั้งนี้ น้ำมันสามารถละลายวิตามินที่มีในผักเหลียงให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ และน้ำมันก็ช่วยในการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดได้ ผักเหลียงผัดไข่จึงเป็นอาหารเมนูหนึ่งที่มีประโยชน์และเป็นอาหารที่แนะนำให้เด็กหรือผู้สูงอายุบริโภค เพราะมีประโยชน์ เพียงแต่ต้องระวังเรื่องน้ำมันที่ใช้ผัด ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณภาพ และอย่าใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
          ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณป่าในหมู่บ้านโดยชาวบ้านนำยอดอ่อนมาปรุงอาหารได้หลายชนิด ต่อมาชาวบ้านนำมาขยายพันธุ์ปลูกเพื่อเป็นพืชผักสวนครัวจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลป่ากอ กลุ่มสตรีบ้านพรุดีดจึงคิดแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์คุณสุวรรณา มะหะหมาด อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 50/8 หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เธอเป็นชาวพังงาคนหนึ่งที่สืบทอดกิจการของครอบครัว จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นคุณบุญจง ทองอ่อน นั่นก็คือ การทำข้าวเกรียบกุ้ง โดยดำเนินกิจการเพียงคนเดียว ตั้งแต่เตรียมวัตถุดิบถึงการจำหน่าย แต่ต่อมาเมื่อมีสำนักงานพัฒนาชุมชนไปให้การสนับสนุนจึงได้รวมกลุ่มกับชาวบ้าน ก่อตั้งเป็นกลุ่มสัมมาชีพชุมชนการทำข้าวเกรียบผักเหลียง

วัตถุประสงค์ ->

1. แป้งมันสำปะลัง
2. ผักเหลียง 

3. น้ำมันพืช

4.พริกไทย

5.เกลือป่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความสามัคคีของคนในกลุ่ม
2. ทักษะ
 

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพังงา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา