เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงปลาหมอเทศในบ่อซีเมนส์

โดย : นายจันทร์ เครือมูล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-12-10:34:40

ที่อยู่ : 40 หมู่ 13 ต.บ้านเหล่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน และเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

ปลาหมอ หรือ ปลาเข่ง ชื่อเรียกทางภาคอีสาน นับเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ปลาหมอตีตลาดขึ้นมา เกิดจาก ศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร วิจัยและพัฒนา ฮือฮากันในเรื่องของการเจริญเติบโต เกิดเป็น ปลาหมอไทยสายพันธุ์ชุมพร1

กระแสความแรงของ การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว คนเลี้ยงยังน้อย ราคาดี ตลาดมีความต้องการสูง แต่ในปีนี้ดูท่าคนเลี้ยงและฟาร์มเพาะพันธุ์ลูกปลาจะฝืดเคืองไปบ้าง

 

คุณยูทัศน์มั่นใจในคุณภาพ ปลาหมอลูกผสม

ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าสถานการณ์จะฝืด จากอดีตไปบ้าง หน้าที่หลักของฟาร์มเพาะที่ทีมงานได้เข้าไปเยี่ยมชมไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอไทยให้ก้าวไกลไปอีกขั้น กับผลงานชิ้นโบว์แดงของฟาร์ม “ ขอนแก่นฟาร์มปลา  ฝีมือ คุณอนุชา หรือ คุณนุ และ คุณรุจะพร ดอนกันหา หรือ คุณกุ้ง กลับขึ้นมาตีตลาดอีกครั้ง เพราะเป็นสาพันธุ์ ลูกผสมจากต่างประเทศ โดดเด่น ในเรื่องความแข็งแรง โตดี กินอาหารเก่ง รูปทรงสวย ไม่เฉพาะเรื่องของลูกพันธุ์ การประยุกต์ เลี้ยงปลาหมอในบ่อปูน สำเร็จอีกขั้น เพราะของดี มาเจอการจัดการที่ลงตัว แน่นอนว่า การเลี้ยงจะได้รับความนิยม การบริโภค จะแผ่วงกว้าง ไม่เฉพาะเลี้ยงในบ่อดิน ทางภาคอีสาน แล้วขึ้นรถ ไปขายให้คนกรุงรับประทาน

คู่ชีวิต คู่นี้ สะสมประสบการณ์จากการเข้าไปเป็นลูกจ้างให้กับฟาร์มเอกชนแห่งหนึ่ง และเมื่อช่องทางการตลาดเปิดโอกาสให้ คนกล้า ได้ลงมือทำ คุณนุไม่รีรอที่จะออกมาฉวยโอกาสทอง เปิดฟาร์มเพาะพันธุ์เองในชื่อ “ ขอนแก่นฟาร์มปลา  ผลิตลูกพันธุ์ปลาหมอไทย เป็นสินค้าหลัก และลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศที่รับลูกตุ้มจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น มาแปลงเพศและอนุบาลเองภายในฟาร์ม เพื่อให้เป็นตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ

ความอุดมสมบูรณ์จากเขื่อนอุบลรัตน์เป็นแหล่งน้ำตั้งต้นในการใช้เพาะพันธุ์ปลาที่ฟาร์มและชุบชีวิตคนขอนแก่นให้มีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี

ปลาหมอไทยสายพันธุ์ต่างประเทศ

ปลาหมอไทย คนในวงการหรือพรรคพวกกันสายพันธุ์ที่ไหนดี ที่ไหนเจ๋ง จะรู้จักกัน เช่นเดียวกับคุณนุที่มีพรรคพวกเพาะพันธุ์ปลาหมออยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดดเด่นในเรื่องความทนทาน อัตรารอดสูง ผสมร่วมกับสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศเวียดนาม ที่ลำตัวจะมีขนาดใหญ่ แน่นอนของหุ่นลูกครึ่ง ที่ได้ในรุ่นลูกก็จะเป็นลักษณะ ลำตัวใหญ่ โตดี และทนต่อสภาพแวดล้อม

สายพันธุ์จากทั้งสองที่ คุณนุจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงให้มีความเจริญพันธุ์ ใช้ระยะเวลา 1 ปี และมีอายุการใช้งาน 2 ปี จึงปลดระหว่างออกไป ที่ต้องทำเช่นนั้นก็เพราะต้องการให้ความสมบูรณ์ที่จะตกทอดสู่รุ่นลูกคงคุณภาพและมาตรฐานที่สุด

การผสมพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์จะเกิดขึ้นหลังจากอากาศหนาวผ่านพ้นไป จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่ออากาศหนาวพัดผ่านเข้ามา คือ ช่วงเดือน ก.พ.-ต.ค. ของทุกปี

ทำไมถึงไม่เพาะพันธุ์นอกฤดูกาล

เป็นเพราะอากาศหนาวเย็น การเพาะพันธุ์ปลาจะเกิดขึ้นยาก ลูกพันธุ์ที่ได้จะไม่มีความแข็งแรง เสมือนเป็นการเอาเปรียบลูกค้า จึงไม่นิยมเพาะพันธุ์ปลานอกฤดูกาล ถือเป็นช่วงพักบ่อ พักผ่อนของฟาร์มไปในตัว

การผสมพันธุ์ปลาหมอไทยโดยการฉีดฮอร์โมนกระตุ้น ถือเป็นวิธีการที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาที่สะดวกและง่ายที่สุด ปลาที่จะนำมาฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจะต้องเป็นปลาที่มีไข่แก่และมีน้ำเชื้อดีแล้ว เมื่อฉีดฮอร์โมนให้แก่พ่อแม่พันธุ์เรียบร้อยแล้วจะปล่อยปลาลงบ่อเพาะ หลังจากนั้นประมาณ 8-10 ชั่วโมง ปลาจะเกิดการผสมพันธุ์วางไข่กันเอง

ฮอร์โมนสังเคราะห์หรือที่เรียกว่า ซูพรีแฟค ในหนึ่งขวดจะบรรจุฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ซีซี. มีตัวยาฮอร์โมนอยู่ 10 มิลลิกรัม ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำกลั่นก่อน ใช้ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์หรือที่เรียกว่า โมทิเลียม เพื่อช่วยให้ฮอร์โมนที่ฉีดเข้าไปมีประสิทธิภาพดี อัตราการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับปลาหมอไทยจะใช้ในอัตรา 10-20 ไมโครกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม

 

เทียบขนาด ปลาหมอกับลานิล

การฉีดฮอร์โมน ก่อนทำการฉีดจะต้องชั่งน้ำหนักปลา แล้วหาค่าเฉลี่ย ปริมาณการฉีดตัวละ 0.1 ซีซี. บริเวณใต้ครีบหลังเหนือเส้นข้างตัว

เทคนิคการแปลงเพศปลาหมอ เมื่อทำการฉีดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์ผสมกันเอง ไข่ปลาหมอจะเป็นไข่ลอย คุณนุกล่าวว่า การแปลงเพศปลาเพื่อให้ผลงานออกมาดี เราจะช้อนไข่ปลาหมอ แล้วนำมาแช่ในฮอร์โมน17 Beta Estradiol.ในกะละมังก่อน 3 วัน การแช่ฮอร์โมนอาจเป็นต้นทุนเพิ่ม แต่ถือเป็นเทคนิคหนึ่ง ที่ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การแปลงเพศเป็นปลาหมอเพศเมีย ค่อนข้างสูงและเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในหลายๆครั้งที่สุ่มตรวจคุณภาพในเรื่องนี้ หลังจากนั้นจะทยอยย้ายลูกปลาลงอนุบาลในบ่อดิน โดยการให้กินอาหารฮอร์โมนความเข้มข้น 40-60 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ประมาณ 21 วัน จะได้ลูกปลาหมอพร้อมจำหน่าย และมีเปอร์เซ็นต์การแปลงเพศ ไม่ต่ำกว่า 90 % อัตรารอดประมาณ 3-4 แสนตัว/ไร่

ข้อดีของการเลี้ยงปลาหมอแปลงเพศ คือ ปลาหมอแปลงเพศเมียโตเร็ว ปลาตัวใหญ่ ได้น้ำหนักดี และยิ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ความหนาส่วนของสันจะเยอะ ลำตัวกว้าง เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก

ขอนแก่นฟาร์มปลา หลังจากที่พัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศขึ้นมา ตลาดให้การต้อนรับดี เป็นที่ต้องการของตลาด มีกำลังการผลิตออกจำหน่ายเดือนละ 1-2 ล้านตัว โดยเฉพาะในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีการเลี้ยงค่อนข้างเยอะและกำลังขยายตลาดมายังภาคกลางที่กำลังได้รับกระแสนิยมในการเลี้ยงปลาหมอในบ่อปูน

ผลงานยืนยันคุณภาพปลาหมอลูกผสม ฝีมือขอนแก่นฟาร์มปลา

ทีมงานได้รับข้อมูลจาก คุณยูทัศน์ ภูผันผิ่น หรือ คุณยู เจ้าของบ่อเลี้ยงปลาหมอกว่า 50 ไร่ ใน กาฬสินธุ์ คุณยูกล่าวว่า ตนเองเริ่มต้นเลี้ยงปลาหมอมาพร้อมๆกับขอนแก่นฟาร์มปลา ตอนแรกๆที่ตนเริ่มเลี้ยง ตลาดเยอะ คนเลี้ยงน้อย ทำให้ราคาและกำไรที่ได้จากการเลี้ยงค่อนข้างสูง แต่ในปีนี้ตลาดเท่าเดิม คนเลี้ยงมากขึ้น แต่ตนก็ยังคงเลี้ยง และรับลูกปลาจากฟาร์มขายเพราะยังมีตลาดจากภาคกลาง ที่จะรับปลาไซส์ 3-4 ตัว/กิโลกรัม มารับผลผลิตไปได้ตลอด ส่วนปลาไซส์เล็ก 5-6 ตัว/กิโลกรัม จะเป็นตลาดในพื้นที่

การเตรียมบ่อก่อนลงลูกปลา สำคัญมาก คือ การกำจัดศัตรูปลา และไม่ปล่อยให้สัตว์น้ำอื่นๆ เกิดขึ้นในบ่อ ปล่อยน้ำเข้าบ่อตอนเย็น ตอนเช้าต้องลงลูกปลาทันที

บ่อเลี้ยงขนาด 2 งาน ปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในระดับน้ำ 1.50 -2 เมตร ปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงไม่เกิน 3 หมื่นตัว/บ่อ ถ้าเกินจากนี้มากไป ปลาจะแตกไซส์ เวลาพ่อค้ามารับซื้อจะรับไปครั้งละไม่เยอะ ต้องทยอยขาย จึงไม่นิยมเลี้ยงปลาหมอในบ่อใหญ่

อาหารที่ใช้ เริ่มแรกหลังจากปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้ว คุณยูจะให้อาหารดีไลน์ โปรตีน 35 % ของบริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ใช้เลี้ยง 1 เดือน แล้วเปลี่ยนมาให้อาหาร ปลาดุก โปรตีน 32 % อีก 1 เดือน เข้าเดือนที่ 3 เปลี่ยนมาให้อาหารปลาดุก โปรตีน 30 % ของบริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด โดยให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ในปริมาณที่ปลากินอิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ปลากินกันเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเอาใจใส่และตั้งใจดูแลหาความรู้ใหม่มาปรับใช้และพัฒนาต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

ควรระวังเรื่องความสะอาดของน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรส่งเสริมด้านการตลาด

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา