เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกผักไฮโดรโพนิค

โดย : นายสุ่ม คำมี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-10-10:21:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 3 บ้านสันดอนแก้ว หมุ่ 8 ต.เจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อต้องการมีผักที่สะอาดปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน ต่อมาเมื่อทำแล้วได้ผลดีก็มีการแบ่งปันไปรอบข้างและทำมากขึ้นนำไปสู่การจำหน่ายและเผยแพร่ความรู้ในที่สุด

วัตถุประสงค์ ->

1.    การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก 

ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์  และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน

2.      พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก  เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ 

2.1  เคลือบดินเหนียว  เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก  ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย  จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว  เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น  เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว  แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน

2.2    ไม่เคลือบ  คือเมล็ดพันธุ์ปกติ

 

3.    การเพาะต้นกล้า 

นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย  กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย  รดน้ำทุกวัน  ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก  และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ

4.      การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร 

4.1  ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร  และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี  หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร 

4.2  นำต้นกล้าที่แข็งแรง  อายุประมาณ 2 สัปดาห์  ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก  และเดินเครื่องปั๊มน้ำ

5.      การดูแลประจำวัน

5.1    รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร

5.2  ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8  โดยเครื่อง EC meter  ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ  และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย  กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง

5.3  ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8  โดยเครื่อง pH meter  หรือ pH Drop  test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก  หรือกรดไนตริก (pH down)  และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด

6.      การเก็บเกี่ยว  เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน

 

คู่มือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ของ H2O ไฮโดรการ์เด้น

วิธีเพาะกล้าผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ผสม vermiculite 1 ส่วน กับ perlit 6 ส่วน ในกล่องผสม เขย่าให้เข้ากัน
  2. สวมผ้ากันฝุ่น แล้วจึงเปิดฝากล่องผสม แล้วใช้ถ้วยตวง 1 ลิตร ตักวัสดุปลูกลงในถ้วยปลูก ให้ได้ความสูง 2/3ของถ้วยปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  3. เขย่าถาดปลูกให้วัสดุปลูกแน่น และเติม หรือตักออก จนได้ระดับทุกถ้วย
  4. หยอดเมล็ดผักลงตรงกลางถ้วยปลูก จนครบทุกถ้วย
  5. เขย่าถาดปลูก โดยสังเกตให้เมล็ดผักส่วนใหญ่จมลงแค่ผิววัสดุปลูก
  6. ตรวจดู และใช้ปลายไม้แหลมกดบางเมล็ดที่ยังลอยอยู่ ให้จมลงในระดับแค่ผิวของวัสดุปลูก
  7. ยกถาดไปวางบริเวณที่วางถาดปลูก ใต้รางอนุบาล เวลายกต้องใช้ความระมัดระวัง อย่าให้เกิดการกระแทก  จะทำให้เมล็ดเปลี่ยนตำแหน่งได้
  8. ใช้หัวฉีดหมอกฉีดน้ำให้เป็นละอองฝอย ตกลงบนถ้วยปลูกจนชุ่ม โดยสังเกตหยดน้ำที่เกิดขึ้นบริเวณของถ้วย ว่ามีจำนวนมากพอ

วิธีดูแลกล้าผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ระยะ 3-5 วันแรกให้สังเกตหยดน้ำที่เกิดขึ้นจากการพ่นหมอกที่แปลงอนุบาล เช้า-เย็น ถ้าหยดน้ำบริเวณของถ้วยมีจำนวนเพียงพอ ไม่ต้องใช้สายยางฉีดอีก ถ้าสังเกตเห็นว่า มีบางบริเวณไม่มีน้ำหยด หรือหยดน้ำน้อย จึงใช้สายยางฉีดน้ำเสริม ควรสังเกตหยดน้ำหลังการพ่นหมอกใหม่ๆ
  2. ประมาณวันที่ 5 ผักไฮโดรโปนิกส์ของเราจะมีใบเลี้ยง 2 ใบ และใช้อาหารในเมล็ดหมดแล้ว ให้หยอดปุ๋ย โดยใช้น้ำปุ๋ยจากถังอนุบาล 1 ส่วนผสมกับน้ำ 1 ส่วนแล้วหยอดทีละถ้วย ระวังอย่าให้โดนใบผัก ให้หยอดปุ๋ยวันละครั้ง ตอนเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
  3. ต้นกล้าสามารถย้ายขึ้นรางอนุบาล 1 ได้ตั้งแต่ 7 วัน- 14 วัน เมื่อรางว่าง

 

วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์แปลงอนุบาล 1

  1. เมื่อย้ายผักไฮโดรโปนิกส์จากที่วางถาดมาอยู่บนอนุบาล 1 ให้ตรวจดูว่ามีน้ำปุ๋ยไหลทุกราง โดยดูที่สายยางทางเข้าหรือดูที่น้ำไหลในรางโดยตรง ถ้าพบว่าไม่มีน้ำ หรือน้ำน้อยกว่าปกติต้องรีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ต้องโทรปรึกษาทันที เพราะปล่อยทิ้งไว้ผักจะตายได้
  2. ผักจะอยู่บนแปลงอนุบาล 1 นี้  14 วัน ผักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มประมาณ 5 ซม.จึงย้ายไปแปลงอนุบาล 2

วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์แปลงอนุบาล 2

  1. ดูแลแปลงเหมือนแปลงอนุบาล 1
  2. ผักไฮโดรโปนิกส์จะอยู่บนแปลงอนุบาล 2 นี้ 14 วัน ผักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มประมาณ 10 ซม จึงย้ายไปแปลงปลูก
  3. คอยสังเกตและกำจัดแมลงต่างๆบนแปลงอนุบาล 1 & 2 เช่น มด เพี้ย ด้วยการฆ่าหรือจับออก หรือฉีดไล่ด้วยสารชีวภาพ ตามที่กำหนดให้ ถ้าเห็นมีมากผิดปกติหรือพืชเป็นโรค ต้องรายงานทันที
  4. แปลงอนุบาล 1&2 ควรล้างทุกรอบการปลูก 14 วัน ส่วนการเปลี่ยนน้ำปุ๋ย ควรเปลี่ยนทุกรอบการปลูก 14 วัน ดังนั้นการล้างในครั้งที่ไม่เปลี่ยนน้ำต้องปิดปั๊ม และถอดท่อระบายน้ำกลับถังออกทุกครั้งด้วย เพื่อไม่ให้น้ำจากการล้างเข้าถังปุ๋ย เมื่อล้างเสร็จจึงต่อกลับก่อนเดินปั๊ม

วิธีดูแลผักไฮโดรโปนิกส์บนแปลงปลูก

  1. ควรย้ายผักที่ชอบแดดไว้รางบน ซึ่งได้แก่ RO,GO,และ RB  ตามลำดับ ส่วนผักควรอยู่แปลงล่างคือ BH, GC (ส่วน COS, RC และผักอื่นๆ สามารถอยู่ได้ทั้งรางล่างและรางบน)
  2. ข้อควรระวังในการย้ายผักไฮโดรโปนิกส์ไปที่ท่อปลูก Ø  ɸ3”และ  Ø ɸ4” ต้องให้รากมีจำนวนมาก และยาวกว่า 3 ซม. จึงย้ายได้ เพราะรากจะได้ถึงน้ำ ส่วนรางที่เป็นแบบรางแบน จะมีราก หรือไม่มีก็ย้ายได้ ดังนั้นจึงควรเลือกต้นที่รากไม่สมบูรณ์ไปอยู่ที่รางแบน
  3. ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าทุกรางมีน้ำไหลปริมาณมากพอ กล่าวคือ สายยางทั้งสองสาย มีน้ำไหลเต็มที่และมีอัตราการไหลรวมมากกว่า 1.5 ลิตรต่อนาที สำหรับรางล่าง และมากกว่า 2 ลิตรต่อนาที สำหรับรางบน
  4. คอยสังเกต และกำจัดแมลงต่างๆ เช่น มด เพี้ย ด้วยการฆ่าหรือจับออก หรือฉีดไล่ด้วยสารชีวภาพตามที่กำหนดให้ ถ้าเห็นผิดปกติหรือพืชเป็นโรคต้องโทรรายงานทันที
  5. ผักจะอยู่บนแปลงปลูกนี้ 7 วัน ต้นที่สมบูรณ์จะมีน้ำหนักเกินกว่า 100 กรัม (10 ต้น / กิโล) ให้เริ่มขายได้ และถ้าอยู่บนแปลงนี้ 14วัน ต้นที่สมบูรณ์ จะมีน้ำหนักถึง 200 กรัม ( 5 ต้น / กิโล) ดังนั้นควรเก็บขายในช่วงนี้เพื่อให้ได้น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้น 143 กรัม (7 ต้น / กิโล)
  6. ควรเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ขาย 2 ครั้งให้หมดทั้งแถว เพื่อสามารถล้างรางปลูกได้เป็นแถวๆ ไป วิธีนี้จะสะดวกในการทำงาน และสามารถปิดการพ่นน้ำ ตากรางได้ (ตอนตากรางให้คว่ำรางแต่ไม่ต้องถอดสายน้ำเข้าออก) ถ้าไม่สามารถล้างทั้งแถวได้ต้องถอดสายน้ำเข้าเป็นรางๆไป แล้วล้างรางที่ไม่มีต้นไม้ก่อน วิธีนี้เมื่อล้างเสร็จต้องคว่ำรางกันน้ำเข้าไปขัง และเกิดตะไคร้น้ำ และเป็นการตากรางให้แห้งฆ่าเชื้อโรคด้วย
  7. การล้างควรทำทุกการปลูก 1 รอบ (15 วัน) พร้อมกับการเปลี่ยนน้ำปุ๋ยด้วย (สำหรับรางสีฟ้าอาจจะเปลี่ยนทุก 2 รอบก็ได้ เพราะมีจำนวนน้ำปุ๋ยในระบบมากกว่า)

วิธีควบคุมปุ๋ย C และปุ๋ย A&B แปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH

  • ต้องการควบคุมค่า pH ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส?ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 6.0 โดยใช้เครื่องวัดค่า pH (สีแดง) วัดแล้วเติมปุ๋ย C อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง เช้า (6.00 น) กลางวัน (13.00 น) และเย็น (20.00 น)

                         pH                                   เติมปุ๋ย C (cc)

                         8.0                                           600

                         7.5                                           450

                         7.0                                           300

                         6.5                                           150

                         6.0                                               0

หมายเหตุ  เนื่องจากไม่มีผู้ดูแลตอนกลางวัน ตอนที่เติมปุ๋ย C ตอนเช้าจะเติมปุ๋ย C ไว้ในถุงน้ำเกลือให้ค่อยๆ หยดตลอดวัน โดยจะใส่ปุ๋ย C เท่ากับจำนวนปุ๋ย C ที่เติมตอนช่วงเย็น แล้วเติมน้ำให้เต็มถุงน้ำเกลือ แล้วตั้งให้หยด 10 หยดต่อนาที   (น้ำเกลือจะหมดถุงใน 8 ชั่วโมง) ดังนั้นต้องจดไว้ว่าตอนเย็นเติมไว้ที่กี่ cc

ค่า EC

  • ต้องการควบคุมค่า EC ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่  1.7 โดยใช้เครื่องวัด EC (สีฟ้า) วัดแล้วเติมปุ๋ยA&B อย่างน้อยวันละ   2 ครั้งเช้า (6.00 น) และเย็น (20.00 น)ดังนี้

                            EC                              เติม A&B (cc)

                           1.3                                       600

                           1.4                                       450

                           1.5                                       300

                           1.6                                       150

                           1.7                                           0

  • ก่อนเติมปุ๋ย C และ A&B ควรตรวจระดับน้ำในถังล่างของแปลงปลูกว่าอยู่ที่ระดับ 1/2 – 2/3 ถัง โดยทำดังนี้ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า 1/2ถังให้เติมน้ำให้ได้ 1/2 ถัง, ถ้าระดับน้ำสูงกว่า 2/3ถัง ให้ตักน้ำออกไปรดน้ำต้นไม้ก่อน ให้น้ำมาอยู่ที่ระดับ 2/3ถัง, แล้วจึงเติมปุ๋ย C และ A&B
  • ปล่อยให้ระบบเดินไปประมาณ 30 นาทีแล้วจึงวัด และเติมอีกครั้ง จนได้ค่าที่ต้องการ
  • ถ้าระดับน้ำลดลงผิดสังเกต ควรตรวจดูรอยรั่วและแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
  • ถ้าระดับน้ำเพิ่มขึ้นผิดสังเกต ควรหาสาเหตุ อาจจะเป็นระบบพ่นหมอกทำงานผิดปกติ ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที
  • การเติมปุ๋ย C ให้เติมกระจาย ครึ่งหนึ่งที่ถังล่างของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และอีกครึ่งหนึ่งที่ถังบน เพื่อให้ pH ไม่ลดลงอย่างมากในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผัก
  • การเติมปุ๋ย A&B ให้เติมปุ๋ย A ที่ถังบน และเติมปุ๋ย B ที่ถังล่างของแปลงปลูก เพื่อไม่ให้ปุ๋ย A&B ที่เข้มข้นทำปฏิกิริยากันตกตะกอน

วิธีควบคุมปุ๋ย C และปุ๋ย A&B แปลงอนุบาลผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH

1. ต้องการควบคุมค่า pH ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 6.0 โดยใช้เครื่องวัด pH (สีแดง) วัดแล้วเติมปุ๋ย Cอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง  เช้า (6.00 น) กลางวัน (13.00 น) และเย็น (20.00 น)

                      ค่า pH                                เติมปุ๋ย C (cc)

                        8.0                                           120

                        7.5                                             90

                        7.0                                             60

                        6.5                                             30

                        6.0                                               0

หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีผู้ดูแลตอนกลางวัน ตอนที่เติมปุ๋ย C ตอนเช้าจะเติมปุ๋ย C ไว้ในถุงน้ำเกลือให้ค่อยๆหยดตลอดวัน โดยจะใส่ปุ๋ย C เท่ากับจำนวนปุ๋ย C ที่เติมตอนช่วงเย็น แล้วเติมน้ำให้เต็มถุงน้ำเกลือแล้วตั้งให้หยด 10 หยดต่อนาที (น้ำเกลือจะหมดถุงภายใน 8 ชั่วโมง) ดังนั้นต้องจดไว้ว่าตอนเย็นเติมไว้กี่ cc

ค่า EC

2. ต้องการควบคุม ค่า EC ของแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้คงที่ตลอดเวลาที่ 1.3 โดยใช้เครื่องวัด EC (สีฟ้า) วัดแล้วเติมปุ๋ยA&B อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า (6.00น), เย็น (20.00 น.)

                        EC                              เติม A&B (CC)

                       0.9                                        120

                       1.0                                          90

                       1.1                                          60

                       1.2                                          30

                       1.3                                            0

 

3.  ก่อนเติมปุ๋ย C และ A&B ควรตรวจระดับน้ำในถังล่างของแปลงอนุบาลว่าอยู่ที่ระดับ 1/2– 2/3  ถัง โดยทำดังนี้

– ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า 1/2ถังให้เติมน้ำให้ได้ 1/2 ถัง

– ถ้าระดับน้ำสูงกว่า 2/3ถัง ให้ตักน้ำออกไปลดน้ำต้นไม้ก่อน ให้น้ำมาอยู่ที่ระดับ 2/3ถัง

– แล้วจึงเติมปุ๋ย C และ A&B

4. ปล่อยให้ระบบเดินไปประมาณ 15 นาทีแล้วจึงวัดและเติมอีกครั้ง จนได้ค่าที่ต้องการ

5. ถ้าระดับน้ำลดลงผิดสังเกต ควรตรวจดูรอยรั่วและแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที

6. ถ้าระดับน้ำเพิ่มขึ้นผิดสังเกต ควรหาสาเหตุ อาจจะเป็นระบบพ่นหมอกทำงานผิดปกติ ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงานทันที

7. การเติมปุ๋ย C  ให้เติมกระจาย ครึ่งหนึ่งที่ถังล่างของแปลงอนุบาล  เพื่อให้ pH ไม่ลดลงอย่างมากในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผักไฮโดรโปนิกส์

8. การเติมปุ๋ย A&B   ให้เติมปุ๋ย A ที่ถังบน และเติมปุ๋ย B ที่ถังล่างของแลปงอนุบาล เพื่อไม่ให้ปุ๋ย A&B ที่เข้มข้นทำปฏิกิริยากันตกตะกอน

 

วิธีควบคุมการพ่นหมอกแปลงปลุกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ตอนกลางวัน ควบคุมด้วยอุณหภูมิ เมื่อร้อนเกิน 30° C จะพ่น และเมื่อเย็นลงจะหยุดพ่น
  2. ตอนกลางคืน ตั้งเวลาพ่น 50 นาที พ่น 1 นาที ถ้าอากาศเย็น อาจจะตั้งห่างขึ้น
  3. ถ้าการพ่นผิดปกติ ต้องรายงานทันที อย่าปรับระบบเอง   ต้องปรับตามคำแนะนำโดยละเอียดจาก คนที่เข้าใจระบบควบคุมซึ่งสามารถสั่งการทางโทรศัพท์ได้
  4. ถ้าท่อน้ำระบบพ่นหมอกรั่ว ขาด ต้องแก้ไขทันที ถ้าแก้ไขไม่ได้ให้รายงาน ขอความช่วยเหลือทันที

 

วิธีดูแลระบบพ่นหมอกแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ต้องดูแลให้ทุกหัว พ่นได้ดีเป็นละอองขนาดเล็กฟุ้งกระจาย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกโดยทั่วถึง โดยการตั้งทิศทางหัวพ่น ทำความสะอาดหัวพ่นและเปลี่ยนหัวพ่น แล้วแต่กรณี
  2. ไม่มีน้ำรั่ว หยด เพราะสิ้นเปลืองถ้าพบน้ำรั่ว หรือหยดต้องแก้ไข หรือรายงานทันที
  3. ในบางครั้งหัวพ่นหมอกบริเวณหัวรับสัญญาณไม่โดนหมอก แก้ไขชั่วคราว โดยการใช้น้ำประปาฉีด บริเวณหัวรับสัญญาณจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งคราว  เนื่องจากทิศทางลม แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งควรแก้ไขโดย
  4. ย้ายผักที่บังหัวรับสัญญาณออกหรือเปลี่ยนเป็นต้นเล็กลง
  5. ปรับเปลี่ยนผ้าคลุมหัวรับสัญญาณให้เหมาะสม โดยผู้ที่มีความเข้าใจในระบบควบคุม
  6. เปลี่ยนตำแหน่งหัวรับสัญญาณให้เหมาะสม โดยผู้ที่มีความเข้าใจในระบบควบคุม
  7. วิธีดังกล่าว นอกจากประหยัดน้ำแล้ว ต้นผักยังได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์เติบโตเร็วและแข็งแรง
  8. ต้องตรวจและล่างไส้กรองระบบพ่นหมอกอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือเมื่อพบว่าการพ่นน้อยลง

วิธีดูแล ระบบน้ำปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ปั๊มน้ำทุกตัวต้องทำงาน ทำงานตลอดเวลา (ยกเว้นระบบที่กำลังล้างทำความสะอาดอยู่) เพราะถ้าผักขาดน้ำ ผักจะเหี่ยว และตายใน 3 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าสังเกตเห็นต้นไม้เหี่ยว หรือปั๊มน้ำหยุดเดิน หรือไฟดับ ต้องรีบแก้ไข และถ้าแก้ไขไม่ได้ต้องขอความช่วยเหลือทันที ถ้าน้ำไม่ไหลหาจุดอาจจะเป็นเพราะการตีบตัน หรือมีสิ่งสกปรกอุดตันต้องแก้ไข และขอความช่วยเหลือทันที ถ้าทำไม่สำเร็จ
  2. ถ้าระบบน้ำปุ๋ยหยุดทำงาน แต่ระบบพ่นหมอกยังทำงานอยู่ควรตั้งระบบพ่นหมอก ต้นผักอาจจะทนอยู่ได้นานถึง 6 ชั่งโมง วิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ เปิดให้เครื่องพ่นหมอกพ่นหมอกให้ถี่ขึ้นหรือตลอดเวลา เพื่อชดเชย จะทำให้ต้นผักไฮโดรโปนิกส์พ้นอันตรายได้
  3. ถ้าระบบพ่นหมอกเสียด้วย ต้องนำน้ำมารดผักด้วยวิธีกรอกน้ำที่หัวราง หรือใช้ฝักบัวรดที่ต้นในระหว่างทำการแก้ไข
  4. ถ้ารู้ว่าจะต้องแก้ไขนานให้หาวัสดุมารองท้ายรางให้เสมอกับหัวราง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ราง Ø 4 ” สีฟ้า ไม่ต้องทำอะไร เพราะเป็นระบบที่มีน้ำขังในระบบอยู่ตลอดเวลา, ราง Ø 3 ” สีขาว ระดับหัว และท้ายรางมีระดับต่างกัน 5 ซม. ดังนั้น ถ้าหาวัสดุมารองด้านน้ำออกท้ายรางสูงขึ้น 8 ซม. ก็จะมีน้ำขังตลอดท่อ ต้นไม้ก็จะได้น้ำตลอดเวลา, รางสี่เหลี่ยมสีขาว และรางอนุบาล ต้องใช้วิธีรดน้ำตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 3 ได้อย่างเดียว เพราะระดับต่างกันถึง 30 ซม.แก้ไขด้วยวิธีรองท้ายรางไม่สามารถทำได้
  5. ต้องถอดไส้กรองปั๊มน้ำออกมาล้างทุกอาทิตย์ โดยช่วงหลังจากที่มีการขาย และย้ายผักทุกครั้งต้องถอดไส้กรองปั๊มมาล้างเพิ่มเติม เพราะจะมีเศษรากและตะไคร่ หลุดเข้าระบบมากกว่าปกติ ถ้าพบว่าสิ่งสกปรกมีมากหรือพบว่าน้ำไหลน้อยลงอาจจะต้องพิจารณาล้างบ่อยขึ้น
  6. ถังที่มีแดดส่องถึง ควรใช้แผ่นไม้อัดหุ้มพลาสติกที่เตรียมไว้ปิดตลอดเวลาเพื่อลดการเกิดตะไคร่
  7. สำหรับแปลงปลูกที่มีถังระบายความร้อน ต้องตรวจดูว่าทำงานปกติหรือไม่ (พัดลมเปิดตลอดเวลาและมีการกระจายของน้ำที่ตกลงมาในถังดี ไม่มีน้ำล้นผิดปกติ) ต้องทำความสะอาดรูท่อกระจายน้ำทุกวัน โดยการเปิดฝาครอบท่อออก แล้วใช้ไม้ทำความสะอาดที่เตรียมไว้ทะลวง จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เสียน้ำปุ๋ยไปมาก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความใส่ใจ จริงใจ ซื่อสัตย์

อุปกรณ์ ->

ต้องระวังเรื่องค่าความเป็นกรดด่างของน้ำที่จะปลูกครวมีการปรับค่าให้เหมาะสมก่อนปลูกผัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ความส่งเสริมให้ปลูกผักสะอาดไว้ทานเองทุกบ้าน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา