เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ภูมิปัญญาด้านการจักสานงอบ “งอบไทยใบลาน”

โดย : นายธาราวุฒิ จุลวงศ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-02-10:50:27

ที่อยู่ : 57/1 หมู่ที่ 5 ตำบลบางนางร้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตำบลบางนางร้า  อำเภอบางปะหัน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ถือเป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำงอบที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่มีอายุยาวนานถึงกว่า 100 ปี  และจากการที่นายธาราวุฒิ  จุลวงศ์  ได้คลุกคลี่และเห็นมารดาทำงอบมาตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงปัจจุบัน  จึงมีแรงบันดาลใจและมองเห็นว่าการทำงอบสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว  อีกทั้งการมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างสรรค์รูปแบบการทำงอบให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น  พัฒนาจากงอบใช้งานสู่งอบเพื่อเป็นของขวัญของฝากและของที่ระลึก เพิ่มสีสัน และลวดลายด้วยการถักห่วง  ปักด้วยเส้นกำมะหยี่  ตบแต่งด้วยเดคูพาทเป็นต้น  และยังริเริ่มให้มีการรวมกลุ่มการทำงอบขึ้น  โดยเริ่มจากในครอบครัวสู่การชักชวนญาติพี่น้องและคนรอบข้างที่เล็งเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ซึ่งปัจจุบัน มีสมาชิก รวม  20  คน และจากการที่นายธาราวุฒิ  จุลวงศ์  ได้เข้ามีมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการเครือข่าย OTOP  อำเภอบางปะหัน  ผนวกกับการที่ได้ไปศึกษาดูงาน  เช่น การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์   การเพิ่มมูลค่าของสินค้า   การเข้ารับการฝึกอบรมด้านการส่งเสริมการตลาด   การประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัดฯ  อุตสาหกรรม  พาณิชย์  จึงทำให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์  สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการทำงอบ  ตลอดจนการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี 

วัตถุประสงค์ ->

1.  การรีดใบลาน   นำใบลานมาเลื่อยเอาก้านออกนำผ้ารองรีดมาพับทบกันให้มีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร  วางลงบนพื้นนำใบลานที่ทำความสะอาดแล้ววางบนผ้าจับโคนใบลานด้วยมือซ้าย  จับเตารีดถ่านด้วยมือขวากดทับลงบนใบลานแล้วดึงเข้าหาตัว  จากนั้นพลิกใบลานรีดอีกด้านหนึ่งนำใบลานที่รีดแล้วมาเรียงกันโดยให้ส่วนปลายใบอยู่ทางส่วนปลายไป  ส่วนโคนใบอยู่ทางส่วนโคนใบใช้เศษใบลานมัดให้แน่นจะทำให้ใบลานเรียบไม่บิดงอ

2.  การเจียนใบลาน  นำใบลานที่ตัดได้ความยาวตามต้องการแล้วมาวางบนแผ่นกระจกสำหรับรองตัดเจียนใบลาน  โดยให้ริมใบลานที่กว้างอยู่ทางด้านบนของแผ่นกระจกรองตัดเจียน  แล้วใช้มีดบางหรือมีดเจียนหมากตัดเจียนใบลานออกจากกัน  โดยตัดเจียนใบลานจากด้านบนลงมาด้านล่างให้ปลายมีความกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร  และโคนกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร

3.  การกรุใบลานติดกับโครงงอบ  นำใบลานที่ตัดเจียนแล้วมาทาบกรุติดกับโครงงอบที่ต้องการ  โดยนำด้ายสีขาวมาร้อยเข็ม  ขมวดเป็นปมที่ปลายเส้นด้าย  แล้วเย็บใบลานติดกับโครงงอบ  โดยให้ใบลานซ้อนเกยกัน  มีความห่างของใบลานแต่ละใบประมาณ 1.5   เซนติเมตร  การวางใบลานติดกับโครงงอบควรให้ใบลานเหลื่อมออกมาจากริมปีกงอบประมาณ  2.5   เซนติเมตร  การเย็บใช้วิธีเย็บแบบแทงขึ้นและแทงลงโดยแทงขึ้นที่ใบลานชิ้นแรกและแทงลงที่ริมใบลานที่เกยทับทำอย่างนี้ตามลำดับจนรอบโครงงอบ

4.  การล้มหัวงอบ  พับใบลานส่วนบนของหัวงอบให้แนบติดกับโครงงอบส่วนหัว  โดยใช้วิธีซ้อนทับกันเย็บใบลานที่พับลงให้ติดกันโดยใช้เข็มแทงขึ้นที่ใบลานที่อยู่ล่างและแทงลงที่ริมใบลานที่ซ้อนทับด้านบนใช้มีดบาง  หรือมีดเจียนหมาก  ตัดใบลานที่เลยช่องกลางบนหัวงอบออกทิ้งไป

5.  การสักหัวงอบ   นำด้ายสีขาวร้อยเข็มเย็บผ้าเบอร์ 9 ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร  แล้วขมวดด้านหนึ่งให้เป็นปม  นำงอบที่ล้มหัวงอบแล้วมาเย็บใบลานให้ติดกับหัวงอบ  ชาวบ้านเรียกว่าการสักหัวงอบโดยใช้เข็มเย็บแทงขึ้นและแทงลงให้เป็นวงกลมจนรอบหัวงอบ

6.  การเย็บใบลานติดกับโครงงอบ นำงอบที่สักหัวแล้วมาเย็บใบลานด้านข้างของตัวงอบให้ติดกับโครงงอบเพื่อเน้นรูปทรงและเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวงอบ  โดยจะเย็บ  ๑ แถว เว้น ๑ แถว

7.  การเข้าขอบ  นำขอบงอบมาผ่าตรงกลางแล้วแยกออกจนถึงข้อ  โดยไม่ให้แยกขาดออกจากกันตลอดเส้นนำกรรไกรตัดใบลานริมปีกงอบที่ยาวเกินโครงงอบออกมาทิ้งไปให้พอดีกับริมโครงงอบนำขอบงอบที่ผ่าแล้วมาประกับติดกับริมปีกงอบโดยรอบ  การประกับขอบงอบกับริมปีกงอบจะใช้เหล็กหมาดเจาะนำที่ริมปีกงอบและใช้ตอกผูกร้อยลงผูกมัดขอบงอบให้ติดแน่นกับริมปีกงอบ

8.  การผูกขอบ   นำก้านลานตัวเมียมาเหลาเอาแต่ผิวให้แบนกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร นำเส้นเอ็นพลาสติกมาร้อยกับเข็มผูกงอบ  และขมวดปมที่ปลายด้านหนึ่งนำงอบที่เข้าขอบแล้วมาถักริมปีกงอบหรือผูกงอบด้วยเส้นเอ็นพลาสติก  หรือคล้าซึ้งเป็นวัสดุธรรมชาติ

9.  การติดกระหม่อม หรือการติดจอม  นำกระหม่อมงอบมาปิดช่องกลางของหัวงอบแล้วใช้เข็ม

เย็บผ้าที่ร้อยด้ายแล้วเย็บแทงขึ้นและแทงลงให้ติดกับหัวงอบ

10.  การติดรังงอบ  นำไม้ไผ่มาเหลาเอาเนื้อไม้ไผ่ออกให้บาง  ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร  กว้าง  1.5 เซนติเมตร  เจียนปลายทั้งสองข้างให้แหลมจำนวน 2 อัน  เพื่อใช้สำหรับขัดรังงอบให้ติดกับเพดานด้านในของหัวงอบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1.  การตั้งเป้าหมายในการทำงานเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

          2.  การพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  เรียนรู้  ค้นหาโอกาสการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

          3.  การสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และการปฏิสัมพันธ์  เช่น  เครือข่ายกลุ่มอาชีพ,  เครือข่าย OTOP ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด  เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

                 การเลือกไม้ไผ่มาจักสานตอก  ควรเลือกไม้ไผ่ที่แก่จัด  เพราะไม้ไผ่ที่แก่จัดนั้นมอดมักจะไม่กิน  เหตุที่มอดชอบกินไม้ไผ่ที่ไม่แก่จัด เพราะไม้ไผ่บางชนิดมีธาตุน้ำตาลมากนั่นเอง  ถ้าหากจะนำมาจักตอกต้องรอให้ไม้แก่จัดเสียก่อน เพราะไม้ไผ่ที่แก่จัดธาตุน้ำตาลแปรสภาพจะแปรสภาพเป็นเนื้อไม้ไผ่  และบำรุงตัวเอง  เมื่อไม่มีธาตุน้ำตาลมอดก็ไม่กิน  แต่อย่างไรก็ดีถ้าไม้ไผ่แก่จัดมากก็เหลาตอกยากเพราะแข็งเกินไป,  เลือกไม้ไผ่ที่มีอายุประมาณ   1  ปี  หรือ  1  ปีครึ่ง, เลือกไม้ไผ่ที่ข้อปล้องของมันว่าแก่อ่อนแค่ไหน  (ถ้าจำอายุไม่ได้)  คือ  ถ้าไม้ไผ่แก่จัดดีแล้ว  คราบที่ข้อปล้องจะค่อยๆ  เรียบเกือบเท่าลำต้นจึงเหมาะกับการจักสานส่วนไม้ไผ่อ่อนที่ไม่เหมาะกับการจักสานข้อปล้องจะสูงกว่าลำต้นมาก

               การเลือกใบลาน  เพื่อนำมากรุงอบให้เลือกใบลานที่เรียบ  สีเสมอกัน  ไม่มีตำหนิ  ใบใหญ่  สีขาวนวล  ควรไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป  เพราะทำให้การติดเย็บไม่สวยงาม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          การใฝ่รู้ สั่งสมประสบการณ์ และการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและเกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนางาน       

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา