เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การจักสานพัดไม้ไผ่

โดย : นายทองสุข เดชาประเสริฐ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-22-13:37:12

ที่อยู่ : 13 หมู่ที่ 3 ตำบลหน้าไม้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    ในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า  เช่น  พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ  ทุกครัวเรือนจะต้องใช้พัดที่ทำจากไม้ไผ่เพื่อพัดคลายความร้อนแก่ร่างกาย  และใช้พัดเตาไฟในครัวเพื่อทำอาหาร  เดิมจะมีการปลูกต้นไผ่เพื่อทำเป็นรั้วบ้านหรือแนวกันลม  สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำพัดได้  ปัจจุบันมีการปลูกไม้ไผ่น้อยลง  พัดที่นำมาจักสานจะมีหลายขนาด  หลายรูปทรงเพื่อเหมาะกับการใช้งาน  ปัจจุบันมีการผลิตน้อยลงเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากพัดน้อยลงแต่ก็ยังมีการผลิตอยู่  เป็นงานหัตถกรรมที่นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ ->

   ๑.  การเลือกไม้สานพัด

             เลือกลำไผ่ยาวตรง ๆ  ดูสีผิวของลำไม้ไผ่  ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป

         ๒. การจักตอก

             เมื่อตัดไม้ไผ่สีสุกมาเป็นลำแล้วนำมาทอนหรือตัดเป็นปล้อง ๆ  โดยใช้เลื่อย  โดยตัดข้อทิ้งไปด้วย  พยายามตัดให้ตรง ๆ  ลงไปอย่าให้ไม้แตก  ความยาวแต่ละปล้องยาวประมาณ  ๑  ฟุต  แล้วจักเป็นตอก

         ๓.  การย้อมสี

              สีที่ใช้เป็นสีย้อมผ้า  อาจจะเป็นสีซองหรือกระป่องก็ได้  ก่อเตาถ่านหรือเตาฟืน  เตาแก๊ส  แล้วแต่สะดวก  ใช้กระทะที่ใช้ย้อมสี  ใส่น้ำพอสมควร  ตั้งไฟให้เดือด  เมื่อน้ำ  สี  เกลือ  สารส้มเข้ากันดี  นำตอกประมาณ  ๒๐  เส้น  จุ่มลงในกระทะเพื่อทดสอบความเข้มของสีก่อนว่าใช้ได้หรือไม่  เมื่อใช้ได้แล้วก็นำตอกมาหยิบมือค่อย ๆ  จุ่มลงไปในกระทะที่กำลังเดือด  โดยให้นำสีทั่วตอกจนเห็นว่าเกาะเส้นตอกจนทั่วจนเอาตอกออก  รีบนำตอกที่ย้อมสีแล้วไปล้างน้ำสะอาดเพื่อไม่ให้สีจับที่ตอกหนาเกินไปเวลาสานสีตอกจะได้ไม่ติดมือ  นำตอกที่ล้างน้ำแล้วไปผึ่งแดดจนแห้งก็นำไปสานพัดได้

         ๔.  การสานก่อเป็นแผง

                           นำตอกที่ย้อมสีแล้วมาสานก่อ  โดยมากนิยมสานเป็นลาย  ๓  หมายถึงยกดอก  ๓  เส้น  หรือเรียกว่ายก  ๓  ข่ม  ๓  เป็นขั้นบันไดแต่ถ้าจะให้ลายหรือดอกเป็นรูปทรงอะไรนั้นอยู่ที่เทคนิคของผู้สาน

        ๕.  การทำด้ามพัด

             เลือกไม้ไผ่สีสุกเช่นเดียวกับที่ใช้จักตอกสานพัด  ตัดเป็นปล้อง ๆ  ตัดข้อทิ้งยาวประมาร  ๑  ฟุต  ใช้ไม้ค่อนข้างแก่  ผ่าไม้ออกเป็นส่วน ๆ  ขนาดเท่ากัน  กว้างประมาณ  ๑.๕  ซ.ม.  เกลาให้เรียวปลายแหลม  โดยผ่าจากปลายไปหาโคนด้ามประมาณ  ๒๐  ซ.ม.  เพื่อนำพัดสอดเข้าไประหว่างด้ามที่ผ่า  เกลาด้ามให้เรียบร้อย  ขุดผิวออก  นำด้ามที่เกลาเรียบร้อยไปผึ่งแดดเพื่อให้ไม้แห้ง  ใช้น้ำมันเคลือบเงาทาเพื่อความสวยงามดูเป็นมันน่าใช้         

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

      ความมานะพยายาม  ละเอียด  ประณีต  ในการผลิตผลิตภัณฑ์  การตรงต่อเวลาต่อลูกค้า

อุปกรณ์ ->

   การเลือกไม้ไผ่  ถ้าเป็นตัวพัดควรใช้ไม้ไผ่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป  ถ้าทำเป็นด้ามพัดควรใช้ไม้ไผ่ที่ค่อนข้างแก่เพราะจะมีความแข็งมากกว่า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

      วัตถุดิบหลักคือไม้ไผ่  ต้องซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่อำเภอใกล้เคียง  ควรส่งเสริมการปลูกไม้ไผ่ในพื้นที่ให้มากขึ้น  เช่น  บริเวณหัวไร่ปลายนา  หรือในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านให้มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา