เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เครื่องหอมเก้ากลิ่น

โดย : นายอุทัย ภู่เจริญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-10-20:19:04

ที่อยู่ : 99/10 หมู่ 5 ตำบลวัดตูม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   สืบเนื่องจากใน ปี 2530 ได้ร่วมกับนางจันทนา ภู่เจริญ ศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องเครื่องหอม น้ำอบ น้ำปรุง ได้ทราบว่าการทำน้ำอบ มีมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยปรากฏในรูปของวรรณกรรมต่าง ๆ  เจ้านายในวังนิยมใช้น้ำอบ อบผ้า อบร่ำไสบ จนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางได้มีการติดต่อกับต่างประเทศ มีการนำเข้าแอลกอฮอล์ จึงได้พัฒนาเป็นน้ำปรุง มีความสนใจและได้ทดลองการจัดทำน้ำอบ น้ำน้ำปรุง ตามขั้นตอนแบบโบราณ คือการนำดอกไม้หอม มาสกัดให้เป็นหัวน้ำหอม โดยเริ่มแรก มีการนำดอกไม้เพียง 9 ชนิด มาสกัดเป็นหัวน้ำหอม  พบว่าเป็นที่สนใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก ครั้งแรกได้นำออกเผยแพร่ ในงานมรดกโลก

วัตถุประสงค์ ->

                   1. การทำหัวน้ำหอม นำดอกไม้กลิ่นหอม มาหมักในแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 3 เดือน จะได้หัวน้ำหอม ตามกลิ่นดอกไม้

                   2.การเตรียมทำน้ำอบ เริ่มจากการน้ำใบเตย ประมาณ 7-8 ใบ ต้มในน้ำเดือน 10-20 ลิตร  ใส่ชะลูดและต้มต่อไปประมาณ 30 นาที จะได้น้ำสีเหลืองเข้ม นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง เติมพิมเสน แป้งหิน และหัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ จากนั้นนำไปร่ำด้วยเทียนหอมในโถอบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มีความมุ่งมั่นและความตั้งใจ

อุปกรณ์ ->

                   การทำน้ำปรุง ไม่นิยมกลิ่นดอกไม้โดด ๆ แต่จะนำดอกไม้  3 ชนิด มาผสมเพื่อให้ได้กลิ่นหอม โดยมีกลิ่นหอมตัวหลัก ตัวตาม และตัวท้าย ดูว่าต้องการกลิ่นอะไรนำ กลิ่นอะไรตามท้ายกลิ่นช่วยผสมผสานให้กลิ่นอื่น ๆ โชยออกมา.

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   การทำน้ำอบ น้ำปรุงตามธรรมชาติ จะได้หัวน้ำหอมน้อยมาก คือ ดอกไม้ 1 ตัน ได้หัวน้ำหอม 2.2 กิโลกรัม ทำให้ต้นทุนสูง ปัจจุบันตามตลาดมีการนำหัวน้ำหอมสกัดมาผสมผสานในผลิตภัณฑ์ทำให้ได้กลิ่นที่เข้มข้น และติดนานกว่า

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา