เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การปลูกถั่วฝักยาว

โดย : นายพิรุณ เทียนสิงห์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-08-19:44:27

ที่อยู่ : 47 หมู่ที่ 1 ตำบลบางนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          นายพิรุณ  เทียนสิงห์  ผู้ช่วยกำนัน หมู่ที่ 1  ตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา           เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการปลูกถั่วฝักยาว  โดยแนวคิดริเริ่มการปลูกถั่วฝักยาวนั้นมาจากการเดิมที นายพิรุณ  เทียนสิงห์  เป็นผู้มีความรู้ด้านการเพราะปลูกพืชผักสวนครัวอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยให้ความสนใจมากหนัก  และเมื่อ       ปี 2554  บ้านบางนา หมู่ที่ 1 ตำบลบางนา อำเภอมหาราช ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมหาราช ได้อบรมให้ความรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้นายพิรุณ  เทียนสิงห์  หันมาให้ความสนใจในเรื่องการทำเกษตรผสมผสานอย่างจริงจัง โดยพืชที่มีความชำนาญมากที่สุดคือ ปลูกถั่วฝักยาว เนื่องจากช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

          ถั่วฝักยาวสามารถเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และปลูกได้ตลอดปี เป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย ดินระบายน้ำดี ไม่ชอบดินชื้นแฉะมาก แต่ไม่ทนต่อดินที่แห้งแล้ง ต้องการดินชื้นพอสมควร

การเตรียมดิน
การเตรียมดินปลูกด้วยการไถพรวนดินลึกประมาณ 30 ซม. และตากดินนาน 5-7 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช หลังจากนั้น ให้หว่านโรยด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 2-4 ตัน/ไร่ หากพื้นที่ปลูกมีดินเป็นกรด โดยเฉพาะแปลงปลูกในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และแถบภาคตะวันออก ควรหว่านปูนขาวร่วมด้วย อัตรา 300-500 กก./ไร่ หลังจากนั้น ไถพรวนดินอีกครั้ง และตากดินนาน 3-5 วัน และทำการไถยกร่องแปลง โดยการปลูกแถวเดี่ยวให้ยกร่องแปลงกว้างประมาณ 80 ซม. แถวคู่ กว้างประมาณ 150 ซม. เว้นทางเดินประมาณ 50 ซม. ในระหว่างแถว

การคัดเลือดเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด ซึ่งมีให้เลือดหลายสายพันธุ์ แต่หากเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแปลงปลูกของตนเองจำเป็นต้องคัดแยกเมล็ด พันธุ์ก่อนปลูก ด้วยการนำเมล็ดแช่น้ำ เมล็ดที่ลอยน้ำให้คัดทิ้ง ส่วนเมล็ดที่จมน้ำถือเป็นเมล็ดที่ดี และให้แช่น้ำที่ผสมยาฆ่าเชื้อรานาน 60 นาที ก่อนลงหยอดในแปลงปลูก

การปลูก
การปลูกจะใช้วิธีหยอดเมล็ดด้วยการขุดเป็นหลุมหรือขุดเป็นร่องลึกประมาณ 3-5 ซม. โรยรองพื้นด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. แล้วกลบด้วยหน้าดิน และรดน้ำ หลังจากนั้น เมล็ดจะงอกประมาณวันที่ 5-7 หลังการปลูก เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากที่หยอดเมล็ดประมาณ 5-7 วัน

การถอนต้นอ่อน
เมื่อต้นอ่อนมีใบจริง 3-4 ใบ หรือสูงประมาณ 10 ซม. ให้เลือกถอนต้นที่เล็กทิ้ง ให้เหลือเพียง 2 ต้น/หลุม พร้อมพรวนดินรอบหลุม

 

 

 

 

 

การให้น้ำ
หลังจากการปลูกจะให้น้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง และหลังถอนต้นแล้วจะให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และฤดูกาลปลูก โดยพิจารณาจากความชื้นของดินเป็นหลัก

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในระยะก่อนออกดอก อัตราปุ๋ย 30 กก./ไร่ ใส่ให้ห่างจากโคนต้น 8-10 ซม. พร้อมพรวนดินกลบ และรดน้ำ

การทำค้าง
การทำค้างจะเริ่มเมื่อต้นถั่วมีความสูงประมาณ 15-20 ซม. ซึ่งต้นถั่วจะเริ่มมีมือเกาะ โดยการใช้ไม้ไผ่ปักระหว่างหลุม ความสูงประมาณ 2-3 เมตร ปักระยะห่าง 2-3 เมตร แล้วรัดขึงด้วยเชือกหรือลวดตามความสูงเป็นชั้นๆ ห่างกัน 30-40 ซม. หรืออาจใช้ปลายไม้ไผ่ที่มีแขนงปักเป็นช่วงๆตามระยะความกว้างของแขนงไม้ไผ่

การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอในระยะ 1 เดือนแรก ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์/ครั้ง จนต้นถั่วมีความสูงได้มากกว่า 30-50 ซม. จึงหยุด ซึ่งต้นถั่วจะสามารถเติบโตแข่งกับวัชพืชอื่นได้แล้ว

การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาวจะเริ่มเก็บผลอ่อนได้ ประมาณ 60-80 วัน หลังปลูก หรือหลังจากออกดอกประมาณ 15-20 วัน โดยทะยอยเก็บฝักอ่อนเป็นระยะ ทุกๆ 2-4 วัน สามารถเก็บฝักได้นานประมาณ 1-2 เดือน หรือเก็บได้ 20-40 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการดูแล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ทำกิจกรรมในแปลงเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งตนเองในด้านการผลิต  แก้จนโดยผลผลิต ในแปลง สร้างทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. ต้องแสวงหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตัวเองทำ

3. ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา