เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ขนมไทยนึ่ง เช่น ขนมมัน ขนมกล้วย ขนมสอดไส้ ขนมฝักทอง

โดย : นางธนาธิป เฉลิมหมู่ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-08-19:28:31

ที่อยู่ : 19 หมู่ที่ 2 ตำบลกะทุ่ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การประกอบอาชีพ ทำขนมไทยนึ่ง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ของดีของไทยที่กำลังสูญหายไปจากความทรงจำหลายๆคน ไม่อยากให้ลูกหลานเห็นแต่รูปภาพ ไม่อยากให้เป็นเพียงแค่ตำนาน ที่ยังคงอยู่และสามารถสัมผัสได้ ขนมไทยนึ่ง เช่น ขนมมัน ขนมกล้วย ขนมสอดไส้ ขนมฟักทอง ขนมตาล ตะโก้ ข้าวต้มมัด ฯลฯ เพราะทางบ้านมีอาชีพทำขนมไทยมาแต่ดั้งแต่เดิม ตั้งแต่รุ่นย่ามายังรุ่นแม่ และรู้วิธีการทำขนมไทยมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นเรื่องสูตรการทำขนมไทยจึงเป็นสูตรโบราณที่ได้มีการนำสูตรมาปรับ ให้มีความทันสมัย เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน คือมีความหวานน้อย เหมาะกับผู้ที่รักษาสุขภาพ แต่มีความหอม มันกลมกล่อมกำลังดี จึงได้มีลูกค้ามาสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ขายได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญเลี้ยงพระ ปีใหม่ สงกรานต์ และเทศกาลต่างๆ เป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว มีกำไรสามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบายๆ จึงไม่จำเป็นต้องเป็นลูกจ้างใคร และขนมมันสำปะหลังที่พัฒนาชุมชนอำเภอมหาราช นำมาต่อยอดอีก 1 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ลูกค้าเช่นกัน

วัตถุประสงค์ ->

1. ขนมกล้วย

          ส่วนผสม
           - กล้วยน้ำว้าสุก (บดละเอียด) 500 กรัม
           - น้ำตาลทราย 100 กรัม
           - เกลือป่น 1 ช้อนชา
           - แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
           - แป้งมันสำปะหลัง 5 ช้อนโต๊ะ
           - หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร
          -  มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย
           - ใบตองสำหรับห่อ (ถ้าไม่มีใบตองสามารถใช้ถ้วยตะไลได้)
         

วิธีทำขนมกล้วย
          1. ผสมกล้วยน้ำว้ากับน้ำตาลทราย เกลือป่น แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง หัวกะทิ และมะพร้าวขูด คนผสมให้เข้ากันดี 
          2. ตักส่วนผสมขนมกล้วยลงบนใบตอง แผ่บาง ๆ หรือจะทำเป็นทรงกรวยห่อเป็นทรงให้สวยงาม (หรือตักใส่ถ้วยตะไล) วางเรียงบนชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด นึ่งประมาณ 20 นาทีจนขนมสุก จากนั้นนำออกจากชุดนึ่ง พร้อมรับประทาน

 

2. ขนมสอดไส้

          สวนผสม

          1.แป้งข้าวเหนียวขาว 1 ถ้วย

          2.แป้งข้าวเหนียวดำ 1 ถ้วย
          3.น้ำอุ่น 1 ถ้วย
         

          หน้าขนม
          1.มะพร้าวขูด ½ กิโลกรัม
          2.แป้งข้าวเจ้า ½ ถ้วย
          3.เกลือ ½ ช้อนโต๊ะ
          4.น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วย (ไม่มีใช้น้ำต้มสุกนะคะ)

          ไส้ขนม
          1.มะพร้าวทึนทึกขูด 200 กรัม 
          2.น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม 
          3.น้ำ ¼ ถ้วย 

          อุปกรณ์สำหรับห่อ
          1. ใบตอง 
          2. ทางมะพร้าว
          3. ไม้กลัด 

 

 

 

 

วิธีทำขนมสอดไส้

          1.ผสมแป้งทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ใส่น้ำอุ่นแล้ว นวดให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1/2 นิ้ว แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาดๆ รักษาความชื้นของแป้ง
          2.คั้นมะพร้าวด้วยน้ำลอยดอกมะลิให้ได้หัวกะทิประมาณ 4 ถ้วย ผสมกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน เติมเกลือ ตั้งไฟ คนตลอดเวลา ระวังอย่าให้แป้งเป็นลูกๆ
          3.ทำส่วนผสมของไส้ขนม ผสมมะพร้าว น้ำตาลและน้ำ เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลาง คนจนเหนียวพอปั้นได้ ยกลง ทิ้งไว้จนเย็น ปั้นเป็นก้อนกลม ๆขนาดประมาณ 1/2 ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอมมากขึ้นก็อบเทียนหอม
          4.แผ่แป้งให้ที่ปั้นไว้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ ห่อปิดให้มิด 
          5.ใส่ในใบตองและตักส่วนหน้าขนมใส่ประมาณ 2 -3 ช้อนชา แล้วห่อเป็นทรงสูง คาดด้วยทางมะพร้าวและกลัดด้วยไม้กลัด
          6.นึ่งประมาณ 10 นาที

 

3. ขนมมันสำปะหลัง

          สวนผสม (สำหรับ 20 ถ้วย)

          1. มันสำปะหลัง (ขูดละเอียด) 1 ถ้วย
          2. แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
          3. หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
          4. มะพร้าวขูดฝอย 1/2 ถ้วย
          5. น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
          6. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
          7. มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น (คลุกเกลือป่น 1/4 ช้อนชา) 1/2 ถ้วย

วิธีทำขนมมันสำปะหลัง

          1. อ่างใส่มันสำปะหลังขูดละเอียด แป้งมัน นวดให้เข้ากัน ใส่มะพร้าวขูดฝอย น้ำตาลทราย เกลือ นวดให้เข้ากัน เติมหัวกะทิ นวดผสมให้เข้ากัน ดูให้พอเหนียว
          2. ตักส่วนผสมขนมมันใส่ถ้วย หรือพิมพ์ที่ต้องการวางเรียงบนลังถึง โรยหน้าด้วยมะพร้าวคลุกเกลือ นำไปนึ่งไฟกลาง ใช้เวลานึ่งประมาณ 30 นาที พอสุกยกลง พักให้เย็นก่อน แล้วจึงค่อยแคะขนมออกจากถ้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1. เทคนิคในการทำขนมหวานทั้งหมดให้อร่อย มะพร้าวที่ใช้ต้องไม่ใช้มะพร้าวแก่ น้ำตาลต้องเป็นน้ำตาลมะพร้าว

          2. ขนมที่ทำจะเน้นให้เด่นที่รสชาติ หวานมันอร่อยกำลังดี โดยใช้ของดีมีคุณภาพ

          3. ไม่ใส่สารกันบูด วัสดุมาจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

          4. ขนมทำให้สุกด้วยไอน้ำ ขนมยังคงรสชาติเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

          5. ต้องแสวงหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตัวเองทำ

          6. ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา