เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ขนมไทย (ทองหยอด)

โดย : นางสำออย นัยจิตร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-08-14:14:46

ที่อยู่ : ๑๐๙ / ๓ หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านกุ่ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ขนมทองหยอด เป็นหนึ่งในจำนวนขนมไทย มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต้นกำหนดมาจากประเทศโปรตุเกสโดย  มารี กีมาร์  หรือท้าวทองกีบม้าเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๑  หรือ พ.ศ.๒๒๐๒  โดยยืดหลักจาการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๒๕  และขณะนั้น มารี กีมา มีอายุ ๑๖ ปี บิดาชื่ “ ฟานิก ”เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขก เบงกอล  มารดาชื่อ “ อุรสุลา  ยามาดา ”ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

          ชีวิตช่วงหนึ่งของ “ ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระพระราชวังตำแหน่ง “ หัวหน้าห้องเครื่องต้น” เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชฑูตจากฝรั่งเศษที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน  จำนวน ๒,๐๐๐  บาท ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง คลังปีละ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ได้สอนทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ  ฝอยทอง  ทองพลุ  ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆเหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

          ถึงแม้ว่า มารี  กีมาร์  หรือ ท้าวทองกีบม้า  จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ  แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยู่ในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย  นอกจากนั้น  ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอคิดค้นให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง

          นางสำออย  นัยจิตร  เป็นคนรุ่นหลังที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำขนมทองหยอด ฝอยทอง  และเม็ดขนุน   จากบรรพบุรุษ จวบจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาในการทำงานเกี่ยวกับขนมไทย ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี    มีประสบการในการทำขนมทองหยอดอย่างชำนาญ  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนทั่วไปจนกระทั่งปี ๒๕๔๗ ได้นำผลิตภัณฑ์ มาจดทะเบียนเป็นหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอบางบาล  และได้ลงทะเบียนทุกปี จนถึงปีปัจจุบัน

 

 

 

โดยใช้ชื่อในการจดทะเบียนเป็น “ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกุ่ม ” ขนมไทยที่ทำได้แก่ ทองหยอด  ฝอยทอง               เม็ดขนุน เป็นต้น  ได้รับการส่งเสริมด้านการตลาด  ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากพัฒนาชุมชน  ทำให้มีลูกค้าที่สั่งขนมเป็นประจำ เป็นกรสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการผลิต

๑.ไข่เป็ด 18 ฟอง

๒.แป้งทองหยอด 1 ถ้วยตวง (หรือแป้งข้าวเจ้า)

๓.น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง  

๔.น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วยตวง

 

ขั้นตอนการผลิต

๑. ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปตั้งไฟแรงให้เดือด เคี่ยวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาทีจากนั้นจึงแบ่งน้ำเชื่อมส่วนหนึ่งออกมาสำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้ว

๒. ต่อยไข่ แยกไข่ขาวออก ใช้เฉพาะไข่แดงโดยนำไข่แดงไปกรองในผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออกจากนั้นจึงตีไข่แดงให้ขึ้นฟู จากนั้นค่อยๆผสมแป้งทองหยอดลงไปและคนให้แป้งและไข่แดงเข้ากัน

๓. นำไข่แดงที่ผสมแป้งเรียบร้อยไปหยอดในน้ำเชื่อมสำหรับวิธีหยอดนั้นให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางหยิบส่วนผสมมาเป็นลูกขนาดพอประมาณแล้วจึงสบัดลงไปในน้ำเชื่อมทำเช่นนี้จนเต็มกระทะทองเหลืองจากนั้นรอจนทองหยอดสุกจึงตักออกมาพักใส่ในน้ำเชื่อมที่แยกไว้ก่อนหน้านี้ (ทองหยอดที่สุกจะลอยขึ้น)

๔. จากนั้นก็ตักออกจากน้ำเชื่อมพักไว้ให้เย็น บรรจุลงบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ 

ลักษณะที่ดีของทองหยอด
๑. เนื้อเรียบเนียน เป็นมันเงา
๒.ด้านในและด้านนอกของเนื้อทองหยอดมีความนุ่มเหมือนกันไม่เป็นไตแข็ง
๓. ไม่มีกลิ่นคาว

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

๑.ก่อนที่จะหยอดให้สังเกตน้ำเชื่อมจะเป็นฟองละเอียดแสดงว่าน้ำเชื่อมได้ที่เมื่อหยอดแล้วไข่จะแบน     ในขณะที่จะหยอดน้ำเชื่อมต้องเป็นฟองเดือดพล่าน

๒.ในการผสมแป้งจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับการตีไข่ขึ้นน้อยต้องใส่แป้งน้อย ถ้าใส่มากไปจะทำให้แป้งข้นมากหยอดไม่ได้ ถ้าตีไข่ขึ้นฟูมากจะต้องเพิ่มแป้ง การใส่แป้งมากน้อยแค่ไหน ให้สังเกต    ลักษณะไข่ใส่แล้วคน แป้งมีความข้นนิดๆ ไม่ไหลเป็นทางเร็วไปก็ใช้ได้ การที่ส่วนนี้ให้ใส่แป้งข้น    เหมาะสำหรับคนที่ทำไม่เป็น เริ่มหัดหยอดจะหยอดได้ง่ายขึ้น เมื่อเป็นชำนาญแล้วอาจจะลดส่วน    แป้งลงจะทำให้สุกเร็วขึ้น

๓.ต้องให้สุกโดยตั้งในน้ำเชื่อมนานหน่อย ถ้าขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ทองหยอดเป็นไต
๔.ผู้ที่ไม่เคยทำ ลองหยอดในถ้วยเสียก่อนค่อยลงในน้ำเชื่อมคือปาดแป้งจากปากถ้วยหยอดลงในถ้วย

เดิมสังเกตดูว่าเป็นรูปร่างดีหรือยังถ้าเป็นรูปร่างดีค่อยหยอดใส่ลงในน้ำเชื่อม

 

 

 

๕.ถ้าจะใช้แป้งข้าวเจ้า จะให้ดีควรอบแป้งด้วยเทียนอบ ให้หอมก่อนหรือจะใช้แป้งทองหยอดก็ได้แป้งทองหยอดคือแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการอบแล้ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          นางสำออย  นัยจิตร  มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการถ่ายทอดความรู้ในด้านการทำขนมไทย  และสามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน  ขนมไทยที่กลุ่มฯผลิตมีคุณภาพ ราคาเป็นกันเอง  สดใหม่เสมอ  ทำให้มีลูกค้าประจำสั่งทำเป็นประจำ  การควบคุมคุณภาพ สี  รส กลิ่น  มีคุณภาพคงเดิม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา