เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ปลูกข้าวปลอดสาร

โดย : นายบรรเจษฏ์ รำพึงจิต ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-08-14:11:01

ที่อยู่ : ๒๕/๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลกบเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายบรรเจษฏ์  รำพึงจิต  เป็นเกษตรกรที่ทำนาเหมือนเกษตรกรทั่วไปที่ใช้สารเคมีในการทำนาในที่นา ๑๕ ไร่  จนกระทั่งปี ๒๕๕๘ ผลจากการใช้สารเคมีในการทำนาทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมีอย่างรุนแรง จนต้องเลิกทำนาไป ๑ ปี และได้ปรึกษาเกษตรอำเภอบางบาล ว่าพอจะแนวทางใดบ้างที่ทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี  เกษตรอำเภอได้แนะนำการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียกำจัดศัตรูพืช  และได้ไปศึกษาดูงานที่อำเภอบางไทร  ได้นำความรู้มาใช้ในการทำนาปลอดสาร 

จากนั้นนายบรรเจษฎ์ฯ ก็ได้ทำนาปลอดสาร โดยเริ่มทำจริงจังก็ปี ๒๕๔๙  ถึงถึงปัจจุบัน มีการขยายพื้นที่การทำนาเพิ่มเป็น ๔๘ ไร่  ผลตอบแทนที่ได้คือขายได้ได้เท่ากับคนทำนาทั่วไป แต่จะเหลือกำไรมากกว่าเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี  และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้มีสุขแข็งแรงปลอดจากสารเคมี  ข้าวที่ได้ก็สีเป็นข้าวสารขายให้คนในชุมชน  ที่เหลือก็จำหน่ายให้คนนอกชุมชน  นอกจากเชื้อราบิวเวอร์เรียแล้ว  นายบรรเจษฎ์ ยังศึกษาประโยชน์ และการเพาะเชื้อราตัวอื่นๆมาใช้ในการทำการเกษตรอื่นๆ ได้แก่เชื้อ เมทาไรเซียม ใช้กำจัดปลวกและแมลง , สารเมตตาไรเซียม บำรุงพืช , จุลินทรีย์โพโต้เซเนติก จำกัดก๊าชไข่เน่า  ใส่ห้องน้ำป้องกันกลิ่นเหม็น , โฮร์โมนไข่  บำรุงใบ ผล  ดอกของพืช

ปัจจุบันสถานที่บ้านของนายบรรเจษฏ์ฯ เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรปลอดสาร เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ในด้านต่างๆ ให้คนสนใจทั่วไป  เป็นประธานกลุ่มข้าวพันธุ์ชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

          การผลิตข้าวปลอดสารใช้ข้าวพันธุ์หอมปทุม  พันธุ์ปทุมธานี ๑ (กข.๓๑)  การปลูกต้องปลูกสลับกันเพื่อเพิ่มผลผลิตของแต่ละฤดูกาล  และป้องกันเชื้อโรค  การใช้เชื้อบิวเวอร์เรียโดยคุณสมบัติของเชื้อฯ คือเมื่อฉีดพ่นไปที่ต้นข้าวแล้วสปอร์จะไปจับที่ตัวแมลงหรือเพี้ยที่เกาะตามต้นข้าว  จากนั้น เชื้อบิวเวอร์เรีย จะซึมผ่านเซลล์ของตัวแมลง

ทำให้ภายในของแมงติดเชื้อรา  และแห้งตายไปในที่สุดโดยจะใช้ระยะเวลา ๓ – ๔ วัน และเชื้อจะสามารถแพร่ไปยังแมลงตัวอื่นที่มาใกล้ซากแมลงที่ตาย หรือสัมผัสกันเป็นการกระจายของเชื้อบิวเวอร์เรีย  โดยอัตโนมัติ

          ขั้นตอนการใช้เชื้อบิวเวอร์เรีย

๑.นำเชื้อบิวเวอร์เรียที่อยู่ในถุงเพาะเชื้อฯ ๑ ถุง  ขยี้กับน้ำเปล่าให้เชื้อบิวเวอร์เรียออกมาโดยใช้น้ำ ๒ ลิตร

๒ จากนั้นนำน้ำที่ได้ผสมกับน้ำเปล่า ๒ ลิตร (เรียกว่าหัวเชื้อ)  จากนั้นนำหัวเชื้อ ๒ ลิตร ผสมน้ำ ๘๐ ลิตร

ฉีดพ้นต้นข้าว โดยครั้งแรกเมื่อหว่านข้าวลงแปลงนา ก็ฉีดพ่นเลย  และฉีดพ่นอีกจำนวน ๓ ครั้ง  เดือนละครั้ง  รวมเป็นต่อการทำนา ๑ รุ่น จะฉีดพ่น จำนวน ๔ ครั้ง  จนกระทั่งเก็บเกี่ยว  ซึ่งเชื้อบิวเวอร์เรีย  ๑ ถุง ใช้ฉีดพ่นได้ ๔ ไร่       รวมต้นทุนทุกอย่างของการทำนาทั้งค่าไถ ค่าหว่าน ค่าเชื้อบิวเวอร์เรีย ฯลฯ ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ ๑,๐๐๐  บาท  เมื่อเทียบกับการทำนาที่ใช้สารเคมี ไร่ละ ๖,๐๐๐  บาท

 

ขั้นตอนการผลิตเชื้อบิวเวอร์เรีย(จำนวน ๑  ถุง )

วัตถุอุปกรณ์ที่ใช้

๑.ข้าวสาร ๒  ถุง   

๒.น้ำสะอาด ๖๐ CC 

๓. ถุงร้อนกันน้ำได้  

๔.สำลี   

๕.คอขวดเพาะเห็ด 

๖.หนังยาง

การผลิตเชื้อบิวเวอร์เรีย

๑.เปิดถุงใส่ข้าวสารและน้ำเปล่าลงไป ใส่คอขวด  อุดสำลีให้แน่น

๒.เขย่าให้เข้ากัน  แล้วนำไปนึ่งในซึ่งนาน ๔๕ นาที  พอครบนาทีเขย่าให้เข้ากัน  ปล่อยรอให้เย็น

๓.นำถุงเชื้อเข้าตู้เขี่ยเชื้อ เปิดแสงทิ้งไว้ ๔๕ นาที

๔.เริ่มเขี่ยเชื้อ ซึ่งหัวเชื้อบิวเวอร์เรีย  ( ผสมกับเม็ดข้าวสาลีที่อยู่ในขวดแก้ว หาได้จากเกษตรอำเภอทุกแห่ง ) โดยเปิดสำลีออกเขี่ยหัวเชื้อลงไปปิดสำลีให้แน่น  จากนั้นนำไปวางที่อุณหภูมิห้อง  โดยเชื้อบิวเวอร์เรียจะใช้เวลาเพาะเชื้อราว ๗ – ๑๕ วัน  ก็นำไปใช้ได้  แต่จะมีอายุไม่เกิน ๑ เดือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          การพึ่งตนเองของเกษตรกรที่คิดค้นหาวิธีใหม่กำจัดศัตรูพืช จนสามารถปลูกข้าวปลอดสารได้ประสบผลสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป  หากมีความตั้งใจจริงในการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ  และต้องใช้เวลาในการอดทนต่อการใช้สารชีวภาพ เพราะมันจะไม่เห็นผลในทันตาทันใดเหมือนสารเคมี  และจะค่อยเป็นค่อยไป  ปรับสมดุลทางธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ส่งผลให้ผู้ใช้ปลอดภัย สุขภาพร่างกายแข็งแรง  ผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด  นอกจากนายบรรเจษฏ์ฯ มีความรู้แล้ว ยังถ่ายทอดให้บุคคลทั่วไป เพื่อต้องการให้คนนำไปใช้ อย่าแพร่หลาย เป็นผลดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา