เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ตะกร้าเชือกมัดฟาง

โดย : นางสาวเกศินี คงเจริญสุข ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-08-13:54:28

ที่อยู่ : 19 หมู่ที่ 8 ตำบลกบเจา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการประกอบอาชีพของชาวบ้านในอำเภอแห่งหนึ่ง ได้ยึดอาชีพการเลี้ยงโคนม และมีบางส่วนทำไร่ในการเลี้ยงโคนมนั้นต้องสั่งซื้อฟางข้าวจากถิ่นอื่นนำมา ให้วัวกิน และฟางข้าวที่จัดส่งมานั้นทางพ่อค้าได้ใช้ (เชือกมัดฟาง) ซึ่งมีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ (ไนลอน) กับปอมีความเหนียวทนทานไม่เปื่อยยุ่ย สามารถทำความสะอาดด้วยการซักได้ จึงลองนำเชือกมัดฟางดังกล่าวมาถักสิ่งของต่างๆ ขึ้น เช่น กระเป๋า เข็มขัด และทำเป็นกระเช้าให้ผู้สูงอายุใส่บาตรข้าวหิ้วไปทำบุญ จนมีคนสนใจและติดต่อให้ช่วยถักอยู่เสมอ เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ทดลองทำขึ้นสามารถขยายเป็นสินค้าออกจำหน่าย และเผยแผ่ให้คนถิ่นอื่นได้เรียนรู้การทำตะกร้าเชือกมัดฟาง  กระเป๋าเชือกมัดฟาง  และอื่นๆอีกมากมายตามแต่จะรังสรรค์

          ศิลปะประดิษฐ์เชือกมัดฟางนี้ ได้แพร่หลายไปยังหมู่บ้าน ชุมชน และกลุ่มอาชีพต่างๆทั่วประเทศและกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนตำบลกบเจาก็ได้รับอิทธิพลการทำตะกร้าเชือกมัดฟางมาเช่นเดียวกันโดยมี กศน.บางบาล เชิญวิทยากรจากภายนอกมาสอนให้สมาชิกทำ และสมาชิกกลุ่มก็สามารถทำได้ และคิดค้นลวดลายที่สวยงามมากขึ้น  สามารถทำลายใหม่ตามความต้องการของลูกค้า  และสร้างรายได้ให้กลุ่มเพิ่มมากขึ้น  โดยได้รับการสนับสนุนด้านการตลาด จากพัฒนาชุมชนอำเภอบางบาล  และพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ออกร้านจำหน่ายในสถานที่สำคัญหลายแห่ง

          ตะกร้าเชือกมัดฟาง เป็นงานที่ใช้ความละเอียด คิดสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆ บนโครงลวด ผู้ทำต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีฝีมือในการสร้างลวดลายใหม่ๆ เป็นที่ต้องการของลูกค้า และใช้ความอดทนสูงในการผลิตแต่ละครั้ง ต้องใช้ระยะเวลาในการทำ  เมื่อทำเสร็จแล้วมีความสวยงาม เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรม และกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนตำบลกบเจาก็มีสมาชิกที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญานี้สืบต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑. เชือกมัดฟาง
๒. โครงตะกร้าที่ทำจากเหล็ก ขนาด ๒๖ x ๓๕ ซ.ม.
๓. ไฟแซ็ค
๔. กรรไกร
๕. เหล็กแหลม
๖. เทียนไข
๗. น้ำยาเคลือบ

 

ขั้นตอนการผลิต

๑. เลือกวัสดุอุปกรณ์ และเชือกให้เหมาะกับตะกร้าที่จะทำ
๒. ตัดเชือกยาวพอประมาณ แล้วนำมาแยกออกเป็นเส้นเล็ก ๆ นำมาพันเข้ากับโครงตะกร้า พันให้หมด

จนไม่เห็นเนื้อเหล็กซึ่งเป็นโครงตะกร้า
๓. ตัดเชือกยาวประมาณ ๒.๕ – ๓ เมตร นำมาถักขอบตะกร้าทั้งข้างบนและข้างล่างโดยนำเชือก

ไว้ใต้ล่างเหล็กและใช้เส้นขวาพาดบนเหล็กแล้วใช้เส้นทางซ้ายพาดเส้นทางขวา ใช้ปลายเชือกเส้นทางซ้ายสอดเข้าบ่วง

ขวาแล้วดึงให้แน่น ทำสลับกันโดยให้เส้นทางด้านซ้ายพาดบนเหล็กแล้วใช้ปลายเชือกทางด้านขวาสอดเข้าบ่วงซ้ายแล้ว

ดึงให้แน่น ทำแบบนี้รอบ ๆ ของขอบตะกร้าทั้งด้านบนและล่าง

๔. การถักก้นตะกร้า วิธีการวัดเส้นเชือกให้วัด = ๔ เท่า ใช้เชือกประมาณ๒๘-๓๒ เส้น มาวัดสามารถเพิ่มความยาวเชือกได้อีกนิดหน่อยเพื่อสำหรับการดึงเริ่มจากก้นด้านใดด้านหนึ่งตามถนัด ใช้เหล็กแหลมแทงนำเส้นเชือกบริเวณของขอบตะกร้า แล้วสอดเส้นเชือกทำแบบนี้ไปโดยเว้นระยะประมาณ๑ซ.ม.ใส่เชือกให้ครบโดยเชือกที่ใส่ต้องเป็นเส้นคู่แล้วนำมาถัก เรียกว่า ตัวปูโดยจับเชือก ๔ เส้น โดยดึงปลายให้เสมอกันดึงด้านซ้าย ข้างขวา ๑แล้วใช้เส้นทางด้านขวาพาดทับ ๒ เส้นกลางและเส้นซ้ายทับเส้นขวาดึงให้แน่นจากนั้นก็นำเส้นขวาทับเส้นซ้าย แล้วดึงให้แน่น ทำแบบนี้จนเต็มแล้วสอดเก็บโดยตัดเชือกให้เหลือประมาณ๐.๕ ซ.ม.เพื่อนำไฟแก๊สมารนเก็บเชือกให้สวยงาม

๕. จากนั้นนำผ้าที่เตรียมไว้บุภายใน โดยกำหนดแนวเส้นด้ายที่จะเย็บให้เป็นเส้นตรง ตามลวดลายที่กำหนดไว้ 

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิตวิธีการถักสานเชือกมัดฟาง ได้แก่ การพัน การถักการผูก การสอด การเก็บ และการคลี่ให้เชือกเป็นเส้นเล็ก ๆ เพื่อการพันและลักษณะการถักเชือกทั้งเส้นให้เป็นลวดลายแบบต่าง ๆการยึดแบบโครงเพื่อให้แข็งแรงทนทานกับการใช้งานการเก็บลายให้เรียบร้อยสวยงามได้รูปทรงเชือกมัดฟางสามารถนำมาพัฒนาประดิษฐ์เป็นของใช้ได้หลายอย่าง เช่นตะกร้าอเนกประสงค์ ตะกร้าใส่ผ้า ตะกร้าผลไม้ตะกร้าดอกไม้ แฟ้มใส่เอกสารกระจาด พาน กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสะพาย และอื่น ๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การสานตะกร้าเชือกมัดฟาง เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกคนหากมีความตั้งใจจริงที่จะเรียนรู้ เหมือน                           นางสาวเกศินี  คงเจริญสุข ปราชญ์ชาวบ้านที่เริ่มเรียนรู้จากบุคคลอื่น และความรู้มาพัฒนา มีความคิดสร้างสรรค์  ออกแบบลวดลายใหม่ๆ  และมีภูมิปัญญาในตัวเองสามารถถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลอื่นๆได้

อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การเผยแพร่ผลงานโดยการออกร้านจำหน่ายในสถานที่ต่างๆทั่วไป การส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้คนในชุมชน มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาการทำตะกร้าเชือกมัดฟางมีลวดลาย รูปทรงที่หลากหลาย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา