เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมกระบวนงานการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย : นายสาโรช แก้วคง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-18-12:51:46

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 79/9 หมู่ที่ 4 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94180

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปัตตานี จำนวน 123 หมู่บ้าน จาก 23,589 หมู่บ้านทั้งประเทศ

     ข้าพเจ้าในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด และในฐานะของผู้รับนโยบายสู่การปฏิบัติ ในการบริหารจัดการโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมโครงการตามยุทธศาสตร์ ตาม agenda หรือวาระกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2560 จึงต้องทำหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายฯ อย่างน้อย 2,460 ครัวเรือน ในการสนับสนุนส่งเสริมการขับเคลื่อนกระบวนงานทั้ง 5 กระบวนงาน นำไปสู่ output ของกรมฯ นั่นคือ มีกลุ่มอาชีพจัดตั้งขึ้นใหม่ร้อยละ 10 ของหมู่บ้านเป้าหมาย และสามารถรวมกลุ่มอาชีพก่อให้เกิดรายได้ แต่ทั้งนี้ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนโครงการฯ มองว่าโครงการดังกล่าวฯ ไม่เพียงมุ่งหวังเพียงให้เกิดอาชีพใหม่เท่านั้น เพราะในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราอยากเห็น ก็คือ outcome หรือความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นแก่กลุ่มอาชีพเหล่านั้นในอนาคตนั่นเอง จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้ามุ่งมั่น ตั้งใจ ที่การบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กรมฯ กำหนด (หรือมากกว่าที่กรมฯ กำหนด) อย่างเต็มกำลังความสามารถ อย่างน้อยครัวเรือนในชุมชนจะได้มีกลุ่มสัมมาชีพชุมชนอย่างแท้จริง ที่ก่อให้เกิดรายได้ สามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง และนำไปสู่ความยั่งยืนของกลุ่มต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

     1) สร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนงานขับเคลื่อนสัมมาชีพใน 5 กระบวนงาน/การสนับสนุนของทีมที่ให้การสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพจากองค์กรต่างๆในชุมชน และกิจกรรมการต่อยอดสัมมาชีพชุมชน แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพฯ เข้าใจในขั้นตอนและกระบวนงานขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนอย่างเข้าใจ และครบถ้วน

     2) ติดตาม/สนับสนุนการดำเนินงานการสร้างสัมมาชีพชุมชนอย่างสม่ำเสมอผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ อาทิ การโทรศัพท์ประสานงานโดยตรง การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (facebook / line และการประเมินความก้าวหน้าโครงการผ่านแบบสอบถามออนไลน์ “google form”)

     3) จัดตั้งไลน์กลุ่มสัมมาชีพชุมชน เพื่อติดตามความก้าวหน้าขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และปัญหา/อุปสรรคในการทำงาน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

          3.1) ไลน์กลุ่มสัมมาชีพชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เป้าหมายวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 399 หมู่บ้าน / เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนักทรัพยากรบุคคลจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา)

          3.2) ไลน์กลุ่มสัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี (เป้าหมายวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 123 หมู่บ้าน)  ** ข้อ 3.2 อยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อแยกแยะสัมมาชีพชุมชนรายจังหวัด

          3.3) ไลน์กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี (เป้าหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ จำนวน 12 อำเภอ)

          3.4) ไลน์กลุ่มสัมมาชีพชุมชนระดับประเทศ (เป้าหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับกรมฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด)

     4) เอื้ออำนวย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

          4.1) ออกแบบวิธีการรายงานผลอย่างง่าย ในทุกกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนงานสร้างสัมมาชีพชุมชนให้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพ เช่นการออกแบบเป็นไฟล์ข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขข้อมูล และการยกตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงานสัมมาชีพอำเภอให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          4.2) เป็นพี่เลี้ยงให้กับอำเภอ ในการพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ และหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน ภายใต้บริบทของแต่ละชุมชน เป็นต้น

     5) เน้นย้ำอำเภออย่างสม่ำเสมอในประเด็นสำคัญๆ โดยเฉพาะเป้าหมายประชาชนจะต้องได้รับการพัฒนาอาชีพและต้องมีรายได้ ใน 4 ประเด็น ได้แก่

          5.1) แผนชุมชนระดับตำบล จำนวน 73 แผน มีการนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพในชุมชนเป้าหมาย

          5.2) ประชาชนได้รับการส่งเสริมอาชีพ จำนวน 2,460 ราย/ครัวเรือน

          5.3) กลุ่มอาชีพที่ได้รับการพัฒนาอย่างน้อย 12 กลุ่ม ** จังหวัดปัตตานี ตั้งเป้าหมายท้าทาย ร้อยละ 50 ของกลุ่มอาชีพทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 62 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 123 หมู่บ้าน (ได้จดทะเบียนกลุ่มอาชีพฯ)

          5.4) กลุ่มสัมมาชีพสามารถดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เกิดรายได้แก่กลุ่ม เกิดเศรษฐกิจชุมชนระดับฐานรากที่เข้มแข็ง มีระบบ CSR “Corporate Social Responsibility” (ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ การคืนกำไรสู่สังคม) นำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืนในที่สุด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

     1) การบูรณาการและความร่วมมือในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนของทุกภาคส่วน อาทิ ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคประชาสังคม

     2) ทีมปราชญ์ชุมชน และครัวเรือนสัมมาชีพ  มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง โดยยึดหลัก "โดยชุมชน เพื่อชุมชน"

     3) ขั้นตอนและกระบวนงานที่กรมฯ ให้เป็นแนวทาง ปฏิบัติได้ในทุกขั้นตอน และประสบความสำเร็จจริง

    4) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ทำงานด้วยความตั้งใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้ปราชญ์/ครัวเรือนสัมมาชีพ เกิดกระบวนการเรียนรู้ นำไปสู่ความประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ได้วางไว้

     5) ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน สนับสนุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้นำ อช. ในการช่วยขับเคลื่อนกระบวนงานสร้างสัมมาชีพชุมชนในทุกกระบวนงาน 
  

อุปกรณ์ ->

     กระบวนการพิจารณาครัวเรือนเป้าหมายฯ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมฯ กำหนด กลุ่มเป้าหมายทุกคนต้องรับรู้ พร้อมแจ้งประสงค์หรือไม่ประสงค์ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์ จปฐ. เป็นลำดับแรก         

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     กิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพ ไม่ควรกำหนดระยะเวลาเพียง 5 วัน (เนื่องจากบางอาชีพต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 5 วัน โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะและงานประเภทฝีมือ (หรืองาน handmade) เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา