เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวปิยาวรรณ์ หมกทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-10-05-15:03:44

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีมโหสถ หมู่ที่ 4 ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดรปราจีนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560  กรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนชน ในระดับหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย  ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย ที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามพื้นที่ยุทธศาสาตร์ที่ 1  จำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 20 คน จำนวน 240 คน  วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ/ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านๆละ 5 คน จำนวน 60 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย กำหนดดำเนินการ 3  กิจกรรม  ดังนี้

                             1. กิจกรรมฝึกอบรมความรู้ด้านอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพ ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพและสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสมจำเป็นของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน ดำเนินการในหมู่บ้าน 3 วัน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน 

                             2 . กิจกรรมศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ  จำนวน 1 วัน  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ที่เข้มแข็ง 

                             3. กิจกรรมฝึกปฏิบัติอาชีพในครัวเรือน  จำนวน 1 วัน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และมีการสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ 

โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้น ต้องอาศัยการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องอาศัย ปราชญ์ /ผู้นำ ที่มีความรู้ความสามารถในอาชีพที่ตนถนัดเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้และส่งผลให้เกิดความเข้มแข็ง 

วัตถุประสงค์ ->

1. คัดเลือกผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในอาชีพต่างๆ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ

2. เชิญปราชย์และผู้นำเข้าร่วมอบรมเพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อมสามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. มอบหมายภารกิจ จัดทีมปราชญ์ ใช้แนวทางการขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติ โดยการสร้างแรงจูงใจการทำงานเป็นทีม ระดมความคิด การคิด การวิเคราะห์ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพหมู่บ้าน ชุมชน ปัญหา และความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน พร้อมค้นหาความถนัดในวิชาชีพของตนเอง มานำเสนอ วางแผนโครงการในหมู่บ้าน ว่า จะดำเนินการฝึกอาชีพด้านใด ตามบริบทของหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง

4. ปราชญ์ต้องไปค้นหาความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพของตนเอง ว่าต้องการฝึกอาชีพด้านใด พร้อมนำคณะไปศึกษาดูงาน อาจเป็นครัวเรือนของปราชญ์เองหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่ครัวเรือนสนใจ

5. ดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในชุมชน หมู่บ้านของตนเอง และติดตาม ให้คำแนะนำ การฝึกปฏิบัติของครัวเรือนสัมมาชีพ

6. จัดทำฐานข้อมูล องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

7. สรุปผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แนะนำให้เข้าใจ ให้เวลาในการคิดและการตัดสินใจด้วยตนเอง  ให้เกียรติไม่ปิดกั้นความคิด 

2. สร้างการรับรู้ และให้กำลังใจ เดินไปด้วยกัน ในทิศทางเดียวกัน 

3. สร้างความสัมพันธ์ ให้เค้าเห็นว่าเราเป็นที่ปรึกษาและกล้าที่จะนำเสนอความคิดเห็นของตนเองออกมา

อุปกรณ์ ->

1. ต้องศึกษาบริบทของชุมชนให้ชัดเจน วิถีชีวิต วัฒนธรรม เพราะชุมชนบางชุมชนจะมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่แตกต่างกัน อาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้

2. ควรเปิดเผย ข้อมูลอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ต้องศึกษาบริบทของชุมชนให้ชัดเจน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และพัฒนากรไม่ชี้นำความคิด ให้ปราชญ์เหล่านั้น ได้คิดเอง ทำเอง พัฒนากรเป็นแค่ที่ปรึกษาเท่านั้น อาจช้าแต่จะทำหมู่บ้าน/ชุมชนชนนั้น เข้มแข็งด้วยตนเอง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา