เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย

โดย : นางอารม แก้วเกตุ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-01-20:59:44

ที่อยู่ : บ้านวังหัวคู้ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ ๑   การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นขั้น

เป็นตอน ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว  มีความรู้

และปฏิบัติอาชีพได้จริง  จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม จัดตั้งกลุ่มอาชีพ 

ที่มีความเข้มแข็ง ต่อไป

             อำเภอบ้านสร้าง   โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้าง   จังหวัดปราจีนบุรี   มีเป้าหมายในการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๒๑  หมู่บ้าน (ซึ่งได้มีการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชุมชน  ซึ่งถือเป็นครู ก หมู่บ้านละ ๕ - ๑๐ คน ไว้แล้วก่อนหน้านี้ ) ซึ่งครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ครบทุกตำบล ซึ่งทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้างนำโดยพัฒนาการอำเภอบ้านสร้าง ได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการดำเนินการ ดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งจะได้นำเสนอในกระบวนการต่อไป

          ในส่วนของปราชญ์(ครูใหญ่) หลังจากได้ประชุมรับทราบแนวทางจากพัฒนาการอำเภอและพัฒนากรประจำตำบล จึงได้ศึกษาเอกสาร คู่มือที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งรับผิดชอบอย่างเต็มตัว  โดยทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ ให้ทีมวิทยากรของหมู่บ้าน 4 คน ดำเนินการตามโครงสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จึงขอนำเสนอเทคนิค วิธีการในการกำกับ หรือเป็นที่ปรึกษาในลำดับต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

          ในส่วนที่ ๒  จะอธิบายให้เห็นภาพของเทคนิค วิธีการของปราชญ์ในฐานะผู้กำกับทีมวิทยากรหมู่บ้าน 4 คน  ที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ  ดังนี้

            ขั้นตอนที่ 1.  นัดประชุมวิทยากร 4 คนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  วิทยากร 1 คน/ 4 ครัวเรือน

            ขั้นตอนที่ 2.  กำกับดูแลทีมวิทยากรให้ออกพบปะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครัวเรือนทั้ง 20 คน และแบ่งกลุ่ม เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำบัญชีครัวเรือน การออมเงิน และการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้  เป็นต้น

            ขั้นตอนที่ 3.  สนับสนุนให้ครัวเรือน 20 ครัวเรือนศึกษาดูงานของครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

            ขั้นตอนที่ 4. สนับสนุนให้มีการสาธิตอาชีพจากปราชญ์และฝึกอาชีพให้ครัวเรือนทั้ง 20 ครัวเรือน  พร้อมทั้งศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด  และแหล่งเงินทุน เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

      กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยทีมวิทยากรหมู่บ้าน ๕ คน

ระยะเวลา ๕ วัน จะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับ ๓ ส่วนหลัก คือ                                                                                        

            ๑. ปราชญ์ชุมชน (หัวหน้าทีม) คือตัวเราเอง ที่เข้าอบรมวิทยากรปราชญ์ชุมชนที่ศูนย์ฯ  นครนายก  ต้องมีใจรัก มีจิตสาธารณะ เชื่อมั่นในตนเอง และเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้าน เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้า

ปราชญ์ ส่วนที่ ๒ คือ ทีมปราชญ์อีก 4 คน  ซึ่งทำหน้าที่เป็นวิทยากรจะต้องมีความพร้อม  พร้อมที่จะทำงานเพื่อ

หมู่บ้าน (เพราะกระบวนการมีจำนวน ๕ วัน)

         ๒. ปราชญ์ชุมชน(ลูกทีม) คือปราชญ์คนที่ ๒ - 4 จะต้องมีการประสานงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เกี่ยงงาน มีจิตสาธารณะพร้อมที่จะช่วยงานเพื่อส่วนรวมกันอย่างเต็มที่  งานที่ทำจะต้องชัดเจน ผู้ปฎิบัติเข้าใจง่ายและปฏิบัติตามได้

         ๓. พัฒนากร  ซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาของวิทยากรปราชญ์ชุมชน

         ๔. ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวน ๒๐ คน/ครัวเรือน  จะต้องมีความสมัครใจ ไม่ได้มาด้วยการบังคับ พร้อมที่จะร่วมมือกระบวนการตลอดโครงการ และเข้าใจกระบวนการของโครงการด้วย

อุปกรณ์ ->

         ข้อพึงระวังในการดำเนินการตามโครงการนี้ คือ ปราชญ์จะต้องศึกษากระบวนการของโครงการให้ละเอียดเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจน อย่าปล่อยทีมวิทยากร 4 คน ดำเนินงานโดยขาดการติดตาม เยี่ยมเยือน ให้ระลึกเสมอว่า “ปราชญ์(ครูใหญ่) คือคนที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น”

กระบวนการ/ขั้นตอน->

            ๑. การให้ความสำคัญกับงานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

            ๒. การออกแบบงาน หรือโครงการ หรือกระบวนการให้ง่ายต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติ

            ๓. ครูใหญ่ คือคนที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

            ๔. การเดินทางถึงเป้าหมายสามารถเดินได้หลายทาง ให้เลือกทางเดินที่ดีที่สุด ง่ายที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด และได้รับประโยชน์สูงสุด    

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา