เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นายชัยณรงค์ รักษารัตน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-16:59:32

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.บ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เบอร์โทรศัพท์ 08๑ – ๙๖๖๗๑๖๑

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื่นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวมีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง ต่อไป

อำเภอบ้านสร้าง โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีเป้าหมายในการสร้างสัมมาชีพชุนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๒๑ หมู่บ้าน (ซึ่งได้มีการสำรวจข้อมูลปราชญ์ชุมชน ซึ่งถือเป็นครู ก หมู่บ้านละ ๕ – ๑๐ คน ไว้แล้วก่อนหน้านี้) ซึ่งครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ครบทุกตำบล ซึ่งทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านสร้างนำโดยพัฒนาการอำเภอบ้านสร้าง ได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการดำเนินการดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งผลลัพท์ และผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งจะได้นำเสนอในกระบวนการต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ในส่วนที่ ๒ จะอธิบายให้เห็นภาพของกระบวนการดำเนินงาน ตั้งแต่งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ที่ทำใหโครงการประสบความสำเร็จ ดังนี้

          ต้นทาง ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด เพราะถ้าเราติดกระดุมเสื้อเม็ดแรกผิดไปแล้ว ทุกอย่างจะเกิดความผิดพลาดไปหมด เพราะฉะนั้นขั้นตอนของต้นทางจึงต้องให้ความสำคัญ ประกอบด้วย

                   ๑ การศึกษาทำความเข้าใจในแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนที่จัดส่งให้เจ้าหน้าที่ได้ศึกษาล่วงหน้า ถือว่าเป็นคัมภีร์สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ปฎิบัติเห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมดว่า เริ่มตรงไหน จบตรงจุดใด เป้าหมายสุดท้ายคืออะไร ส่งผลให้มีแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปแบบเดียวกัน ส่งผลให้การส้างสัมมาชีพชุมชนมีประสิทธิภาพ

                   ๒ การสร้างความเข้าใจกับทีมงาน หลังจากทีมงานทุกคนได้ศึกษาคู่มือ แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนที่ชัดเจนแล้ว ทีมงานจะต้องมาประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิด “ความคิดที่ตกผลึกเป็นหนึ่งเดียว” นำแนวทางที่ตกผลึกแล้วมาวางแผนปฎิบัติการร่วมกัน ในขั้นตอนนี้ทีมงานจะได้แผนปฎิบัติการในการสร้างสัมมาชีพ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง และได้ร่างหลักสูตรที่เป็นภาคปฎิบัติที่ได้แปลมาจากแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน ในทุกกระบวนการของโครงการ

 

-๒-

                   ๓ การพิจารณาคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาชุมชน จำนวน ๔ วัน ๓ คืน ขั้นตอนนี้ทีมงานจะต้องพิจารณารายชื่อปราชญ์ตามทะเบียนของแต่ละหมู่บ้านเข้ารับการอบรม ซึ่งสำคัญที่สุด จะต้องได้คนที่มีความพร้อม กลับมาเป็นหัวหน้าทีมวิทยากรเคลื่อนกิจกรรมต่อได้ โดยพัฒนากรจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องในกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนทั้งกระบวนการว่า เขาจะต้อง “ทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ทำกับใคร ที่ไหนบ้าง” และเป้าหมายสุดท้ายคืออะไร จนได้คนที่พร้อมที่สุดเข้ารับการฝึกอบรม

          กลางทาง ถ้าเราให้ความสำคัญกับ ต้นทาง ทั้ง ๓ กระบวนการแล้ว ถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งของกระบวนการทั้งหมด ในส่วนของกลางทางนั้นจะเป็นกระบวนการของการทบทวนองค์ความรู้ สร้าง และพัฒนาทีม

ออกแบบกระบวนการในการสร้างสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

                   ๑ ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด (๑ วัน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฎิบัติการฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ ขั้นตอนนี้ พัฒนากรจะต้องแจ้งให้วิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ ๑ คนที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาชุมชนเท่านั้น เข้ารับการกระชุมที่จังหวัด มิฉะนั้น กระบวนทั้งหมดจะเริ่มสะดุด และเริ่มมีปัญหาการปฏิบัติการต่อในขั้นตอนที่ ๒ ได้

                   ๒ โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (๓ วัน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนในหมู่บ้านที่ต้องการฝึกอาชีพ ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดอยู่ที่ “การสร้างทีมวิทยากร” คือ ครู ก ๑ คนที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วจะต้องคัดเลือกปราชญ์อีก ๔ คน ซึ่งเปรียบเสมือนครู ข ที่อยู่ในบัญชีทะเบียนปราชญ์ของหมู่บ้าน รวมเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน จำนวน ๕ คน มีกระบวนการสำคัญในระยะเวลา ๓ วัน ประกอบด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสัมมาชีพ การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ครู ก ได้รับการอบรมมาแก่ ครู ข  การเติมเต็มองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพ การจัดทำแผนร่วมกันของทีมวิทยากรในการลงหมู่บ้าน และ การพบปะครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อสร้างความเข้าใจและวางแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยกัน เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้ของอำเภอบ้านสร้าง คือ “การให้นายอำเภอได้มาพบปะ มอบนโยบาย ให้ความสำคัญ เป็นกำลังใจให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพ” เพราะฉะนั้นในวันแรกของโครงการจึงดำเนินการที่ห้องประชุมอำเภอ (จะต้องออกแบบกระบวนการให้มีความครบถ้วนของสาระสำคัญตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด และการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด) ขั้นตอนนี้ทีมวิทยากรจะได้แผนปฎิบัติการ คู่มือ และสื่อการสอน ในการขับเคลื่อนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ระยะเวลา ๕ วัน ที่สามารถปฎิบัติได้จริงในบริบทของพื้นที่

                   ๓ โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ( ๕ วัน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพหมู่บ้านละ ๒๐ ครัวเรือน/คน สำหรับโครงการนี้ เป็นช่วงกลางทางที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ทราบว่าจะบรรลุถึงปลายทางหรือไม่ ทีมวิทยากรทั้ง ๕ คน ที่ได้รับการฝึก และร่วมกันออกแบบกิจกรรม และเตรียมสื่อการเรียนรู้จากกิจกรรมที่ ๒ จะต้องผนึกกำลังกันเป็นครูสัมมาชีพให้ได้ดีที่สุด  โดยมีเนื้อหาสำคัญของกระบวนการเป็น ๓ ส่วน คือ วันที่ ๑ – ๓ ของโครงการ เป็นการ

 

 

-๓-

สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้ ความรู้ทางวิชาการในการประกอบอาชีพเบื้องต้น และองค์ความรู้เบื้องต้น (สำหรับอำเภอบ้านสร้างได้ออกแบบเพิ่มเติมในการเติมความรู้แก่ครัวเรือน ๒๐ ครัวเรือน ประกอบด้วย การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต การพัฒนาครอบครัวพัฒนา การจัดทำบัญชีรับ จ่ายครัวเรือน การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น) โดยมอบให้ทีมวิทยากรแบ่งการพูดคุยตามความถนัดของตนเอง โยมีความคาดหวังให้บรรลุปลายทางให้ได้ คือ มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ มีการออม จัดทำบัญชีครัวเรือน และ ครัวเรือนสัมมาชีพที่มีการพัฒนาอย่างจริงจัง วันที่ ๔ ของโครงการ เป็นการศึกษาดูงาน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ครัวเรือนเป้าหมายได้ไปเห็นของจริงจากบ้านปราชญ์ชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นต้น วันที่ ๕ ของโครงการ เป็นการฝึกปฎิบัติอาชีพ โดยออกแบบให้ ๑ หมู่บ้านน่าจะมีอาชีพไม่เกิน ๓ อาชีพ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในเรื่องการประกอบอาชีพเดียวกันที่ง่ายขึ้น

                   โดยกระบวนการทั้ง ๕ วัน ทีมงานพัฒนาชุมชน ที่นำโดยพัฒนาการอำเภอจะต้องออกแบบกระบวนการให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ และเป็นไปได้ในการปฎิบัติจริง แต่ต้องยึดวัตถุปะสงค์ของโครงการเป็นหลัก ที่สำคัญจะต้องสื่อสารให้ พัฒนากร ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการในแต่ละหมู่บ้านให้เข้าใจกระบวนการอย่างชัดเจนด้วย

          ปลายทาง หลังจากมีการฝึกปฎิบัติอาชีพจบแล้ว ถือว่าจบกระบวนการของกลางทาง ในขั้นปลายทาง ทีมวิทยากร และ พัฒนากรซึ่งเป็นที่ปรึกษา จะต้องพูดคุยกลุ่มครัวเรือนทั้ง ๒๐ ครัวเรือนในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชนให้ได้ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน นำไปขึ้นทะเบียน OTOP โดยตั้งเป้าหมายให้มีกลุ่มอาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของหมู่บ้านเป้าหมาย (ประมาณ ๘ กลุ่ม)  ในส่วนของปลายทางที่อำเภอได้ออกแบบไว้ประกอบด้วย เกิดกลุ่มอาชีพ ๑ กลุ่ม มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน และ มีครัวเรือนสัมมาชีพดีเด่นที่สามารถเป็นต้นแบบได้อย่างน้อยหมู่บ้านละ ๓ ครัวเรือน และในแต่ละเดือนวันประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากหมู่บ้านสัมมาชีพ โดยมุ่งหวังสุดท้ายคือ ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นั่นเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน จะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับ ๓ ส่วนหลัก คือ

                   ๓.๑ ปราชญ์ชุมชน ประกอบด้วยปราชญ์คนที่ ๑ ที่เข้าอบรมวิทยากรปราชญ์ชุมชนที่ศูนย์ฯ นครนายกต้องมีใจรัก มีจิตสาธารณะ เชื่อมั่นในตนเอง และเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้าน เพราะจะต้อมทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปราชญ์ ส่วนที่ ๒ คือ ทีมปราชญ์อีก ๕ คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรจะต้องมีความพร้อม พร้อมที่ทำงานเพื่อหมู่บ้าน (เพราะกระบวนการตามโครงการมีหลายวัน) สรุปว่า ปราชญ์ชุมชนทั้ง ๕ คน เป็นต้นทางที่จะนำพาโครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จ

                   ๓.๒ พัฒนากร ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของทีมวิทยากรปราชญ์ชุมชน จะต้องเข้าใจกระบวนการของโครงการเป็นอย่างดี ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ให้คำแนะนำทีมวิทยากรได้ มีเวลามากพอในการออกไปติดตาม เยี่ยมเยียน หรือร่วมเป็นวิทยากรได้

                   ๓.๓ ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวน ๒๐ คน/ครัวเรือน จะต้องมีความสมัครใจ ไม่ได้มาด้วยการบังคับ พร้อมที่จะร่วมกระบวนการตลอดโครงการ และเข้าใจกระบวนการของโครงการด้วย

 -๔-

                   ๓.๔ การออกแบบกระบวนการตามโครงการ โดยเฉพาะการเตรียมทีมวิทยากร จะต้องจัดทำแนวทาง สื่อประกอบการสอน การแบ่งภารกิจ บทบาทหน้าที่ของทีม จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้ง่ายต่อการลงหมู่บ้านของทีมวิทยากร ซึ่งส่วนนี้ พัฒนาการอำเภอจะต้อง “ออกแบบงานให้ง่ายต่อผู้ปฎิบัติ และ ถ่ายทอดให้แก่พัฒนากร” ได้เข้าใจตรงกัน

                   ๓.๕ การติดตาม เยี่ยมเยียนหมู่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (โครงการ ๕ วัน)  เพื่อให้กำลังใจ และให้ความคิดเห็น ข้อแนะนำแก่ทีมวิทยากรได้

                   ๓.๖ ทีมสนับสนุนสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ๔ องค์กรหลัก คือ องค์กรสตรี ศอช. คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน จะต้องให้ความสำคัญ และให้เขารู้ภารกิจของตัวเองในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เป็นองค์กรภาคประชาชน ที่พร้อมที่จะสนับสนุนองค์ความรู้ เรื่องแผนงานโครงการ และแหล่งเงินทุนในการต่อยอดอาชีพ

          สรุปทั้ง ๖ องค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของโครงการ ให้บรรลุเป้าหมายที่รัฐบาล กระมรวงมหาดไทย และกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดไว้ในโครงการ

อุปกรณ์ ->

ข้อพึงระวังในการดำเนินการตามโครงการนี้ คือ พัฒนากรจะต้องศึกษากระบวนการของโครงการให้ละเอียด เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายให้ชัดเจน อย่าปล่อยทีมวิทยากรให้ดำเนินการโดนขาดการติดตาม เยี่ยมเยียน ให้ระลึกเสมอว่า “ผู้กำกับการแสดงคือผู้ที่ทำให้การแสดงออกมมาดี หรือไม่ดีก็ได้”

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การให้ความสำคัญกับงานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

 ๒ การออกแบบงาน หรือโครงการ หรือกระบวนการให้ง่ายต่อการปฎิบัติของผู้ปฎิบัติ

 ๓ ผู้กำกับการแสดง คือ ผู้ที่จะทำให้ผลงานออกมาดี หรือ ไม่ดี

๔ การเดินทางถึงเป้าหมายสามารถเดินได้หลายทาง ให้เลือกทางเดินที่ดีที่สุด ง่ายที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด และได้ประโยชน์สูงสุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา