เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางสาวบุษยา ศรีจอมพล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-11-09:36:27

ที่อยู่ : 87 ม.6 ต.คำนาดี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปราชญ์ เล่าว่า ไก่พื้นบ้านเลี้ยงง่าย โตไว ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงได้เลี้ยงอย่างจริงจัง และขยายพันธุ์เป็นจำนวนมากเป็นอาชีพที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน ไก่รุ่นที่ตลาดมีความต้องการน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 1 กก.หรือ 1.5 กก เวลาขายก็ไม่ยุ่งยากเพราะจะมีพ่อแม่ค้ามารับซื้อจนถึงบ้าน สำหรับคนทำงานประจำหรือมีอาชีพหลักที่ต้องทำงานตั้งแต่เช้าประมาณ 8.00 น จนถึงเวลา 17.00 น เป็นประจำทุกวัน เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ อีกช่องทางหนึ่ง แถมมูลไก่ก็นำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักที่ปลูกได้ 

วัตถุประสงค์ ->

1. แม่ไก่ควรได้รับอาหารและการดูแลมากขึ้น (โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น)
2. ควรหาแต่แม่ไก่ที่มีพันธุ์ดีๆ ต้านทานโรคดี ผลผลิตดี (เนื้อและไข่) ก็จะดีตามมาเอง
3. ควรเริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ ไปก่อน ไม่ควรเริ่มทำเป็นฟาร์มใหญ่ทันที เพราะ
- สามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยดูแลไก่ได้อย่างเต็มที่
- ผลผลิต (เนื้อ/ไก่) ใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นอันดันแรก ส่วนที่เหลือจึงไว้ขาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆ หรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้า ซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้ คือ 
- เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อย ไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค
- ไก่พื้นเมืองประเปรียว จับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย
- วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น

2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ แม้ไก่พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำ แต่กำไรที่ได้นั้นนับเป็นกำไรที่แท้จริง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดบึงกาฬ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา