เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เลี้ยงไก่

โดย : นายอาคม น๊ะทิพย์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-28-10:12:43

ที่อยู่ : 88 ม.2 ต.นาเหลือง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง นับเป็นปัจจัยที่บ่งบอกความสำเร็จของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองควรให้ความสนใจการเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรพิจารณาสิ่งสำคัญ

1. ควรเป็นที่เนินและเป็นที่ระบายน้ำได้ดี เพราะเมื่อถึงฤดูฝนเวลาฝนตกลงมาน้ำจะได้ไม่ท่วม หากบริเวณใกล้เคียงกันเป็นที่นาก็จะดีมาก เนื่องจากเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวที่ตกหล่นจะเป็นอาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่
          2. ใกล้แหล่งน้ำจืด การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำเป็นต้องมีน้ำจืดที่สะอาดให้กินตลอดเวลา จะช่วยให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ถ้าไก่พื้นเมืองขาดน้ำแล้ว การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองอาจลดลงได้
          3. สถานที่ที่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่ควรเป็นที่ที่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
          4. ควรอยู่ห่างจากแหล่งชุมชนพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นและเสียงไปรบกวนหรือไปทำความรำคาญให้กับชาวบ้างใกล้เคียง
          5. อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม เพื่อเป็นการประหยัดค่าขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนอาหาร วัสดุในการเลี้ยงเข้ามา หรือขนไก่พื้นเมืองออกไปจำหน่าย ต้องทำได้ง่ายและสะดวก
          6. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรมีต้นไม้เพื่อบังแสงแดดในตองกลางวันหรือตอนบ่าย จะช่วยให้สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีความร่มเย็นทำให้ไก่พื้นเมืองไม่เครียดเกินไป การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองก็เป็นไปตามปกติ
          7. จะต้องไม่ไกลจากบ้านพักของผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมากเกินไปนักทั้งนี้เพื่อสะดวกในการดูแล
          8. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากขโมยและสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น งู พังพอน และสุนัขด้วย

อุปกรณ์ ->

ปัญหาในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆ หรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้า ซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้ คือ 
- เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อย ไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค
- ไก่พื้นเมืองประเปรียว จับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย
- วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น

2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ แม้ไก่พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำ แต่กำไรที่ได้นั้นนับเป็นกำไรที่แท้จริง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา